28 June 2011

โปรโมชั่นวีซ่าคู่รักปี 2021 คลิกเลย

สวัสดีค่ะแฟนคลับคุณหมอวีซ่าทุกท่าน ตามที่ได้สัญญากันไว้ วันนี้เราจะมาคุยเรื่องของวีซ่าคู่ครองกัน เนื่องจากนโยบายรัฐบาลออสเตรเลียที่เปลี่ยนไปอย่างกระทันหัน และไม่หยุดยั้ง ทำให้วงการวีซ่านักเรียนและวีซ่าทักษะเข้าออสเตรเลียยากขึ้นอย่างมหาศาล และตาม Projection ของอิมมิเกรชั่น วีซ่านักเรียนก็จะตกยอดจนเหลือแค่ประมาณ ¼ ของจำนวนที่เคยอนุมัติเมื่อเทียบกับปี 2009 ซึ่งเป็น Peak period ของวีซ่านักเรียนออสเตรเลียเลยทีเดียว ครั้นจะพึ่งวีซ่าทักษะ นโยบายตรงนี้ก็จะเปลี่ยนไปเป็นระบบ SkillSelect ตั้งแต่วันที่ 1 July 2012 ซึ่งรัฐบาลจะเป็นคนควบคุมอีกว่าจะให้ใครเข้า หรือไม่ให้ใครเข้าด้วยระบบจดหมายเชิญ

ปัจจุบัน วีซ่าคู่ครองถึงจะเป็นวีซ่าอีกตัวหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยมก็จริง แต่รายละเอียดการทำเคสลึกๆ เข้า ก็ต้องระมัดระวังพอควร หากท่านผู้อ่านที่ไม่สันทัดในการยื่นฟอร์มและเอกสารประกอบด้วยตนเอง หรือมีประวัติซับซ้อน ก็พึงเลือกใช้ทนายหรือ migration agent ที่มีประวัติดีๆในสมุดของอิมมิเกรชั่นเป็นต้น เพราะตามกฎหมายของประเทศออสเตรเลีย ผู้ที่รับทำวีซ่า จะเป็นประเภทไหนก็ตาม จะต้องขึ้นทะเบียน มีใบอนุญาตที่ออกโดย Migration Agents Registration Authority หรือย่อว่า MARA อย่างถูกต้องนะคะ มิฉะนั้น มีโทษทั้งจำทั้งปรับสำหรับผู้ที่ไปรับทำวีซ่าโดยไม่มีใบอนุญาตใบนี้ค่ะ จึงต้องเช๊คให้ดีก่อนจะไปจ่ายสตางค์ให้ใครนะคะ

วีซ่าคู่ครองมีกี่ประเภท?

โดยรวมแล้ว วีซ่าคู่ครอง Partner Visa มีด้วยกันทั้งหมด 5 subclasses

  • Subclass 300 Prospective marriage (Temporary) – วีซ่าคู่หมั้น โดยทำการยื่นมาจากนอกออสเตรเลีย
  • Subclass 820 Partner (Temporary) – วีซ่าคู่ครอง (ชั่วคราว) โดยทำการยื่นภายในออสเตรเลีย
  • Subclass 801 Partner (residence) – วีซ่าคู่ครอง (ถาวร) อันเป็นขั้นที่สองของ 820
  • Subclass 309 Partner (provisional) – วีซ่าคู่ครอง (ชั่วคราว) โดยทำการยื่นมาจากนอกออสเตรเลีย
  • Subclass 100 Partner (migrant) – วีซ่าคู่ครอง (ถาวร) อันเป็นขั้นที่สองของ 100

ยื่นจากนอกประเทศออสเตรเลีย

  1. Subclass 300 —> Subclass 820 —> Subclass 801
  2. Subclass 309 —-> Subclass 100

ถ้าหากยื่นในออสเตรเลีย

Subclass 820 – Partner (temporary) —-> Subclass 801 Partner (Residence)

แล้วจะยื่นวีซ่าประเภทไหน
ลักษณะวีซ่าคู่ครองของออสเตรเลียจะประกอบไปด้วยทั้งหมด 2 ขั้นตอน ก็คือ ขั้นตอนแรก ผู้สมัครจะยื่นวีซ่าคู่ครองแบบชั่วคราว จากนั้นภายใน 2 ปีถึงจะได้เป็นวีซ่าคู่ครองถาวร และได้เป็นผู้อยู่อาศัยอยู่อย่างถาวรในประเทศออสเตรเลีย การที่รัฐบาลมีนโยบายเช่นนี้ ก็เพื่อป้องกันไม่ให้คนได้ PR แล้วเลิกราหย่ากันเป็นแถวๆ ประกอบกับต้องมีช่วงพิสูจน์ความสัมพันธ์ที่เป็นจริงเท่านั้น หลายๆคนอ่านแล้วคงจะสับสนว่าเราและคู่ครองของเรานั้นจะยื่นวีซ่าประเภทไหนดี จะเป็น sc 300, sc 820, หรือ sc 309ดี วันนี้คุณหมอวีซ่าจะมาแจกแจงรายละเอียดให้ทราบกันค่ะ

Subclass 300 Prospective marriage (Temporary) – วีซ่าคู่หมั้น

วีซ่าประเภทนี้ หรือที่เรียกสั้นๆว่าวีซ่าคู่หมั้น ก็เพราะว่าผู้สมัครมีแพลนที่จะแต่งงานที่ออสเตรเลีย จากนั้นเมื่อเดินมาถึงออสเตรเลียแล้วจะต้องแต่งงานภายใน 9 เดือนนับจากได้วีซ่าประเภทนี้มา และเมื่อมาถึงออสเตรเลียก็ทำการยื่นใบสมัครวีซ่าประเภท 820 Partner (Temporary) หรือวีซ่าคู่ครองชั่วคราว

Subclass 820 Partner (Temporary) – วีซ่าคู่ครอง (แบบชั่วคราว)

วีซ่าประเภทนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการยื่นวีซ่าคู่ครองในประเทศออสเตรเลีย หรือผู้ที่ถือ sc 300 มาจากนอกประเทศออสเตรเลียนะคะ โดยคุณสมบัติของวีซ่าประเภทนี้ก็คือ ถ้าหากตัวของผู้สมัครและคู่ครองแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ฉันท์สามี-ภรรยา ที่เป็นจริง ทางอิมฯก็จะออกวีซ่าตัวนี้ให้ค่ะ ไม่ว่าจะเป็นคู่สมรสที่แต่งงานกันในประเทศออสเตรเลีย หรืออยู่ในความสัมพันธ์ de facto มามากกว่า 12 เดือน หรือจดทะเบียนความสัมพันธ์ทั้งเพศเดียวกันและต่างเพศก็จะต้องยื่นวีซ่าตัวนี้เหมือนกันทั้งหมดค่ะ

Subclass 801 Partner (residence) วีซ่าคู่ครอง (แบบถาวร)

วีซ่าตัวนี้เป็นวีซ่าขั้นที่ 2 ต่อจากวีซ่า 820 นะคะ ผู้สมัครที่ได้วีซ่าประเภทนี้ ก็ถือว่าเป็นผู้อยู่อาศัยอย่างถาวรของออสเตรเลียค่ะ แต่ทั้งนี้ผู้สมัครจะต้องมีความสัมพันธ์ที่เป็นอยู่จริงเป็นเวลา 2 ปีกับคู่ครองหรือสปอนเซอร์ที่ทำการสปอนเซอร์เราในขั้นที่หนึ่งจึงจะได้วีซ่าตัวนี้มาได้นะคะ

Subclass 309 Partner (provisional) – วีซ่าคู่ครอง (แบบชั่วคราว) โดยทำการยื่นมาจากนอกประเทศออสเตรเลีย

วีซ่าคู่ครอง (ชั่วคราว) ประเภทนี้ ผู้สมัครยื่นได้จากนอกประเทศออสเตรเลียเท่านั้นค่ะ โดยคุณสมบัติของผู้สมัครและสปอนเซอร์จะต้องแต่งงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หรือผู้สมัครมีความสัมพันธ์ฉันท์สามี-ภรรยากับสปอนเซอร์เป็นเวลา 12 เดือน หรือจดทะเบียนความสัมพันธ์ทั้งเพศเดียวกันและต่างเพศ ก่อนหน้าที่จะยื่นใบสมัครค่ะ

Subclass 100 Partner (migrant) วีซ่าคู่ครอง (ถาวร)

เมื่อผู้สมัครแสดงให้ทางอิมฯเห็นว่าความสัมพันธ์นั้นเป็นความสัมพันธ์ที่แท้จริง และยังอยู่ในความสัมพันธ์ร่วมกันกับสปอนเซอร์ 2 ปีนับจากวันที่ยื่น 309 ทางอิมฯก็จะออกวีซ่าประเภทนี้ให้ค่ะ

ตอนนี้เราก็ทราบกันแล้วนะคะว่าวีซ่าคู่ครองแต่ละประเภทเป็นอย่างไร และมีทั้งหมดกี่ประเภท แต่ถ้าหากเราไม่ทราบคุณสมบัติของผู้สมัคร และสปอนเซอร์ การจะยื่นใบสมัครวีซ่าก็คงจะไม่เป็นผลสำเร็จ โดยคุณสมบัติของผู้สมัครและสปอนเซอร์มีดังนี้ค่ะ

คุณสมบัติของผู้สมัครวีซ่าคู่ครอง

ถ้าหากต้องการยื่นในออสเตรเลียจะต้องมีคุณสมบัติตามนี้ค่ะ

  1. โดยทั่วไป ต้องถือวีซ่าที่ถูกต้องอยู่ในออสเตรเลีย ไม่ว่าจะเป็นวีซ่านักเรียน วีซ่าท่องเที่ยว ฯลฯ ก็ตาม
  2. ข่าวดีสำหรับผู้ไม่มีวีซ่าที่ถูกต้อง หรือผู้อยู่เป็นผี ไม่ว่าจะนานมากี่ปี ก็สามารถทำวีซ่าคู่ครองภายในประเทศออสเตรเลียได้ โดยไม่ต้องกลับไปยื่นที่เมืองไทยเช่นกันตามคำประกาศของรัฐมนตรี Chris Evans ของ Immigration เมื่อวันที่ 14 September 2009 หากมีเงื่อนไขครบตามที่กฎหมายกำหนดนะคะ
  3. วีซ่าเก่าต้องไม่ติดเงื่อนไข No further stay มา (conditions 8503, 8534 และ 8535)
  4. ไม่ได้ถือวีซ่าท่องเที่ยวที่มีญาติเป็นสปอนเซอร์ให้ (Sponsored Visitor visa)
  5. ไม่ได้ถือ Criminal Justice visa
  6. ไม่มีหนี้สาธารณะต่อรัฐบาลออสเตรเลีย

สำหรับผู้ที่ต้องการยื่นนอกประเทศออสเตรเลีย ก็เพียงแค่ไม่มีหนี้ต่อรัฐบาลเท่านั้น ก็สามารถยื่นใบสมัครได้แล้วค่ะ

คุณสมบัติของสปอนเซอร์

  1. เป็น Australian citizen, Australian permanent resident หรือ eligible New Zealand citizen
  2. อายุ 18 ปีขึ้นไป
  3. ได้จดทะเบียนสมรส และอยู่ในความสัมพันธ์ฉันท์สามี – ภรรยากับผู้สมัครเป็นเวลา 12 เดือน หรือจดทะเบียนความสัมพันธ์กบผู้ยื่นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
  4. แต่ถ้าหากยื่นวีซ่าคู่หมั้นมาจากเมืองไทย สปอนเซอร์จะต้องอย่างน้อยเคยพบเจอกับคู่หมั้นมาก่อน และสามารถที่จะแต่งงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายหลังเดินทางมาถึงออสเตรเลีย
  5. ไม่เคยสปอนเซอร์หรือเคยได้รับการสปอนเซอร์ภายใน 5 ปี
  6. และต้องไม่เคยสปอนเซอร์ผู้สมัครเกิน 2 คน

สาเหตุที่ไม่สามารถสปอนเซอร์ได้เกิน 2 คนนั้นก็เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายด้านประชากรค่ะ ถ้าหากว่าทางรัฐบาลอนุญาตให้ทุกคนสามารถสปอนเซอร์ได้หมดก็จะถือเป็นการทำลายระบบกฎหมายอันศักดิ์สิทธิ์ของประเทศนี้ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าเมื่อผู้สมัครตกลงที่จะยื่นแล้วปรากฏว่า สปอนเซอร์เคยหรือได้รับการสปอนเซอร์มามากกว่า 2 ครั้งแล้ว จะไม่สามารถยื่นได้ตลอดไป ถ้าหากว่าผู้สมัครมีเหตุผลที่น่าเชื่อถือมากพอ (compelling reasons) เช่นมีลูกด้วยกัน เป็นต้น ก็สามารถที่จะได้รับการอนุมัติให้สปอนเซอร์ได้อีกครั้งค่ะ แล้วแต่เราจะเขียนเหตุผลเข้าไปดีประการใด

หลักฐานที่ใช้ยื่นประกอบ

สิ่งที่จำเป็นที่สุดในการสมัครวีซ่าคู่ครอง นอกเหนือไปจากผู้สมัคร และสปอนเซอร์แล้ว ก็คือหลักฐานที่ใช้ประกอบการยื่นสมัคร ไม่ว่าจะเป็นหลักฐานไอดีต่างๆ ใบจดทะเบียนสมรส สัญญาเช่าบ้าน ใบแสดงประกอบความประพฤติ เป็นต้น ซึ่งก่อนอื่นคุณหมอวีซ่าต้องขอบอกว่ามีหลักฐานมากมายที่ใช้ยื่นประกอบกับการสมัครวีซ่าคู่ครองถาวร แต่ทั้งนี้ด้วยเนื้อที่ของคอลัมน์ที่มีจำนวนจำกัด จึงไม่สามารถที่จะนำมาบอกกล่าวได้หมดได้ จึงขอคัดมาแต่ประเด็นหลักๆที่ต้องใช้ประกอบการยื่นคร่าวๆนะคะ

  • หลักฐานส่วนบุคคล เช่น พาสปอร์ต ใบสูติบัตร เป็นต้น
  • ใบตรวจสุขภาพในโรงพยาบาลที่เป็นที่รับรองของอิมฯ
  • ใบตรวจประวัติสันติบาล
  • มีชาวออสเตรเลียเซ็นรับรองความสัมพันธืของทั้งสอง 2 คน
  • หลักฐานแสดงความสัมพันธ์ ทั้งทางด้านการเงิน ลักษณะความสัมพันธ์ ในบ้าน สภาพทางสังคม และพันธะระหว่างกัน เป็นต้น

หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้จาก http://www.immi.gov.au/migrants/partners/partner/820-801/ ส่วนสรุปวีซ่าประเภทนี้ย่อๆ อ่านเข้าใจง่ายๆได้จาก http://www.cpinter.co.th/work_country.php?c=27

จากหลักฐานประกอบที่ให้มาข้างต้น คงไม่มีหลักฐานอะไรที่สำคัญไปกว่าหลักฐานที่แสดงว่าความสัมพันธ์ที่ทั้งสองมีต่อกันนั้นมั่นคง และยั่งยื่น เป็นความสัมพันธ์ที่เป็นจริง ซึ่งดูได้จากเคสที่ผ่านมาของทาง CP International Education and Migration Centre เคยยื่นกันมานับ 10 กว่าปี เราทำให้เรื่องยากกลายเป็นเรื่องง่ายมาหลายต่อหลายเคสแล้ว เคสไหนที่ทุกคนว่าเป็นไปไม่ได้ ทาง CP International ก็ทำวีซ่าผ่านมามากต่อมากแล้วค่ะด้วยความรู้ ประสบการณ์และประวัติดีเด่นอันยาวนานของ Migration agents ของเรา ถ้าหากต้องการปรึกษาหรือสนใจจะทำเรื่องวีซ่าถาวร ลองแวะเข้ามาคุยที่ CP International เลยนะคะ

กทม. – อาคารพหลโยธินเพลส ชั้น 9 (BTS อารีย์), 02-2781236

เชียงใหม่ – โครงการปันนาเรสสิเด๊นซ์ 3 ซอย 7, 053-328234

Sydney – Suite 1, Level 6, Labor Council Building, 2 9267 8522

Melbourne – Suite 1003 Little Collins St, 03 9602 5355

มีคำถามเกี่ยวกับการสมัครหรือสถานะวีซ่าออสเตรเลียของคุณ? ต้องการสมัครเพื่อศึกษาต่อ ทำงาน หรืออาศัยอยู่ในออสเตรเลีย? สามารถขอคำแนะนำจากทีมคุณหมอวีซ่าได้ที่: