15 March 2012

ในตอนแรกตามที่สัญญากันไว้ว่าคุณหมอวีซ่าจะนำเรื่องราวจากเมืองที่เปรียบเสมือนเมืองในสรวงสวรรค์คือประเทศนิวซีแลนด์มาเล่าให้ทุกคนฟังกัน ก็พอดีกับที่อิมมิเกรชั่นออกกฎใหม่เกี่ยวกับวีซ่าตัวใหม่ คือ ENS หรือวีซ่านายจ้างสปอนเซอร์ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2012 ที่จะถึงนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับระบบ SkillSelect ที่กำลังจะเริ่มใช้ในวันเดียวกันเช่นกัน ในเดือนที่แล้ว คุณหมอวีซ่าได้นำเรื่องราวของ SkillSelect มาเล่าให้ท่านผู้อ่านทั้งหลายฟัง ว่าเป็นระบบสมัครพีอาร์รูปแบบใหม่ ผ่านระบบ EOI หรือที่เรียกว่า Expression of Interest ใครก็ตามที่สนใจอยากจะได้พีอาร์โดยใช้คุณสมบัติ และความสามารถของตนเองประกอบการยื่น ก็จะต้องไปลงทะเบียน กรอกประวัติฝากไว้ในระบบ EOI ถึงจะมีสิทธิได้รับจดหมายเชิญ (invitation letter) ในการดำเนินเรื่องขอพีอาร์ภายหลังต่อมา จะว่าไปแล้วระบบ EOI นี้ก็เหมือนกับเว็บสมัครงานทั้งหลายที่ คุณหมอวีซ่าเชื่อว่าหลายๆคนคงจะเคยผ่านขั้นตอนตรงนี้มาบ้างแล้ว ใครก็ตามที่อยากได้งานทำดีๆ ก็ต้องหมั่นไปอัพเดทข้อมูลเพื่อดึงดูดนายจ้างทั้งหลายให้เรียกตัวไปสัมภาษณ์งาน SkillSelect เองก็มีหน้าที่ทำนองเดียวกับเว็บสมัครงานนี่ล่ะค่ะ ใครที่อยากได้พีอาร์ก็ต้องไปฝากประวัติไว้ ถ้าหากเรามีคะแนน หรือมีคุณสมบัติเป็นที่ดึงดูดใจ ไม่ว่าจะเป็นจากทางอิมมิเกรชั่นเองก็ดี จากรัฐต่างๆก็ดี หรือจากนายจ้างเองก็ดี เราก็จะได้รับจดหมายเชิญ หรือได้รับการติดต่อจากนายจ้าง เมื่อนั้นหนทางสู่พีอาร์ของเราก็อยู่ใกล้เอื้อมแล้วค่ะ และในวันนี้นี่เอง สดๆร้อนๆ (วันที่ 9 มีนาคม 2012) ทางอิมมิเกรชั่นก็ออกประกาศเกี่ยวกับการปฏิรูป Permanent Employer-Sponsored Program หรือที่เรารู้จักในนามว่า ENS และ RSMS (นายจ้างสปอนเซอร์ในเขตภูมิภาค หรือ regional area) หรือที่เราเรียกกันว่าเป็น วีซ่าทำงานแบบมีนายจ้างสปอนเซอร์นั่นเองค่ะ ในปัจจุบันมีวีซ่านายจ้างสปอนเซอร์แบ่งเป็นยื่นในประเทศออสเตรเลีย (onshore) และยื่นนอกประเทศออสเตรเลีย (offshore) แล้วยังจำแนกออกเป็นหลาย subclasses ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น sc121, sc856, sc120, sc855, sc 119 และ sc857 เห็นแค่ตัวเลขก็มึนแล้วค่ะ นับแต่วันที่ 1 กรกฎาคมนี้เป็นต้นไป ทางอิมมิเกรชั่นก็จะทำการรวบรวมวีซ่าทั้งหลาย subclass เหล่านี้เหลือเพียงแค่ 2 ประเภทเท่านั้น และเพิ่มช่องทางในการได้พีอาร์ให้สะดวก และยืดหยุ่นมากกว่าแต่ก่อนค่ะ วีซ่านายจ้างสปอนเซอร์แบบใหม่ได้แก่ Employer Nomination Scheme (sc186)

Regional Sponsored Migration Scheme (sc187) และต่อไปนี้ไม่ว่าจะยื่นในออสเตรเลีย หรือนอกออสเตรเลียก็ใช้ subclass ตัวเดียวกัน นับว่าอำนวยความสะดวกทั้งกับอิมมิเกรชั่นเอง กับนายจ้าง และแม้กระทั่งตัวลูกจ้างเอง ก็จะได้มีความกระจ่างมากยิ่งขึ้น การปฏิรูปวีซ่านายจ้างสปอนเซอร์รูปแบบใหม่ขึ้นมาก็เพื่อตอบสนองสถานภาพทางเศรษฐกิจ และตลาดแรงงานในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งทางอิมมิเกรชั่นมองว่าประเทศออสเตรเลียนั้นมีทรัพยากรมากมาย แต่ว่าขาดแรงงานฝีมือที่จะช่วยเข้ามาขับเคลื่อนสภาพเศรษฐกิจของประเทศ ให้คล่องตัวยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการปฏิรูปในครั้งนี้จะช่วยให้นายจ้างทั้งหลายสามารถหาลูกจ้างจากต่างประเทศมาช่วยในตำแหน่งที่ขาดแคลนจริงๆ และทางอิมมิเกรชั่นก็โฆษณาว่าวีซ่า ENS นี้จะมีระเบียบและยืดหยุ่นมากขึ้น โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่กำลังถือ 457 ทั้งหลาย โอกาสในการได้พีอาร์จากนายจ้างสปอนเซอร์มี 3 รูปแบบด้วยกันคือ

  1. The Temporary Residence Transition stream หรือสาย TR – ผู้สมัครพีอาร์นั้นจะต้องถือวีซ่า sc 457 มาแล้ว 2 ปี และนายจ้างนั้นยินดีที่จะสปอนเซอร์ในตำแหน่งงานเดิมไปอีก 2 ปีในตำแหน่งลูกจ้างถาวร และลูกจ้างนั้นจะต้องได้รับค่าแรงตาม “market rate” – ตามตลาดแรงงานเช่นเดียวกับลูกจ้างออสเตรเลีย
  2. The Direct Entry stream – สายตรง ประเภทนี้เหมาะสำหรับคนที่ยังไม่ได้ถือ 457 เช่นคนที่ถือวีซ่านักเรียนแล้วต้องการข้ามฝั่งมายังพีอาร์ หรือถือ 457มาน้อยกว่า 2 ปี และสำหรับคนที่ต้องการจะสมัครโดยตรงมาจากเมืองไทย ซึ่งเกณฑ์ในการสมัครสายตรงนี้ก็จะสูงกว่าเกณฑ์ที่มาจากการถือ 457 มาก่อน
  3. The Agreement stream – เป็นลูกจ้างที่ได้รับการสปอนเซอร์ภายใต้สัญญาแรงงาน (labour agreement หรือ regional migration agreement) ที่ทำไว้ สัญญาแรงงานนั้นเป็นสัญญาที่จัดทำขึ้นระหว่างนายจ้างและรัฐบาลออสเตรเลีย ซึ่งทางนายจ้างจะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าไม่มีจำนวนลูกจ้างออสเตรเลียมากพอที่จะมาช่วยงาน

การปฏิรูปหลักๆของ ENS ก็คือ

  1. ในอดีตผู้สมัครที่อายุมากกว่า 45 ปีไม่มีสิทธิในการสมัครวีซ่านานจ้างสปอนเซอร์ แต่ในรูปแบบใหม่นี้ อายุสูงสุดของการสมัครคือ 50 ปี
  2. เปลี่ยนเกณฑ์ขั้นต่ำของผลสอบภาษา (English language requirement) และการประเมินทักษะ (skill requirements)
  3. รวบ Occupation list ไม่ว่าจะเป็นของ 457, ENSOL และ StatSOL

เข้าไว้ด้วยกัน แล้วการปฏิรูปในครั้งนี้จะส่งผลดีต่อลูกจ้างอย่างไร – เท่าที่คุณหมอวีซ่าได้ติดตามข่าวมา จากแต่ ก่อนนั้น ใครที่ต้องการจะสมัคร ENS จะต้องมีอาชีพอยู่ใน ENSOL list ถึงจะสามารถสมัครได้ แต่ในรูปแบบใหม่นี้ ทางอิมมิเกรชั่นจะรวบรวมให้เป็นลิสต์เดียวกัน เท่ากับว่าอำนวยความสะดวกให้กับลูกจ้าง และนายจ้างอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อ SkillSelect มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2012 นี้ ดูเหมือนว่าทางรัฐบาลออสเตรเลียในปัจจุบันต้องการจะสนับสนุนวีซ่านายจ้างมากกว่าวีซ่าอิสระแบบ independent skilled โดยเฉพาะแรงงานใหม่ๆที่เข้ามาจะต้องมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะเศรษฐกิจ และสังคมของออสเตรเลียให้ได้ โดยเฉพาะความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ หลายๆคนชอบบ่นว่าโหย ทำไม่ได้หรอก ใครจะไปสอบได้ IELTS 5 หรือ 6 การที่รัฐบาลออสเตรเลียทำเช่นนี้ก็เพื่อเป็นการคุ้มครองลูกจ้างเช่นเดียวกันนะคะ ลองนึกดูว่าถ้าหากลูกจ้างไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ นายจ้างเองก็มีสิทธิที่จะข่มขู่ลูกค้าได้ นอกจากนี้การปรับฐานเงินเดือนที่แต่เดิมจะต้องจ่ายตาม award rate ที่ทาง ANZCO เป็นผู้ทำไว้ ต่อไปนี้นายจ้างจะต้องจ่ายค่าแรงตามความเป็นจริง เช่นลูกจ้างคนนี้ได้ปีละ 50,000 เหรียญ แต่นายจ้างบอกว่าให้ได้แค่ 30,000 เหรียญเพราะเป็นลูกจ้างต่างชาติ ถ้าหากวีซ่านายจ้างสปอนเซอร์เริ่มใช้จริง นายจ้างจะต้องจ่ายตามอัตราเดียวกันกับแรงงานชาวออสเตรเลียค่ะ เพราะฉะนั้นใครที่กำลังเลจะขอพีอาร์ ถ้าหากมีนายจ้างยินดีที่จะสปอนเซอร์แล้วละก็ อย่าลังเลที่จะทำพีอาร์นะคะ เพราะถ้ามองถึงสิทธิประโยชน์ที่ลูกจ้างพึงได้รับ รวมถึงเกณฑ์ในการขอพีอาร์ภายใต้วีซ่านายจ้างสปอนเซอร์แล้วละก็ รับรองว่ามีแต่คุ้มค่ะ ใครอยากอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ที่ http://www.immi.gov.au/skilled/skilled-workers/permanent-employer-sponsored-visa-whats-new.htm ก่อนจะจากกันก็ขอย้ำถึงโปรโมชั่นสุดพิเศษจากทางซีพี อินเตอร์ ฯ ใครที่มีคู่รักทั้งหลายและต้องการจะมอบของขวัญโดยการทำวีซ่าให้ สามารถเข้ามาปรึกษาพูดคุยได้ฟรี และรับส่วนลด 10 % สำหรับคนที่เปิดเคสกับซีพี อินเตอร์ก่อนสิ้นเดือนมีนาคมนี้นะคะ และฉบับหน้าอย่าลืมติดตามคุณหมอวีซ่าจะพาไปเที่ยวเมืองสวรรค์ที่นิวซีแลนด์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเรียน เรื่องวีซ่า และเรื่องพีอาร์ ฉบับหน้าพบกันค่ะ เรื่องวีซ่า ต้องยกให้ CPInter – เพราะที่นี่ วันไหนไม่มีวีซ่าผ่าน จะถือว่าเป็นเรื่องแปลก.. มั่นใจในคุณภาพของ CPInter..15 ปีแห่งการบริการอันเป็นเลิศ

มีคำถามเกี่ยวกับการสมัครหรือสถานะวีซ่าออสเตรเลียของคุณ? ต้องการสมัครเพื่อศึกษาต่อ ทำงาน หรืออาศัยอยู่ในออสเตรเลีย? สามารถขอคำแนะนำจากทีมคุณหมอวีซ่าได้ที่: