25 March 2011

สำหรับท่านผู้อ่านที่เป็นแฟนคลับ “คุณหมอวีซ่า” ใน Thai Press และได้ติดตามอ่านคอลัมน์ของคุณหมอวีซ่าเป็นประจำคงจะจำได้ว่าในช่วงตั้งแต่ปลายปี 2009-2010 คุณหมอวีซ่าได้เขียนบทความหลายบทความที่เกี่ยวข้องกับการที่รัฐบาลออสเตรเลียเปลี่ยนนโยบายในการแยกธุรกิจทางด้านการศึกษา (education) ให้ออกอย่างชัดเจนกับธุรกิจทางด้านการโยกย้ายถิ่นฐาน (migration) โดยรัฐบาลไม่ประสงค์ที่จะเห็นนักศึกษานานาชาติเลือกมาเรียนต่อที่ออสเตรเลียเพราะหวังจะใช้เป็นช่องทางในการขอสิทธิ์ในการตั้งถิ่นฐานถาวรเพื่ออยู่ทำงานและเพื่ออาศัยอยู่ในระยะยาวต่อเนื่องใน Australia หรือที่รู้จักกันดีว่าขอ “PR” หรือ “Permanent Resident” นั่นเอง ! สาเหตุหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลเกิดเข้มงวดประกาศตัดวีซ่าทักษะและลดจำนวนวีซ่านักเรียนลงอย่างมหาศาลก็เกิดมาจากการที่ผู้เกี่ยวข้องในวงการทำวีซ่าเข้าประเทศออสเตรเลียจำนวนหลายท่าน (รวมทั้งตัวผู้ยื่นเอง เอเย่น และสถาบันการศึกษา เป็นต้น) ได้ทำเรื่องเท็จใช้เอกสารปลอมแปลงเข้าไปหลอกอิมมิเกรชั่นเพื่อให้ได้มาซึ่ง PR ด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง ช่วงนั้นก็เป็นช่วงที่เปิดโอกาสให้มิจฉาชีพทั้งปวงหากินกันอย่างง่ายๆ โดยไปเก็บเงินแพงๆ กับลูกค้า เพื่อออกเอกสารปลอมไปยื่นอิมฯ ตัวอย่าง เช่น ออกใบ IELTS ปลอมจากนายจ้าง ประกาศนียบัตรปลอมจากสถาบันการศึกษาและอื่นๆ เป็นต้น มาจนถึงทุกวันนี้ การปฎิบัติอย่างผิดทำนองคลองธรรมเช่นนี้ก็ยังเกิดขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ดั่งที่แหล่งข่าวจาก AAP ลงวันที่ 22 March 2011 สดๆ ร้อนๆ รายงานเกี่ยวกับนักเรียนต่างชาติ 3 คน ที่กำลังโดนสอบสวนจาก State Corruption and Crime Commission (CCC) หรือคณะกรรมการสอบสวนเรื่องคอรัปชั่นและอาชญากรรม แห่งรัฐ Western Australia (WA) ด้วยข้อหาการจ่ายเงินให้กับเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย Curtin University of Technology โดยนักศึกษาชาวอินเดียชื่อ Harinder Jit ได้จ่ายเงินไปเป็นจำนวน $2,500 และ $3,000 เพื่อให้ได้คะแนน IELTS ตามที่ต้องการให้กับตนเองและภรรยาเพื่อนำผลไปขอ PR นักศึกษาอินเดียอีกคนชื่อ Rikenkumar Vaishnani ได้จ่ายไปร่วม $11,000 ตามมาด้วยนาย Vishnal Pandya พร้อมเพื่อนอีก 4 คนที่ได้จ่ายเงินในทำนองเดียวกัน (แหล่งข่าว : https://au.news.yahoo.com/thewest/a/-/breaking/9055918/english-marks-faked-for-residency-visas/) จากการสอบสวนคอรัปชั่นครั้งนี้ประกอบกับเรื่องการจับเรื่องเอกสารปลอมแปลงมากมาย ท่านผู้อ่านคงจะพอเข้าใจว่าทำไมจู่ๆ รัฐบาลออสเตรเลียจึงได้ลุกขึ้นมาเข้มงวดเรื่องวีซ่า ไม่เฉพาะกับนักเรียนอินเดียที่เป็นต้นตอของการก่อเหตุการเดินขบวนต่อต้านรัฐบาลออสเตรเลียที่รัฐ Victoria มาตั้งแต่ครั้งเดือนมีนาคม 2009 เนื่องจากรัฐบาลไปยกเลิกเพิกถอนวีซ่าทักษะ 20,000 กว่ากรณี ด้วยสาเหตุของการทำเอกสารปลอมแปลงมากเสียจนไม่ทราบว่าจะปราบกันอย่างไร ก็เลยใช้วิธีถอน applications กันเป็นปึกใหญ่ๆ อย่างนี้ ส่งผลให้ผู้ยื่นชาติอื่นๆ โดนเหมาไปกับขบวนการเพิกถอนครั้งนั้นไปด้วยโดยปริยาย Introduction of Public Interest Criterion Relating to Fraud from 2 April 2011 จากการที่รัฐบาลออสเตรเลียเข็ดขยาดกับการโดนหลอกมามากจากเอกสารที่ทำปลอมเข้าไปเพื่อให้ได้มาซึ่งวีซ่าด้วยวิธีที่ไม่โปร่งใส ส่งผลให้เพิกถอนวีซ่าทักษะและการปฎิเสธวีซ่านักเรียนลงอย่างมหาศาล (ตัวอย่างนักเรียนจากประเทศอินเดีย ปัจจุบันมีอัตราการปฎิเสธวีซ่าสูงมากถึง 96% ตามข่าว) และประเทศอื่นๆ อย่างประเทศไทยก็พลอยเข้มงวดกับวีซ่านักเรียนไปด้วย เพราะนโยบายรัฐบาลที่ออกมาแต่ละฉบับ ครั้นจะใช้เฉพาะกับประเทศใดประเทศหนึ่งก็ไม่ยุติธรรม เลยต้องออกนโยบายครอบคลุมจักรวาล ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนกันไปตามๆ กัน และเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2011 ที่ผ่านมาสดๆร้อนๆ อิมมิเกรชั่นก็ได้ประกาศกฎใหม่ที่มีผลควบคุมและบังคับใช้กับวีซ่าในสกุลวีซาทักษะ (Skilled) กับวีซ่านายจ้างสปอนเซอร์ (ENS) โดยตรง และที่น่าสนใจก็คือกฎใหม่ที่จะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 2 April 2011 นี้เป็นต้นไป จะเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบเอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นวีซ่าประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้อย่างละเอียดว่าเป็นจริงหรือเท็จ: Subclass Type of visa Title 175 GSM Skilled – Independent visa 176 GSM Skilled – Sponsored visa 475 GSM Skilled – Regional Sponsored visa 476 GSM Skilled – Skilled – Recognised Graduate 485 GSM Skilled – Graduate 487 GSM Skilled – Regional Sponsored visa 885 GSM Skilled – Independent visa 886 GSM Skilled – Sponsored visa 887 GSM Skilled – Regional 880* GSM Skilled – Independent – Overseas Student 881* GSM Skilled – Australian-sponsored Overseas Student 882* GSM Skilled – Designated Area-sponsored Overseas Student 883* GSM Skilled – Designated Area-sponsored (Resident) 495* GSM Skilled – Independent Regional (Provisional) 496* GSM Skilled – Designated Area-sponsored (Provisional) 457 TES Business (Long Stay) 119 PES Regional Sponsored Migration Scheme 121 PES Employer Nomination 856 PES Employer Nomination Scheme 857 PES Regional Sponsored Migration Scheme * While these visas are closed to new applications on 1 September 2007, pending applications remain. GSM – General Skilled Migration PES – Permanent Employer Sponsored visas TES – Temporary Employer Sponsored visas ขบวนการและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับตรวจสอบเอกสารและข้อมูลเท็จนั้น จะเป็นที่รู้จักกันในศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “Fraud PIC” และมีผลบังคับที่รุนแรงตามมาอย่างต่อเนื่อง ถ้าอิมฯ เกิดพบว่าผู้ยื่นได้ใช้เอกสารปลอมหรือให้ข้อมูลเท็จกับอิมมิเกรชั่นเพื่อให้ได้มาซึ่งวีซ่า โดยทางอิมฯ จะตั้งคำถามหลักๆ 3 ข้อประกอบการพิจารณาในทุกกรณีคือ: 1. ผู้ยื่นได้ยื่นเอกสารปลอมแปลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จในการยื่นวีซ่าครั้งนี้หรือไม่ 2. ใน 12 เดือนที่ผ่านมา ผู้ยื่นคนนี้เคยยื่นเอกสารปลอมหรือเคยให้ข้อมูลเท็จเพื่อให้ได้มาซึ่งวีซ่าของตนไหม 3. ผู้ยื่นคนนี้เคยถูกปฎิเสธวีว่าหรือเคยถูกตั้งข้อกล่าวหาว่าใช้เอกสารปลอมแปลงใน 3 ปีที่ผ่านมาก่อนยื่นวีซ่าตัวปัจจุบันไหม ถ้าอิมฯ เกิดข้อสงสัยเพียงเล็กน้อยต่อหนึ่งในสามคำถามข้างต้น ก็จะส่งจดหมายเปิดโอกาสให้ผู้ยื่นโต้ตอบชี้แจงภายใน 28 วัน หากผู้ยื่นไม่สามารถอธิบายได้วีซ่าก็จะถูกปฎิเสธ ผลที่ตามมา: ถ้าอิมมิเกรชั่นจับได้ว่าเราได้ใช้เอกสารปลอมแปลงหรือให้ข้อมูลเท็จเข้าไปวีซ่าก็จะถูกปฎิเสธและผู้ยื่นก็จะโดนลงทัณฑ์ 3 ปี ข้างหน้า จะไม่มีสิทธิได้รับวีซ่าออสเตรเลียอีกเป็นเวลา 3 ปีข้างหน้า ยกเว้นมีเหตุผลจำเป็นอธิบายได้ตามข้อยกเว้นทางกฎหมาย ผลรุนแรงจากการประกาศใช้เงื่อนไข Fraud PIC ครั้งนี้ จะคลุมไปถึงสมาชิกในครอบครัวของผู้ยื่นด้วยอย่างเช่น ผู้ยื่นหลักพ่วงภรรยากับลูกและได้ใช้เอกสารปลอมแปลงหรือให้ข้อมูลเท็จกับอิมฯไปบางอย่าง ไม่เพียงแต่ผู้ยื่นหลักจะโดนลงทัณฑ์ 3ปีตรงนี้ ภรรยากับลูกที่พ่วงมาใน application เดียวกันก็จะโดนลงทัณฑ์ 3 ปีตรงนี้รวมไปด้วย แต่ถ้าเป็นกรณีสมาชิกในครอบครัวที่ไม่มีชื่อพ่วงรวมลงไปในใบสมัครที่เรียกว่า Non – migrating members ก็จะไม่โดนผลกระทบ 3ปีตรงนี้ กฎใหม่ หรือเงื่อนไขใหม่ Fraud PIC ข้อนี้ จะครอบคลุมย้อนหลังไปถึงใบสมัครวีซ่าประเภทต่างๆดังที่ระบุอยู่ตามตารางข้างต้นสำหรับผู้ยื่นที่ได้เรื่องเข้าไปอิมฯแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการตัดสิน ณ วันที่ 2 April 2011 หรือเรื่องที่อยู่ในระหว่างการยื่นอุทธรณ์ด้วย ดังนั้น หากมีผู้ยื่นท่านใด หรือผู้ยื่นที่ไปใช้เอเย่นเจ้าใดที่สนับสนุนให้ลูกค้าทำเอกสารปลอมหรือให้ข้อมูลเท็จแทนลูกค้าตัวเอง ก็คงต้องร้อนตัวอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะครั้งนี้ คุณหมอวีซ่ายืนยันได้เลยว่าอิมฯเอาจริงค่ะ เงื่อนไขที่อิมฯออกมาแต่ละครั้ง ก็ไม่เจาะจงเชื้อชาติ คลุมไปหมดทั่วทุก application เลยค่ะ การโดนปฏิเสธวีซ่าด้วยข้อหาที่เกี่ยวโยงกับเรื่องการให้เอกสารปลอมแปลงหรือให้ข้อมูลเท็จนั้นเป็นเรื่องที่รุนแรงมาก และส่งผลระยะยาวต่อเนื่องตามไปคลุมถึงสมาชิกในครอบครัวของเราด้วย อย่างเช่น ถ้าลูกที่อายุต่ำกว่า 18 ปีที่พ่วงในใบสมัครของเราโดนปฏิเสธด้วยข้อหา ตามเงื่อนไขของ Fraud PIC และลูกอยากยื่นวีซ่าใหม่เองก็ต้องทำจดหมายอธิบายอย่างละเอียดว่าทำไมอิมฯจึงควรละเว้นทัณฑ์บน3ปีตรงนี้ให้ คุณหมอวีซ่าขอลงความเห็นและขอยืนกรานครั้งแล้วครั้งเล่าว่า การยื่นวีซ่าตัวใดก็ตามขอให้ยื่นเรื่องที่เป็นจริง และอย่าไปใช้เอกสารปลอมแปลงหลอกลวงรัฐบาลเขา คุณหมอวีซ่ายังเคยเขียนบทความเกี่ยวกับมาตรา 101-109 ที่ว่าด้วยสิทธิของอิมฯในการเพิกถอนหรือเรียกวีซ่าคืนย้อนหลังด้วยกรณีที่พบว่ามีการใช้เอกสารปลอมหรือให้ข้อมูลเท็จโดยยกตัวอย่างน้องคนหนึ่งที่ได้ PR ไปแล้ว 6 ปี ก็ยังโดนเรียก PR คืนเฉยเลย เนื่องจากคุณพ่อ-คุณแม่ได้ให้ข้อมูลที่ไม่ตรงตามความเป็นจริงไปโดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพราะไปทำตามคำแนะนำของเอเย่นเจ้าหนึ่ง จึงต้องรับกรรมเสียใจมาจนทุกวันนี้ คุณหมอวีซ่ามักเตือนลูกค้าที่มาพบเสมอว่าจะทำวีซ่าตัวใด ก็ขอให้ทำตามความเป็นจริงให้ได้ของแท้ไป ของปลอมหลอกๆชั่วคราวนะอย่าไปเสียเงินทำเลย สักวันวีซ่าปลอมก็ต้องโดนถอนคืน แถมประวัติพังทลายยับเยินอีก จากการออกกฎครั้งนี้ จะเห็นได้ว่ารัฐบาลออสเตรเลียออกมาปราบปรามคนที่ชอบทำเรื่องไปหลอกเขา เหมือนอยากอยู่เรือนเขาแต่เอาของสกปรกไปรดบ้านเขา จะมีเจ้าของบ้านใดที่ยอมให้ทำเช่นนั้นเล่า? ทำอะไรก็ขอให้ตรงไปตรงมาจะดีที่สุด ความจริงอย่างไรก็จะยั่งยืนเป็นความจริงตลอดไป วีซ่าของแท้ที่ได้มา ใครก็มาเอาคืนจากเราไปไม่ได้ จริงมั๊ยค่ะ? ก่อนจบคุณหมอวีซ่าขอประชาสัมพันธ์อยู่ 2 เรื่อง: (1.) ติวฟรี IELT Tips กับ CP International ที่ – CP Sydney วันที่ 30-31 March, 4-6 April เวลา13.30-16.00 น. และ 2 April 2011 เวลา 10.30-15.30 น. จองที่ด่วนได้ที่ 02 9267-8522 หรือ e-mail tug@cpinternational.com – CP Melbourne วันที่ 14-15, 18-21 April 2011เวลา 13.00-15.00 น. จองที่ด่วนได้ที่ 03 9602-5355 หรือ e-mail: jay@cpinternational.com งานเสริมสร้างสังคมช่วยน้องเตรียมตัวสอบ IELT ฟรี อย่างนี้คุณหมอวีซ่าขอสนับสนุน อย่าพลาดนะค่ะ (2.) CP ได้ชื่อใหม่ logo ใหม่ Go-inter ไปแล้วเป็น “CP International Education and Migration Centre” และพบกับ Offices ถาวรใหม่เอี่ยมของ CP International เองได้ที่ : – CP International เชียงใหม่: (อยู่หลังมช. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) เลขที่ 107/20 Panna Residence 3 หมู่ที่ 14 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 โทร: +66 53 328 234 CP International Bangkok (นั่งรถไฟฟ้าลงสถานีอารีย์) เลขที่ 408/35 อาคารพหลโยธินเพลส ชั้น9 ถ.พหลโยธิน สามเสนใน พญาไท กทม. 10400 โทร. +662 2781236

มีคำถามเกี่ยวกับการสมัครหรือสถานะวีซ่าออสเตรเลียของคุณ? ต้องการสมัครเพื่อศึกษาต่อ ทำงาน หรืออาศัยอยู่ในออสเตรเลีย? สามารถขอคำแนะนำจากทีมคุณหมอวีซ่าได้ที่: