1 June 2011

จากการไปร่วมฟังสัมมนาที่จัดขึ้นที่ Wesley Centre, Sydney เมื่อวันที่ 26 May 2011 ที่ผ่านมา นำเสนอโดยแผนกวางนโยบายของอิมมิเกรชั่นจากกรุงแคนเบอรร่า คุณ Michael Willard จาก DIAC ฝ่าย Policy ได้บรรยายถึงแนวโน้มจากการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของระบบการคัด skilled migrants หรือผู้อพยพที่ขอโยกย้ายมาตั้งหลักแหล่งในออสเตรเลียโดยอาศัยทักษะและความสามารถของตนเอง โดยรัฐบาลจะนำเอาระบบที่คุณหมอวีซ่าเคยเขียนไว้ในฉบับที่แล้วที่เรียกว่า “Expression of Interest Module – EOI” ที่มีชื่อสั้นๆว่า “SkillSelect” มาใช้ตั้งแต่วันที่ 1 July 2012 เป็นต้นไป โดยการสัมมนาครั้งนี้ ยังมีพูดถึงการที่รัฐบาลพยายามที่จะส่งเสริมให้ผู้สมัครโยกย้ายไปอยู่ในเขตปริมณฑล (regional Australia) กันมากขึ้นภายใต้การอำนวยความสะดวกในการผ่านวีซ่าเร็วขึ้นจากรัฐบาลออสเตรเลีย สำหรับน้องๆที่รอคิววีซ่าทักษะทั้งหลาย เช่น วีซ่า subclass 485, 885, 886 เป็นต้น คุณ David Stewart ผู้อำนวยการดูแล case processing สำหรับ GSM วีซ่าก็ได้มาชี้แจงถึงคิววีซ่าทักษะประเภทต่างๆเหล่านั้นว่าทำกันอย่างไร ใครมีสิทธิได้รับการพิจารณาก่อนหลังใครเป็นต้น ด้วยความที่รัฐบาลชุดนี้มีนโยบายให้ความสำคัญต่อผู้สมัครขอวีซ่าที่มีนายจ้างเป็นสปอนเซอร์ให้ก่อน จึงได้ให้ความสำคัญกับวีซ่าในสกุล 457, 856/112 ที่มีนายจ้างสปอนเซอร์มาเป็นหลัก หลายเคสที่เตรียมเข้าไปดีๆ วีซ่าสามารถผ่านได้ภายใน 2 สัปดาห์ก็มี ส่วนเนื้อหาสัมมนา top hit ครั้งนี้ก็เห็นจะได้แก่ EOI เพราะเป็นโครงสร้างใหม่ของการคัดเลือกผู้อพยพที่มีคุณภาพสูงเข้ามาตั้งหลักแหล่งในออสเตรเลีย ระบบนี้จะเปิดโอกาสให้คนจากทั่วโลกที่สนใจแสดงเจตจำนงเข้ามา พร้อมรวมแต้มให้กับตนเองว่าสามารถผ่านเกณฑ์ได้ รัฐบาลจะคัดผู้สมัครที่มีคะแนนสูงสุดไล่ลงมาตามลำดับเรื่อยๆ แล้วออกจดหมายเชิญให้ยื่นเรื่องสมัครเข้าไป โดยถ้าปราศจากจดหมายเชิญ ก็ไม่สามารถสมัครได้นั่นเอง ดังนั้นจะได้หรือไม่ได้วีซ่า ก็จะอยู่ในความควบคุมของรัฐบาลโดยสิ้นเชิง ต่างกับระบบปัจจุบันที่พอรวมคะแนนถึง และผ่านตรวจสุขภาพกับสันติบาลก็สามารถผ่านวีซ่าได้เลย จากการสัมมนาครั้งนี้ คุณ Michael Willard ยังได้แสดง chart ต่างๆให้ดูว่า ผลสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงในวีซ่าทักษะครั้งนี้ จะเป็นผลให้จำนวนวีซ่านักเรียนเข้าออสเตรเลียก็ลดลงไปโดยปริยายในอีก 3-4 ปีข้างหน้า ดูจาก chart แล้วก็น่าตกใจ ลดลงเหลือเพียง ¼ ของสมัยปี 2008-09 ที่เคยรุ่งกันมาก็ว่าได้ ปัจจุบันจึงจะเห็นว่ามีหลายคนต้องผิดหวังอกหักกับการขอวีซ่านักเรียนมายังประเทศออสเตรเลีย เนื่องจากอัตราการปฏิเสธวีซ่านักเรียนที่สูงลิ่วนั่นเอง หลายๆฝ่ายโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยต่างออกมาต่อต้าน จนรัฐบาลต้องแต่งตั้งให้ MP Michael Knight ทำวิจัยเพื่อค้นหาระบบวีซ่านักเรียนที่ดีขึ้นสำหรับประเทศออสเตรเลีย คุณหมอวีซ่าฉบับนี้ จึงอยากคุยกันถึงแนวโน้มของวีซ่านักเรียนออสเตรเลียเพื่อให้กำลังใจกับน้องๆ และนักเรียน นักศึกษากันนะคะ ในหลายๆรายงานไม่ว่าจะเป็นจาก The Australian (May 25, 2011) Campus Review (Ross, J., May 23, 2011) ต่างก็แสดงจำนวนตัวเลขที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัดของ student visa’s applicants โดยเฉพาะในประเทศอินเดียที่ตัวเลขของนักเรียนที่สมัคร offshore ลดลงถึง 90 % แต่ในขณะที่วีซ่านักเรียนส่วนใหญ่มาจากนักเรียน onshore ทั้งนั้น แม้กระทั่งประเทศจีนต่างก็ประสบปัญหานี้เช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ท่านรัฐมนตรี Chris Bowen จากกระทรวง Immigration and Citizenship และท่านรัฐมนตรี Christopher Evans จากกระทรวง Tertiary Education, Skills, Jobs and Workplace Relations ได้แต่งตั้ง the Hon Michael Knight AO ให้จัดทำ Strategic Review of the Student Visa Program 2011 หรือที่เรียกว่า “the Knight Paper” เพื่อศึกษาและหาข้อสรุปเกี่ยวกับวีซ่านักเรียน ว่าจะทำอย่างไรที่จะนำมาซึ่งประโยชน์อันสูงสุดแก่ international education sector และในขณะเดียวกันก็คงไว้ซึ่งเสถียรภาพของระบบการย้ายถิ่นฐาน (migration) ในรายงานข่าวของ The Australian เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2011 กล่าวว่าด้วยค่าเงินที่แข็งขึ้น ทำให้นักเรียนเลือกที่จะไปศึกษาต่อยังประเทศอื่นมากกว่าที่จะเลือกมาที่ออสเตรเลีย และอีกสิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ การศึกษาถือเป็นสินค้าส่งออกอันดับสามของประเทศนี้ ถ้าหากเกิดผลกระทบใดขึ้น แน่นอนว่ามันย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของออสเตรเลียไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ดังนั้น the Knight Paper จึงจัดทำขึ้นเพื่อการนี้โดยเฉพาะ สิ่งที่รายงานฉบับนี้เน้นก็คือการหานิยามของคำว่า “genuine students” คือนักเรียนที่มีความประสงค์จะเข้ามาศึกษายังประเทษออสเตรเลียมากกว่าที่จะเข้ามาทำงาน แต่ในปัจจุบันนี้มีนักเรียนจำนวนมากที่ไม่ใช่ genuine แต่อาศัยเข้ามายังประเทศเพื่อขอวีซ่าถาวร หรือเข้ามาทำงาน ซึ่งในรายงานได้กล่าวว่าการกระทำเช่นนี้ส่งผลกระทบในแง่ลบต่อระบบการศึกษาของนักเรียนต่างชาติ และการย้ายถิ่นฐาน นอกจากประเด็นเหล่านี้ ปัญหาในเรื่องของค่าเงินดอลล่าร์ที่สูงขึ้น นโยบายไมเกรชั่นที่เปลี่ยนไปก็ล้วนส่งผลกระทบถึงจำนวนนักเรียนที่เลือกจะเดินทางมาศึกษาต่อยังประเทศออสเตรเลีย ในขณะเดียวกัน สภามหาวิทยาลัยออสเตรเลีย หรือ Universities Australia ซึ่งเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยในประเทศออสเตรเลียก็ได้จัดทำรายงานเพื่อเสนอไปยัง the Knight Paper ถึงข้อสรุปและแนวโน้มที่ทางสภาคิดว่าเหมาะสมกับการจัดการวีซ่านักเรียน ทั้งนี้สองประเด็นหลักที่ทางสภาคิดว่ารัฐบาลควรให้ความสำคัญคือ 1. การเปลี่ยนแปลงการประเมินหลักฐานทางการเงินของกลุ่มเด็กนักเรียนที่มาจากประเทศ Assessment Level 3 และ 4 2. ความไม่มีเสถียรภาพของสิทธิการทำงานของเด็กนักเรียนต่างชาติภายหลังจากศึกษาจบ ทั้งสองประเด็นนี้ ทางสภามองว่าเป็นประเด็นที่รัฐบาลควรให้ความสำคัญอย่างมากในการแก้ไขปรับปรุงในวีซ่านักเรียน นอกจากสองประเด็นหลักนี้ มีอีกหลายประเด็นมากมายที่ทางสภาได้กล่าวถึง แต่ด้วยเนื้อที่จำกัดของคอลัมน์นี้ ประเด็นหลักๆที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของเด็กนักเรียน หรือน้องๆนักศึกษาที่ต้องการมาเรียนต่อที่ออสเตรเลียจะนำมาพูดถึงเป็นหลัก -เรียกร้องให้ทบทวนระบบประเมินวีซ่า – ปัจจุบันนี้ ระบบวีซ่านักเรียนของออสเตรเลียนั้น แบ่งเป็นหลายประเภท และหลายระดับ ตัวอย่างเช่นในประเทศจีน ที่ปัจจุบันอยู่ที่ลำดับที่ 4 ทั้งนี้หลายๆประเทศเช่นจีน หรืออินเดียเป็นประเทศที่ใหญ่ ทางสภามหาวิทยาลัยแห่งประเทศออสเตรเลียมองว่า ควรมีการจัดการโดยแบ่งเป็นเขตหรือภูมิภาคมากกว่าทั้งประเทศ ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มสิทธิและผลประโยชน์แก่นักเรียน -เรียกร้องให้มีการย่นระยะเวลาในการพิจารณาวีซ่า- ในปกติกว่าจะขอวีซ่านีกเรียนนั้นใช้เวลาค่อนข้างนาน บางครั้งใช้เวลามากกว่าสามเดือนกว่าเจ้าหน้าที่จะแจ้งผลวีซ่า ทั้งนี้สภามหาวิทยาลัยมองว่า ระยะเวลาในการพิจารณาควรเป็นไปตามการแข่งขันในระดับนานาชาติ เพื่อดึงดูดให้นักเรียนหรือนักศึกษาต่างชาติเข้ามายังประเทศมากขึ้น -ค่าวีซ่า – จากการศึกษา ทางสภาพบว่าค่าวีซ่านั้นค่อนข้างแพงมากกว่าประเทศอื่นๆ เช่นในประเทศอเมริกา นักเรียนต้องจ่ายค่าสมัครวีซ่าเป็นจำนวน $140 แต่ถ้าหากสมัครวีซ่านักเรียนของออสเตรเลีย นักเรียนจะต้องจ่ายถึง $550 ทั้งนี้สภามีควาามเห็นว่าทางรัฐบาลควรลดค่าสมัครวีซ่าลง โดยให้เป็นไปในระดับเดียวกันกับนานาชาติ เพื่อดูงดึดให้นักเรียนต่างชาติเข้ามาเรียนต่อยังออสเตรเลีย โดยอาจจะหักค่าใช้จ่ายในส่วนที่ต้องนำไปบำรุง DEEWR และนำค่าใช้จ่ายตรงนี้เพื่อไปสนับสนุนสวัสดิการของนักเรียนต่างชาติในออสเตรเลีย -ชั่วโมงทำงานในออสเตรเลีย – ทางสภามีความเห็นว่าควรจัดตั้ง “The Bank Hour” หรือธนาคารชั่วโมงทำงาน ในปกตินักเรียนต่างชาติสามารถทำงานได้อาทิตย์ละ 20 ชั่วโมง จุดประสงค์เพื่อหางานพิเศษเสริมรายได้ในระหว่างพำนักศึกษา หรือก็เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมหรือการดำรงชีพของประชากรออสเตรเลีย อย่างไรก็ตามนักเรียนบางคนทำงานมากกว่า 20 ชั่วโมง โดยเลือกที่จะรับเป็นเงินสด หรือเลือกที่จะทำงานโดยไม่มีประกันครอบคลุมก็เพื่อที่จะได้ทำงานมากกว่าที่รัฐบาลกำหนด ประเด็นปัญหาที่ทางสภามีความเห็นว่าควรจัดตั้ง The Bank Hour ขึ้นมาเพื่อเก็บสะสมชั่วโมงการทำงาน ถ้าหากเป็นช่วงสอบ นักเรียนหลายๆคนก็มักจะไม่อยากทำงาน ทำให้ต้องเสีย 20 ชั่วโมงไปโดยปริยาย โครงการนี้อนุญาติให้นักเรียนได้เก็บชั่วโมงทำงานไว้และสามารถทำงานเพิ่มได้อาจจะเป็นช่วงปิดเรียนหรือช่วงเปิดภาคการศึกษา นอกจากนี้นักเรียนที่ต้องฝึกงานก็สามารถทำงานได้เกินชั่วโมงตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งถ้าหากโครงการนี้เกิดขึ้นจริงก็นับว่าส่งผลดีต่อนักเรียนต่างชาติ โดยที่นักเรียนส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องไปทำงานที่ไม่มีสวัสดิการ หรือโดนกดขี่จากเจ้านาย -โอกาสการทำงานหลักจากสำเร็จการศึกษา – ในปัจจุบันรัฐบาลออสเตรเลียมีวีซ่า 485 Graduate (Temporary) Visa ที่อนุญาติให้นักเรียนได้ทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายในออสเตรเลียหลังจากจบการศึกษาเป็นเวลา 18 เดือน ซึ่งทางสภามหาวิทยาลัยมีความคิดเห็นว่าทางรัฐบาลควรเพิ่มระยะเวลาในการทำงานให้กับนักเรียนหลังจากจบการศึกษา โดยทางสภาได้เสนอโมเดลที่ปัจจุบันประเทศแคนาดาได้ใช้อยู่ และประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง นั่นก็คือชั่วโมงการทำงานควรสอดคล้องกับจำนวนปีที่นักเรียนศึกษา เช่นถ้าหากนักเรียนศึกษาน้อยกว่า 8 เดือน นักเรียนก็ไม่มีสิทธิที่จะขอทำงานหลังจากเรียนจบ ในขณะเดียวกันนักเรียนที่ศึกษามากกว่า 2 ปีก็มีโอกาสที่จะทำงานได้ถึงสามปีหลังจากจบการศึกษา ทั้งนี้ก็เพื่อมอบสิทธิประโยชน์ให้กับนักเรียนได้อยู่ทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายในประเทศออสเตรเลีย -หลักฐานทางการเงิน – ทางสภามหาวิทยาลัยเสนอประเด็นในเรื่องของการประเมินสถานะทางการเงินว่าควรพิจารณาถึง “ช่องทางๆการเงินที่นักเรียนมี” มากกว่าที่จะประเมินจาก “จำนวนเงินที่เด็กมี” นอกจากนี้สภามีความเห็นว่าการแสดงหลักฐานทางการเงินควรประเมินว่า เด็กนักเรียนมีเงินครอบคลุมค่าใช้จ่ายตลอด 1 ปี และมีหลักฐานที่จะพิสูจน์ว่าพวกเขามีเงินอย่างเพียงพอที่จะอาศัยในประเทศออสเตรเลีย ประเทศออสเตรเลียจำต้องพึ่งนักวิจัยจากนานาประเทศอยู่มาก ดังนั้นในกรณีที่นักศึกษา เช่นนักศึกษา ปริญญาโท หรือนักศึกษาปริญญาเอกตัดสินใจเข้ามาศึกษาต่อยังประเทศออสเตรเลีย ทางสภาเห็นว่ารัฐบาลความเพิ่มสิทธิประโยชน์ต่างๆให้เท่าเทียมกับเด็กในประเทศ เช่นลดหย่อนค่าโดยสาร หรือแม้กระทั่งยกเลิกค่าสมัครวีซ่าให้กับนักเรียน จากข้อเสนอที่สภามหาวิทยาลัยได้ยื่นให้กับคณะกรรมาธิการของ the Knight Review จะพบว่ามีสิทธิ ประโยชน์มากมายแก่เด็กนักเรียน นักศึกษาที่ต้องการมาเรียนในระดับมหาวิทยาลัย หรือระดับวิจัยในประเทศออสเตรเลีย จริงอยู่ว่าค่าเงินออสเตรเลียในปัจจุบันมีมูลค่าสูงมาก เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ของอเมริกา แต่ถ้าหากประเด็นข้อเสนอของสภามหาวิทยาลัยเป็นที่ยอมรับ นักเรียนต่างชาติที่เข้ามาศึกษาต่อก็จะได้รับผลประโยชน์ตรงนี้ แม้ในปัจจุบันตลาดการศึกษาของออสเตรเลียอาจจะซบเซา อันเนื่องมาจากค่าเงินที่สูงขึ้น อัตราการปฏิเสธวีซ่าสูง รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าหากรายงานฉบับนี้ผ่านร่าง คนที่ได้รับผลประโยชน์ตรงส่วนนี้ย่อมไม่ใช่ใครที่ไหน หากเป็นเด็กนักเรียน นักศึกษาที่ต้องการเข้ามาเรียนต่อยังประเทศออสเตรเลีย เพราะทางรัฐบาลออสเตรเลียเองก็ต้องการบุคลากรที่มีคุณภาพเข้ามาทำงาน ดังนั้นในอนาคตต่อไปการเข้ามาเรียนต่อออสเตรเลียในระดับอุดมศึกษาคงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพราะการเรียนการสอนที่นี่ก็ไม่แพ้ประเทศในระดับนานาชาติๆ อีกทั้งใกล้บ้าน และสามารถเดินทางไปมาสะดวก ดังนั้นหากน้องๆนักศึกษาคนใดสนใจที่จะมาเรียนต่อยังประเทศออสเตรเลียก็สามาถติดต่อมาได้ที่สำนักงานของ CP International ทุกสาขา

มีคำถามเกี่ยวกับการสมัครหรือสถานะวีซ่าออสเตรเลียของคุณ? ต้องการสมัครเพื่อศึกษาต่อ ทำงาน หรืออาศัยอยู่ในออสเตรเลีย? สามารถขอคำแนะนำจากทีมคุณหมอวีซ่าได้ที่: