31 July 2012

สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่านคอลัมน์คุณหมอวีซ่าทุกท่าน  ช่วงนี้เหมือนฝนฟ้าจะไม่เป็นใจ ฝนตกหนักทุกวันทั้งที่เมืองไทยและออสเตรเลีย อากาศแปรปรวน เกิดภัยธรรมชาติมากมายทั่วโลก ผู้คนก็ไม่ปรองดองสามัคคี ช่างเป็นยุคที่น่าเป็นห่วงนะคะ สัปดาห์ที่ผ่านมา คุณหมอวีซ่าได้มีโอกาสไปนมัสการพระเจ้าที่คริสต์จักรสะพานเหลือง ซึ่งเป็นคริสต์จักรที่เก่าแก่มากแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ ได้มีโอกาสพบปะสังสรรค์ทักทายเพื่อนฝูงเก่าแก่ตั้งแต่รุ่นเรียนชั้นประถมที่คริสต์จักรแห่งเดียวกันนี้มาด้วยกัน เพื่อนๆรุ่นเดียวกันเป็นอาจารย์แพทย์เชี่ยวชาญไปหลายท่านเลยทีเดียว บางท่านก็ไม่ได้เจอกันมาร่วม 40 ปี ช่างเป็นโอกาสที่น่ายินดี และน่าปลื้มใจเลยทีเดียว

ในฉบับที่แล้ว คุณหมอวีซ่าได้เขียนถึงเรื่องราวของ GTE ได้เสียงตอบรับมาอย่างมากมายจากผู้อ่าน  โดยส่วนใหญ่แล้วก็มีคนถามกันว่า “จริงเหรอคะ วีซ่านักเรียนยากขนาดนั้นเลยเหรอคะ”  ทีมงานของคุณหมอวีซ่าเดินไปทางไหนก็ได้ยินทุกคนพูดถึง GTE กันทั้งนั้น  ต้องขอบอกว่า GTE นั้นยากจริง แต่ไม่ได้ยากจนถึงขนาดว่าจะทำไม่ได้  ตราบใดก็ตามที่น้องๆแสดงให้เห็นว่ามีความตั้งใจจริงที่จะมาเรียนในออสเตรเลีย  การได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องในการเลือกคอร์สเรียน หรือการดำเนินวีซ่าให้ถูกวิธีจากเอเจนท์ที่ได้รับการรับรองก็มีส่วนช่วยให้ประสบความสำเร็จได้นะคะ
เคยมีใครสงสัยบ้างไหมคะ ว่าพวกสัญญลักษณ์ต่างๆ ที่เรามักจะเห็นตามหน้าโฆษณาของเอเจนท์หรือสถาบันที่เกี่ยวข้องนั้น มีความว่าอะไร แล้วทำไมพวกเอเจนท์ถึงชอบลงกัน  ไม่ว่าจะเป็น  Migration Agents Registration Authority (MARA),  MIA (Migration Institute of Australia), QEAC  (Qualified Education Agent Counsellors), NZSA (New Zealand Specialist Agent)  และอื่นๆอีกมากมาย  ในวันนี้เราจะมาพบคำตอบกันค่ะ  แต่เนื่องจากพื้นที่มีจำกัด คุณหมอวีซ่าจึงอยากจะกล่าวถึงสัญญลักษณ์ที่น้องๆ นักเรียนที่กำลังศึกษา หรือกำลังมองหาหลักสูตรมาเรียนในออสเตรเลียควรจะรู้กัน

ใครๆก็ทราบแต่คำว่าเอเจนท์ แต่เอ๊ะ แล้วไมเกรชั่นเอเจนท์ (Migration Agent) นี่คืออะไร ต่างกับเอเจนท์ที่แนะแนวเฉพาะทางการเรียน (Education Agent) อย่างไร แล้วมีหน้าที่ทำอะไรได้บ้าง  วันนี้เราจะมาทราบคำตอบกันค่ะ  ไมเกรชั่นเอเจนท์นั้นขึ้นทะเบียนและทำงานภายใต้กฎเกณฑ์และข้อบังคับของ MARA (Office of the Migration Agents Registration Authority) เป็นองค์กรที่ทำหน้านี่ควบคุมดูแลไมเกรชั่นเอเจนท์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้ง ต่ออายุใบอนุญาตของสมาชิก รับคำร้องเรียนจากลูกค้า ตลอดจนถอดถอนเอเจนท์ที่ดำเนินการผิดกฎหมาย   หน้าที่ของไมเกรชั่นเอเจนท์คือให้ข้อมูล หรือคำแนะนำทางด้านวีซ่าที่ถูกต้องตรงตามกฎหมายแก่ลูกค้า  และไมเกรชั่นเอเจนท์มีหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกให้กับทางอิมมิเกรชั่นในเวลายื่นเอกสารสมัครวีซ่าเข้าไป  และโต้ตอบแทนลูกค้า (โดยรับคำส่งมาจากลูกค้าอีกที) ในยามที่อิมมิเกรชั่นขอข้อมูลหรือเอกสารเพิ่มเติมในการตัดสินวีซ่าแต่ละกรณี และเอเจนท์ที่ดีนั้นจะต้องปฏิบัติตนภายใต้กฎเกณฑ์และจรรยาบรรณ หรือ Code of Conduct ที่ออกโดย MARA หากไม่ปฏิบัติตนภายใต้ข้อปฏิบัตินี้แล้ว ทาง MARA มีสิทธิตรวจสอบการทำงานของเอเจนท์นั้นๆค่ะ    ซึ่งคุณหมอวีซ่าขอยกตัวอย่างสั้นๆจาก Code of Conduct ซึ่งกล่าวถึงหน้าที่ของไมเกรชั่นเอเจนท์มาให้ทราบเป็นเกล็ดความรู้กันเล็กน้อยนะคะ

STANDARDS OF PROFESSIONAL CONDUCT

2.1                          A registered migration agent must always:
(a)     act in accordance with the law (including, for an agent operating as an agent in a country other than Australia, the law of that country) and the legitimate interests of his or her client; and
(b) deal with his or her client competently, diligently and fairly.
2.2                          If a registered migration agent:
(a)     gives advice of a non-migration nature to a client in the course of giving immigration assistance; and
(b) could receive a financial benefit because of the advice; the agent must tell the client in writing, at the time the advice is requested or given, that the agent may receive a financial benefit.
2.3                          A registered migration agent’s professionalism must be reflected in a sound
working knowledge of the Migration Act and Migration Regulations, and other legislation relating to migration procedure, and a capacity to provide accurate and timely advice.
2.3A                        A registered migration agent’s professionalism must be reflected in the making of adequate arrangements to avoid financial loss to a client, including the holding of professional indemnity insurance mentioned in the regulation 6B for the period of the migration agent’s registration.
2.4                          A registered migration agent must have due regard to a client’s dependence on the agent’s knowledge and experience.

2.5                          A registered migration agent must:
(a) take appropriate steps to maintain and improve his or her knowledge of the current versions of:
(i) the Migration Act 1958; and
(ii) the Migration Regulations 1994; and
(iii) other legislation relating to migration procedure; and
(iv) portfolio policies and procedures; and
(b) either:
(i) maintain a professional library that includes those materials; or
(ii) if the agent’s employer, or the business in which he or she works, maintains a professional library that includes those materials – take responsibility for ensuring that he or she has access to the library.
Note 1: A comprehensive list of the materials mentioned in subparagraphs (a) (iii) and (iv) may be obtained from the Professional Library page of the Authority’s web site (www.mara.gov.au).
Note 2: A registered migration agent must satisfy the requirements for continuing professional development set out in Schedule 1.
2.6                          To the extent that a registered migration agent must take account of objective criteria to make an application under the Migration Act or Migration Regulations, he or she must be frank and candid about the prospects of success when assessing a client’s request for assistance in preparing a case or making an application under the Migration Act or Migration Regulations.
2.7                          A registered migration agent who is asked by a client to give his or her opinion about the probability of a successful outcome for the client’s application:
(a) must give the advice, in writing, within a reasonable time; and
(b) may also give the advice orally to the extent that the oral advice is the same as the written advice; and
(c) must not hold out unsubstantiated or unjustified prospects of success when advising clients (orally or in writing) on applications under the Migration Act or Migration Regulations.

2.9                           A registered migration agent must not make statements in support of an
application under the Migration Act or Migration Regulations, or
encourage the making of statements, which he or she knows or
believes to be misleading or inaccurate.
2.11                 A registered migration agent must, when advertising:
(a) include in the advertisement the words “Migration Agents Registration Number” or “MARN”, followed by the agent’s individual registration number; and
(b) if the agent is advertising in a language other than English — include in the advertisement words in that other language equivalent to “Migration Agents Registration Number” or “MARN”, followed by the agent’s individual registration number.
Note 1: Advertising includes advertising on the Internet.
Note 2: Clause 2.12, which relates to implying a relationship with the Department or the Authority, also applies to the registered migration agent’s advertising mentioned in clause 2.11.
2.12                 A registered migration agent must not, when advertising, imply the
existence of a relationship with the Department or the Authority, for example by using terms such as:
(a) Australian Government  registered;  or
(b) Migration Agents Registration Authority registered; or
(c) Department  registered.
Note: Advertising includes advertising on the Internet.
(Taken from: Office of the Migration Agents Registered Authority 2012, ‘Code of Conduct for Registered Migration Agents’, pp. 4-8.)

อันนี้เป็นเพียงแค่กฎบางข้อที่ผู้อ่านในฐานะลูกค้าควรจะทราบถึงหน้าที่และข้อควรปฏิบัติตามกฎหมายที่ไมเกรชั่นเอเจนท์ที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับทาง MARA พึงมี  โดยเน้นเรื่องของการทำงานภายใต้กฎหมาย Migration Act 1958  และ the Migration Regulations 1994 มาเป็นหลัก จะเห็นได้ว่ากฎเกณฑ์ที่ทาง MARA ตั้งขึ้นสำหรับไมเกรชั่นเอเจนท์นั้นเคร่งครัดยิ่งนัก โดยเฉพาะในเรื่องของการให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับทางลูกค้า หากไม่ปฏิบัติตามกฎ ทาง MARA ก็อาจทำการสอบสวนและมีบทลงโทษ เช่นการตักเตือนหรือการสั่งหยุดชั่วคราว (sanctioned) หรือในกรณีรุนแรง ก็สั่งเพิกถอนใบอนุญาตไปเลย (suspension) ซึ่งรายชื่อของเอเจนท์ที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตเหล่านี้ ดูได้จาก:  https://www.mara.gov.au/AgentSanctioned/ASSearch.aspx?FolderID=395 ในทำนองเดียวกับงานในสายอาชีพต่างๆ ไมเกรชั่นเอเจนท์ ก็มีความชำนาญไปในแต่ละสายวีซ่าแตกต่างกันไปดั่งเช่นคนไข้ไปหาหมอ แพทย์ก็มีความชำนาญในสายโรคการรักษาที่แตกต่างกันไป แต่ในสายวีซ่านั้น ท่านผู้อ่านก็ต้องระวัง อย่าไปโดนหลอก เพราะหลายๆเอเจนท์ก็ปฏิบัติไปโดยที่ไม่ได้รับใบอนุญาต (unregistered practice) และผลเสียก็ตกกลับหาท่านผู้อ่านเอง เพราะมีหลายครั้งที่ลูกค้ามาหาคุณหมอวีซ่าเนื่องจากได้รับคำแนะนำผิดๆมาจากเอเจนท์ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับทาง MARA หรือเป็นไมเกรชั่นเอเจนท์ที่ไม่ได้ชำนาญในสายวีซ่านั้นๆ การให้คำแนะนำที่ผิดๆส่งผลกระทบต่ออนาคตของลูกค้าเป็นอย่างยิ่ง อย่างกรณีที่ผ่านๆมา เช่นเอเจนท์แนะนำให้คู่สมรสสมัครวีซ่านักเรียนก่อน เพื่อรอเวลาเก็บเอกสารกินอยู่กับแฟนให้ครบ 1 ปี เพื่อยื่นวีซ่าคู่ครอง ทั้งๆที่จริงแล้วในกรณียื่นวีซ่าคู่ครองที่เป็นแบบจดทะเบียนสมรส ผู้สมัครวีซ่าไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานครบ 1 ปีก็สามารถยื่นได้แล้ว กรณีเช่นนี้  ปรากฎว่าวีซ่านักเรียนของน้องคนนี้โดนปฏิเสธไป วีซ่านักเรียนตัวเก่าก็หมดไปแล้ว จึงไม่สามารถยื่นวีซ่าคู่ครองต่อเนื่องที่ออสเตรเลียได้ คงต้องเดินทางกลับไทยไปทำเรื่องซึ่งอาจต้องรอเป็นปีกว่าจะกลับมาได้ และการโดนปฏิเสธมาเช่นนี้ ก็ทำให้ติดประวัติอีก (adverse immigration history) แผนชีวิตกลับตะลาปัด จึงไม่เป็นการดี   และในขณะเดียวกันการเป็นไมเกรชั่นเอเจนท์ที่ดีจะต้องคอยดูแลเอาใจใส่ตามเคสให้ลูกค้าเสมอ  เพราะเคยมีลูกค้าของคุณหมอวีซ่าที่ได้ยื่นวีซ่าสมัคร sc885 (Skilled Independent Visa) กับอีกเอเจนท์หนึ่ง  แต่เอเจนท์กลับลืมที่จะยื่นสมัครวีซ่า ผลปรากฏว่าเมื่อลูกค้าคนนี้ไปตามเรื่องที่บริษัท ก็พบว่าวีซ่าตัวเองได้หมดอายุไปแล้ว และทางเอเจนท์นั้นก็ไม่ได้สนใจหรือติดตาม และทำให้น้องคนนี้เสียเวลา เสียความรู้สึก และเสียโอกาสในการนับเวลารอได้ซิติเซ่น  เท่ากับต้องมาเริ่มนับตั้งแต่ได้วีซ่าตัวใหม่แทน  แต่ในที่สุด ทีมงานเราก็สามารถแก้เคสให้จนทุกวันนี้น้องได้เป็นซิติเซ่นไปแล้ว แถมยังสปอนเซอร์แฟนเป็น PR ไปโดยเคสผ่านภายในเวลาไม่ถึงเดือน น้องก็ดีใจมากๆ เป็นต้น

สัญญลักษณ์ของ MARA ของแต่ละสมาชิกนั้นจะปรากฎตามในรูป  โดยในรูปนั้นจะแสดงหมายเลขสมาชิกของไมเกรชั่นเอเจนท์นั้นๆ  ซึ่งหมายเลขข้างต้นนั้นเป็นหมายเลขสมาชิกของคุณหมอวีซ่าเอง  สองตังเลขแรกเป็นการบ่งบอกถึงปีที่ได้รับการขึ้นทะเบียน ซึ่งเป็นการบ่งบอกถึงประสบการณ์ตามจำนวนปีที่ไมเกรชั่นเอเจนท์คนนั้นๆได้ปฏิบัติหน้าที่มา อย่างเช่นของคุณหมอวีซ่าก็ตั้งแต่ปี คศ 1998  ส่วนของคุณคริส ก็ตั้งแต่ปี 1993  เป็นต้น หากเป็นในวงการศึกษา จะเรียกว่าเป็นรุ่นอาจารย์แล้วก็ว่าได้ เพราะไมเกรชั่นเอเจนท์ที่มีประสบการณ์เกิน 10 ปี ทาง MARA จะให้เกียรติโดยไม่ต้องไปสอบ IELTS ให้ได้ 7 ในการต่อทะเบียนตั้งแต่ปี คศ.2014 เป็นต้นไป อาจเป็นเพราะการที่สามารถอยู่รอดในสายอาชีพนี้ถึง 10 ปีขึ้นไปได้ ไมเกรชั่นเอเจนท์เจ้านั้นๆคงจะต้องทำอะไรถูกต้องมา อย่างสม่ำเสมอและถือว่าผลงานเป็นที่ยอมรับนั่นเอง

และเป็นข้อบังคับที่ไมเกรชั่นเอเจนท์ทุกคนจะต้องแสดงตรา MARN ไม่ว่าจะโฆษณาในไหนก็ตาม  เมื่อเราพบเห็นสัญญลักษณ์นี้ตามหน้าโฆษณา นั่นแสดงว่าบริษัทนั้นมีไมเกรชั่นเอเจนท์ประจำอยู่ที่สำนักงาน และสามารถให้ความช่วยเหลือตลอดจนให้คำปรึกษาในเรื่องของวีซ่าออสเตรเลียได้อย่างถูกต้องตามกฏหมายค่ะ
https://www.mara.gov.au/Agent-Information/default.aspx

น้องๆผู้อ่านทั้งหลายเคยถามคุณหมอวีซ่าว่าอยากประกอบอาชีพสายนี้จะต้องทำอย่างไร คงจะเห็นแล้วการเป็นไมเกรชั่นเอเจนท์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับทาง MARA นั้นไม่สามารถเป็นกันได้ง่ายๆ มีกฎเกณฑ์และข้อบังคับมากมาย ทั้งนี้ก็เป็นการคุ้มครองสิทธิ์ของผู้บริโภคที่รัฐบาลต้องการให้เป็นไป  เพราะถ้าหากไมเกรชั่นเอเจนท์ใดให้คำแนะนำที่ผิดๆ หรือไม่เป็นไปตามกฎหมาย ก็มีสิทธิถูกยึดใบอนุญาตได้เสมอ อีกประการหนึ่ง รัฐบาลยังบังคับให้ไมเกรชั่นเอเจนท์ทุกคนจะต้องซื้อประกันคุ้มครองในสายวิชาชีพ (professional idemnity) อยู่เสมอ ในทำนองเดียวกับแพทย์ ที่ต่อให้เก่งและระวังตัวเพียงใดก็ตาม ก็อาจมีโอกาสถูกคนไข้ฟ้องร้อง เนื่องจากรักษาหรือจ่ายยาผิด อย่างเช่นในกรณีของไมเคิล แจ๊คสัน ดาราดังที่ได้รับยาเกินขนาดจนเสียชีวิต เป็นต้น เพราะฉะนั้นไมเกรชั่นเอเจนท์ที่ดีจะต้องมีการพัฒนาความรู้โดยเฉพาะในเรื่องของกฎหมายวีซ่าต่างๆให้อัพเดทตลอดเวลา  นอกจากนี้เรายังจะต้องมีความจริงใจต่อลูกค้า ไม่หมกเม็ดข้อมูลหรือให้ข้อมูลเท็จต่อทั้งลูกค้าหรืออิมมิเกรชั่น  เพราะฉะนั้นในครั้งต่อไป ถ้าหากผู้อ่านทั้งหลายต้องการคำแนะนำในเรื่องวีซ่าต่างๆ ก็คงจะทราบถึงความความสำคัญของการใช้เอเจนท์ที่ขึ้นทะเบียนมาอย่างถูกต้องและมีความชำนาญในสายวีซ่าที่เราจะขอ จะได้ไม่เกิดการผิดพลาดที่อาจนำไปสู่การพลิกผันอนาคตของคนๆหนึ่งได้เลยทีเดียว