Thaipress 3/6/2010

หลังการประกาศปิดรับวีซ่าทักษะประเภท subclass 175, 176 และ 475 ที่ยื่นมาจากต่างประเทศของรัฐบาลออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 7 May 2010 ที่ผ่านมาสดๆร้อนๆ และจากการคืนใบสมัครเกือบ 20,000 ชุด พร้อมคืนเงินค่ายื่นให้ผู้ที่ยื่นเรื่องเข้าไปแล้วเมื่อต้นปีที่ผ่านมา เพื่อเป็นการสนองนโยบายให้สอดคล้องกับการลดจำนวนผู้อพยพเข้าประเทศออสเตรเลียที่ประกาศใช้อย่างกระทันหัน โดยไม่ให้โอกาสปรับตัวกัน

เมื่อวันที่ 2 June 2010 ก็มีการประกาศยกเลิกวีซ่าไปอีกหนึ่งตัวคือ subclass 422 – medical practitioner (Temporary) สำหรับแพทย์ที่จะเข้ามาทำงานชั่วคราวในออสเตรเลีย ปัจจุบันก็จะต้องมีนายจ้างสปอนเซอร์และให้ไปขอวีซ่า 457 คือ Business (Long Stay) Visa แทน

มีเหตุอะไรเกิดขึ้น จึงทำให้รัฐบาลเปลี่ยนนโยบายกันอย่างไม่ให้รู้ตัวกันอย่างนี้ ?

เมื่อวันที่ 31 May 2010 ที่ผ่านมา คุณหมอวีซ่ามีโอกาสไปร่วมสัมมนาที่จัดโดยกระทรวงตรวจคนเข้าเมืองและสัญชาติ หรือ Department of Immigration and Citizenship (DIAC) โดยตรง มีเจ้าหน้าที่ชั้นสูงฝ่ายนโยบายของกระทรวงบินตรงมาจากเมืองหลวง Canberra มาอภิปรายถึงนโยบายใหม่ของรัฐบาลออสเตรเลียในส่วนที่เกีี่่ยวข้องกับการรับผู้อพยพภายใต้โครงการวีซ่าทักษะ (Skilled Migration) ซึ่งโยงไปถึงวีซ่าทำงานที่ต้องอาศัยนายจ้างเป็นคนสปอนเซอร์ (Employer Nomination Scheme หรือ ENS) วีซ่านักเรียน และวีซ่าครอบครัว เป็นต้น อาจจะด้วยการเปลี่ยนแปลงนโยบายปิดประตูเมืองสำหรับวีซ่าหลายตัวอย่างกระทันหันจน จนหลายๆฝ่ายตั้งตัวกันไม่ติดจนเป็นที่จู่โจมของสื่อและแหล่งข่าวต่างๆ จึงเป็นสาเหตุให้ต้องออกมาชี้แจง ให้ฝ่ายต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวีซ่าให้รับทราบกันทั่วไปก็เป็นไปได้ ยิ่งกว่านั้น ทางองค์กร Migration Institute of Australia (MIA) ก็ยังมีการแจ้งให้สมาชิกทราบว่า ท่านรัฐมนตรีกระทรวงตรวจคนเข้าเมืองฯ คือ Senator Chris Evans ได้รับปากจะมาเปิดงานและกล่าวสุนทรพจนให้์ในงาน Migration Conference ประจำปี 2010 ในวันที่ 7-10 ตุลาคมนี้ โดยจะมีการกล่าวถึงนโยบายการเพิ่ม-ลด ประชากรของประเทศออสเตรเลีย ผลจากกระทบจากตลาดการศึกษาสำหรับนักเรียนนานาชาติ การรับผู้อพยพภายใต้โครงการวีซ่าทักษะ (Skilled) และเรื่องผู้ขอลี้ภัยในประเทศออสเตรเลียมาเป็นหัวข้อหลักๆ จากสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกของ “วีซ่า”อย่างไม่คาดการณ์ล่วงหน้าแบบนี้ เจ้าหน้าที่ฝ่ายนโยบายได้ชี้แจงว่า เนื่องจากการเพิ่มประชากรจากคนต่างชาติที่ขออพยพเข้ามาอยู่ออสเตรเลียนั้นเติบโตจนเร็วเกินไป ท่านว่า ถ้าดูจาก Natural Increase of Population Growth ของประเทศ คือ อัตรการผลิตประชากรตามธรรมชาติของออสเตรีเลยในปี 2008-2009 จะเห็นได้ว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นเพียง157,792 คน แต่อัตราการเติบโตของผู้อพยพที่มาจากต่างประเทศหรือ Net Overseas Migration มีจำนวนมากถึง 298,924 คน เป็นเกือบเท่าตัว ก็เกรงว่า ทรัพยากรของประเทศจะโตตามจำนวนประชากรที่โตเร็วจนเกินไปไม่ทัน ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงมีการลดการรับจำนวนผู้อพยพโดยการลดจำนวนวีซ่าประเภทต่างๆไม่ให้ เข้ามากันมากและเร็วจนเกินไปนั่นเอง

แต่ทั้งนี้ด้วยอายุเฉลี่ยของประชากรชาวออสเตรเลียที่เรียกว่า Population Aging ในปัจจุบันอยู่ที่ 36.9 ปี คาดกันว่า ในปี 2050 อายุเฉลี่ยของประชากรออสเตรเลียจะเพิ่มเป็น 45.2 ปี จึงทำให้ีรัฐบาลไม่สามารถจะหยุดรับผู้อพยพเลยทีเดียว เพียงต้องลด speed การรับให้ช้าลง ให้เหมาะกับงบประมาณของรัฐบาล Commonwealth ในการรองรับการเลี้ยงดูประชากรให้ได้อย่างทั่วถึง ไม่อดไม่ยาก ไม่ต้องแย่งกันทำมาหากินกัน รัฐบาลจึงมีนโยบายรับเฉพาะผู้อพยพที่มีคุณภาพและสร้างประโยชน์ให้กับสังคมและเศรษฐกิจของออสเตรเลียที่เรียกกันว่าเป็น “A more demand driven skilled program” โดยเน้นให้มีนายจ้างรับผิดชอบและเป็นสปอนเซอร์ให้ผู้ที่จะขอเข้ามาอยู่ มีงานทำทันที่มาถึงนั่นเอง มีงานทำ ก็เท่ากับมีการจ่ายภาษีรายได้ รัฐฯก็รวยขึ้นอีกนั่นแหล่ะ ก็เรียกว่าเป็นเรื่องที่โชคดีสำหรับประชากรชาวออสเตรเลียที่มีคนคอยจับตาดูแลทุกข์สุข ดูแลให้มีทรัพยากรใช้กันอย่างพอเพียงในอีกหลายๆชั่วอายุคน ประเทศที่ก้าวหน้าแล้วอย่างออสเตรเลีย ว่ากันแล้วมีเนื้อที่ทั้งทวีปใหญ่ถึง 7,682,300 ตารางกิโลเมตร แต่มีประชากรเพียง 22 กว่าล้านคน เมื่อเทียบกับประเมศไทยเราที่มีเนื้อที่เพียง 514,000 ตารางกิโลเมตร แต่มีประชากรถึง 61.5 ล้าน รัฐบาลก็เริ่มวางแผนไม่ให้มีการแก่งแย่งทรัพยากรให้ประชากรได้กินดีอยู่สุข แต่ที่น่าเศร้าคือ พี่น้องชาวไทยเราเนื้อที่เล็ก ประชากรเยอะ แทนที่จะใช้เวลาไปคิดเรื่องวางแผนชาติเพื่ออนาคตการทำมาหากินอยู่ดีเป็นสุขของราษฎร แต่กลับมัวแต่รบราฆ่าฟันกัน คำถามก็คือ แล้วเราจะไปโตทันชาวต่างชาติเขากันได้อย่างไร

ในเมื่อนโยบายวีซ่าของรัฐบาลเปลี่ยนไป ทำให้การขอวีซ่าตัวอื่นยากไปหมด อย่างนี้แล้ว วีซ่าแต่งงาน – ใช่ทางเลือกหรือไม่?

จุดที่น่าสนในจุดหนึ่งที่เจ้าหน้าที่อิมฯพูดถึงก็ึคือ รัฐบาลฯก็ทราบดีว่าการเปลี่ยนนโยบายและปิดช่องทางวีซ่าโดยเฉพาะทางด้านวีซ่านักเรียนกับวีซ่าทักษะ ทำให้ผู้คนไม่มีทางเลือกต้องหันไปหานายจ้างสปอนเซอร์ แต่ช่องทางของการหานายจ้างก็ไม่ได้ทำได้อย่างง่ายๆ เพราะจะมีนายจ้างสักกี่เจ้าที่เข้าข่ายตรงตามเงื่อนไขที่รัฐบาล เรียกร้องไว้อย่างสูงยิ่ง เช่น บังคับให้ต้องจ่ายเงินเดือนขั้นต่ำ $45,220 ต่อปี ต้องมีงบประมาณลงให้กับการฝึกงานเพื่อสร้างทักษะและสร้างงานให้กับประชากรของออสเตรเลีย (Training Bench Mark) เป็นจำนวน 1-2% ของค่าแรงทั้งหมด – เพียง 2 ข้อนี้ก็ทำให้นายจ้างถอยทัพไปหลายเจ้าเลย เพราะหากเขาเลือกจ้างคนที่นี่ เขาอาจจ่ายเงินเดือนในเกณฑ์แค่ $30,000 กว่าต่อปีก็พอจะหาคนมาเติมตำแหน่งได้แล้ว แล้วไฉนเขาจึงต้องไปลงทุนจ้างแพงๆเล่า?

ในเมื่อสถานการณ์วีซ่าปัจจุบันเป็นเช่นนี้ อิมฯก็ทราบดีว่าผู้คนจึงหันไปหาคู่แต่งงานและยื่นวีซ่าคู่ครอง (Partner Visa) กันไปตามๆกัน บางคู่ัก็รักชอบกินอยู่กันจริง แต่หลายคู่ก็ desparate จ้างแต่ง ทำเรื่องปลอมแปลงเข้าไปก็เยอะ อันนี้ทางอิมฯท่านก็เตือนว่า ไม่ใช่ท่านจะไม่รู้นะ รู้ดีเลยทีเดียว ดังนั้น ทางอิมฯปัจจุบันจึงเผชิญกับปัญหาที่ท้าทายตามมาอีกอย่างก็คือ การตั้งทีมงานสอบสวนเรื่องที่คิดว่าทำเท็จแต่งงานปลอมเข้าไปหลอกอิมฯกัน (Integrity of the program) และตามที่คุณหมอวีซ่าฟังมาคุยมาก็ confirm ข้อนี้ได้เลยตรงที่ว่า อิมฯปัจจุบันมีการสอบสวนถึงบ้านเลย

อีกรายที่เข้ามาขอคำแนะนำก็คือโดนสัมภาษณ์แยกห้องโดยใช้ล่ามไทย และให้ตอบได้เฉพาะ “Yes” หรือ “No” เท่านั้น เช่น อิมฯวาดรูปเตียงนอนในห้องนอนว่าตั้งอยู่ตรงไหนมุมไหน – ขวา ซ้าย หรือ ตรงกลางเป็นต้น และเอาคำตอบมาเทียบกันว่าตรงกันมากน้อยเพียงใด ถ้าเขาไม่เชื่อว่าความสัมพันธืเป็นจริง ก็จะปฏิเสธวีซ่า เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าการทำเรื่องแต่งงานหรือกินอยู่ร่วมปลอมแปลงเข้าไปก็ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ง่ายอย่างที่หลายท่านคิด เพราะปัจจุบันอิมฯก็ใช้เวลาอย่างมากในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและเอกสารประกอบ แต่ถ้าความสัมพันธ์ของเราเป็นจริงกระทั่งอยู่เป็นผีก็ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วงมากนะคะ วีซ่ามีโอกาสผ่าน อันนี้คุณหมอวีซ่ารู้ for sure เพราะถนัดและชอบทำวีซ่าตัวนี้มากๆ คุณหมอวีซ่าไม่ส่งเสริมให้ไปจ้างคนแต่งงานหรือทำเรื่องปลอมไปหลอกเจ้าหน้าที่นะคะ อันนี้ผิดกฎหมายอาชญากรรมเลยทีเดียว แล้วถ้าิอิมฯจับได้วันหลัง ถึงวีซ่าจะออกแล้วก็โดนถอนคืนได้ค่ะ ไม่ใช่เรื่องสนุก ก็อยากขอฝากไว้เป็นแง่คิดนะคะ

ไหนๆก็พูดเรื่องวีซ่าคู่ครอง ก็อยากจะเขียนเพิ่มเติมเพื่อเตือนท่านผู้อ่านสักนิด สำหรับผู้ที่ไปทำเรื่องหรือกำลังคิดว่าจะทำเรื่อง Contributory Partner Visa หรือ วีซ่าผู้ปกครองที่อาศัยการจ่ายเงินสมทบจำนวน $34,330 ต่อคนในการผ่านวีซ่า (ตัวเลขปัจจุบันปี 2010 นะคะ) จะเห็นว่า เมื่อสมัยก่อนเดือน July 2009 สปอนเซอร์ผู้ขอวีซ่าประเภทนี้มักทำเรื่องให้เพียงคุณพ่อหรือคุณแม่เพียงฝ่ายเดียวก่อน พอได้ PR มาแล้วจึงให้ฝ่ายที่ได้ PR ไปสปอนเซอร์อีกฝ่ายและหลบการจ่ายเงินสมทบอีกก้อน ไปได้โดยสิ้นเชิง ปัจจุบันอิมฯก็ได้ประกาศปิดช่องโหว่ตรงนี้ไปแล้วตั้งแต่ 1 July 2009 โดยปัจจุบัน ทางฝ่ายที่ได้ PR ผ่านช่องทางนี้ ถ้าอยากสปอนเซอร์อีกฝ่ายมาเป็นคู่ครองก็ยังมีกฎใหม่อีกข้อ บังคับให้ต้องรอถึง 5 ปี จึงจะสปอนเซอร์กันได้ ดังนั้นจึงอยากเขียนเป็นความรู้ให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจตรงจุดนี้ว่า วีซ่าคู่ครองที่อาศัยช่องทาง Contributory Partner Visas นั้นก็ได้ปิดไปอีกทางหนึ่งแล้ว

ก่อนจะจบ คุณหมอวีซ่าอยากขอชมเชยการทำงานของเอเย่นนักเรียนไทย 2-3 เจ้าในซิดนีย์ ที่ทำงานอยู่ในระดับ professional โดยถือเอาผลประโยชน์ของนักเรียนมาเป็นหลัก กล่าวคือเรื่องที่นักเรียนถูกแคนเซิลวีซ่านักเรียนมา เนื่องจากเป็นเรื่องที่สำคัญต่อการอยู่หรือไปของนักเรียน และเป็นงานที่เกินระดับของเขา เพราะเขาไม่ได้เป็น Migration Agent และไม่เชี่ยวชาญกฎหมายเกี่ยวกับ Visa Cancellation เขาจึงได้พา หรือส่งตัวนักเรียนต่อมาให้คุณหมอวีซ่าดูเคสและเรียกวีซ่าคืนให้นักเรียนของเขา อันนี้ เรียกว่ามีน้ำใจนักกีฬาจริงๆ และเรียกว่ารักและห่วงใยเด็กจริง ขอชมเชย ครั้นได้วีซ่าคืน คุณหมอวีซ่าก็ส่งตัวกลับให้เขาลงทะเบียนเอา COE ใหม่มาให้ดำเนินต่อวีซ่านักเรียนให้เรียบร้อย ทำงานด้วยความเป็นมิตรต่อกันและถือเอาผลประโยชน์ของนักเรียนกับลูกค้ามาเป็นหลัก ในวงการคนที่ทำงานเป็นมือโปรด้วยกัน อย่างในวงการแพทย์ ก็จะมีผู้เชี่ยวชาญโรคต่างๆไม่เหมือนกัน เราจะเห็นว่า หากเราเป็นโรคหัวใจ GP ของเราก็จะส่งไปพบแพทย์ที่เชี่ยวชาญโรคหัวใจ น้องชายของคุณหมอวีซ่า คือ ดร สมภพ ภัทราดูลย์ เป็นแพทย์เชี่ยวชาญโรคเด็ก (Pediatrician) เขาก็จะรักษาแต่โรคเด็ก ครั้นเด็กต้องมีการผ่าหัวใจ เขาก็จะส่งต่อไปให้ หมอผ่าหัวใจโดยตรงเป็นต้น คุณหมอวีซ่าขึ้นทะเบียนเป็นทั้ง Migration Agent ของ Australian และ Immigration Adviser ของ New Zealand ก็จริง แต่ก็ไม่ได้ถนัดวีซ่าทุกตัว อย่างถ้าลูกค้ามาหาให้ทำ Protection Visa หรือที่รู้จักกันในภาษาพื้นๆว่า refugee visa ก็จะไม่รับทำ เพราะไม่ชำนาญงานสายนี้ แต่จะส่งต่อให้ Migration Agent คนอื่น ที่เขาเก่งและชำนาญในวีซ่าตัวนี้ โดยไม่เอาชีวิตกับอนาคตของลูกค้าไปเสี่ยงหรือไปมั่ว เป็นต้น เอเย่นนักเรียนหลายเจ้าที่พยายามจะทำเองทุกเรื่อง และดำเนินการไปอย่างผิดๆ ส่งผลให้อนาคตเด็กคนหนึ่งพังทลายโดนสิ้นเชิง อย่างนี้ เรียกว่าไม่บังควร ในหลายๆกรณี หากเราแก้ไขเรื่องให้ลูกค้าแต่เนิ่นๆ ก็มักจะช่วยเด็กได้ทันท่วงที แต่ถ้าลองโน่นลองนี่และปล่อยให้ถึงขั้นที่สายเกินแก้ เสมือนคนไข้ที่ปล่อยให้เชื้อมะเร็งรามไปจนเต็มตัวแล้วค่อยไปหาหมอผู้เชี่ยวชาญ ก็จะบอกกันตรงๆ ว่า อาจรักษากันไม่ทันท่วงที too late ค่ะ ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า พวกเราทุกคนคงจะช่วยๆกันอุ้มชูวงการ education industry ของเราให้อยู่ในที่สูงไว้ ทำงานด้วยความมีจรรยาบรรณ วันหนึ่ง สิ่งดีๆที่เราทำไว้ ความหวังดีต่อเด็กของเราด้วยความจริงใจ ก็จะส่งผลดีกลับให้ลูกๆหลานๆของเราได้ดีเองด้วยนะคะเอาเป็นว่า หากมีข่าวอะไรที่เป็นประโยชน์และช่องทางดีๆ ในวงการวีซ่า และวงการการศึกษาของออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์

เรื่องวีซ่า ต้องยกให้ CP – SURE!!

มีคำถามเกี่ยวกับการสมัครหรือสถานะวีซ่าออสเตรเลียของคุณ? ต้องการสมัครเพื่อศึกษาต่อ ทำงาน หรืออาศัยอยู่ในออสเตรเลีย? สามารถขอคำแนะนำจากทีมคุณหมอวีซ่าได้ที่: