19 February 2013

ผ่านพ้นไปด้วยดีสำหรับงาน CP Partner Visa Seminar กับทาง CP Sydney ที่ Raddison Hotel Sydney มีคู่รักมาจดทะเบียนสมรสหลายคู่ทั้งไทยทั้งหรั่ง รวมทั้งมีผู้มาร่วมมาฟังสัมมนาได้ความรู้เกี่ยวกับวีซ่าสำคัญตัวนี้ไปมากมาย ต้องขอขอบคุณท่านรองเกศณีย์ ผลานุวงษ์ – รองกงสุลใหญ่ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ ท่านณัฏฐา สุนทราภา – กงสุลใหญ่ คุณแอนที่น่ารักสุดๆ และที่สำคัญคือคุณลุงจำรัสที่ชาวไทยที่ออสเตรเลีย โดยเฉพาะชาวซิดนีย์ทั้งรักทั้งชอบกันทุกคน ทีมงานคณะกงสุลทุกท่านทำงานกันอย่างหนัก และเต็มใจมาตั้งทัพกงสุลสัญจรเพื่อให้ความสะดวกและความช่วยเหลือกับคนไทยทั่วทุกซอกมุมในการอำนวยความสะดวกการจดทะเบียนสมรสเคลื่อนที่ พร้อมทั้งให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์มากมายกับทุกๆท่านที่มาร่วมงานสัมมนาเมื่อวันวาเลนไทน์ที่ 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ท่านผู้อ่านสังเกตุไหมคะว่า ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปกี่ปีๆ วีซ่าแต่งงาน หรือวีซ่าคู่ครอง เป็นวีซ่าที่ทำไปได้อยู่เรื่อยๆ ไม่มีวันหมดอายุ และก็ยังเป็นที่นิยมเสมอมาค่ะ หญิงไทยเรามีเสน่ห์แถมยังเป็นแม่บ้านแม่เรือนที่ผู้คนทั่วโลกชื่อชอบ การทำวีซ่าตัวนี้จึงเป็นที่นิยมมากในกลุ่มชาวไทยที่ไปตั้งหลักแหล่งอยู่ในต่างประเทศ

ในงานสัมมนาครั้งนี้ คุณหมอวีซ่าไม่ได้เน้นเรื่องกฎระเบียบ หรือเอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นวีซ่าคู่ครอง เพราะไปพิมพ์เอาจากเว๊ปอิมมิเกรชั่นได้ หากแต่จะเล่าถึงเรื่องจริงที่เกิดกับลูกค้านับร้อยนับพันที่มาพบและขอความช่วยเหลือจากคุณหมอวีซ่าให้ช่วย “เปลี่ยนผีให้เป็นคน” ให้หน่อย เคสส่วนใหญ่ที่ทำได้ คุณหมอวีซ่าก็จะอาศัยความรู้ทางกฎหมายที่เรียนมากับประสบการณ์ในการยื่นขอวีซ่ามานานปีมาช่วยให้เขาเหล่านั้นได้มีโอกาสอยู่อย่างถูกต้องตามกฎหมายซักที จะได้ไม่ต้องตกเป็นเป้าหมายถูกคนรังแกและคอยเอาเปรียบอยู่ตลอด อยู่อย่างหลบๆซ่อนๆอย่างน่าเห็นใจ ในงานคุณหมอวีซ่ายังมีโอกาสนั่งสนทนากับท่านรองฯเกศในงาน ต้องขอยกนิ้วให้ท่านกงสุลใหญ่ประจำซิดนีย์และคณะฯของท่านที่มีไอเดียแตกฉานและให้ความห่วงใย การเอาใจใส่่ต่อคนไทยที่อยู่ไม่แต่เพียงในนิวเซาท์เวลส์ หากแต่คนไทยทั่วไปที่มีปัญหาให้ท่านช่วยเหลือ อีกไม่นาน คนไทยที่โชคดีทั้งหลายในรัฐ NSW ก็อาจจะได้เห็นโครงการ Outreach ดีๆที่เกิดจากความคิดริเริ่มของคณะกงสุลในการให้บริการกับชุมชนชาวไทยที่นี่อย่างทั่วถึงอย่างน่าชื่นชมนะคะ

วีซ่ายอดฮิต

ขอเข้าเรื่องของวีซ่าฮ๊อตฮิตในยุคปัจจุบันกันเลยนะคะ นับแต่วันที่ 1 มกราคม 2013 ที่ผ่านมา ท่านผู้อ่านทุกท่านคงจะทราบแล้วว่า Graduate visa (sc485) สำหรับผู้ที่ถือวีซ่านักเรียนก่อนวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2010หรือผู้ที่ทางอิมมิเกรชั่นถือว่าอยู่ใน transitional period นั้นหมดโอกาสในการยื่นอาชีพที่อยู่ใน Transitional Arrangement เช่น translator, marketing specialist และอื่นๆ กล่าวคือ หากน้องๆนักศึกษาท่านไหนที่ต้องการสมัคร graduate visa sc485 ในปัจจุบันนั้นจะต้องสมัครอาชีพที่อยู่ใน Skilled Occupation List (SOL) Schedule 1 เท่านั้น ก็คืออาชีพที่อยู่ในลิสต์พีอาร์ ไม่ว่าจะเป็นบัญชี วิศวกร ไอที ครู หรือพยาบาลก็ตาม หรือถ้าหากอยากจะยื่น sc485 จริงๆ ก็ต้องเพิ่งเดินทางมาเรียนออสเตรเลีย และถือวีซ่านักเรียนกลุ่มที่เข้าข่ายเป็น GTE คือนับจากวันที่ 5 พฤศจิกายน 2011 เป็นต้นมา ถ้าหากถือวีซ่านักเรียนหลังวันนี้ก็สามารถขอ sc485 โดยไม่จำเป็นต้องยื่นอาชีพใน Schedule 1 จากปกติที่จะต้องเรียนในออสเตรเลียมาเป็นเวลา 2 ปีการศึกษา (92 อาทิตย์) และเป็นคอร์สเรียนที่ได้รับการลงทะเบียนกับ Commonwealth Register of Institutions and Course for Overseas Students (CRICOS) ก็คือคอร์สเรียนในระดับปริญญา ไม่ว่าจะเป็นปริญญาตรี โท หรือเอก จึงจะสามารถที่จะสมัคร sc485 ภายใต้รูปแบบ Post-Study Work stream ซึ่งอำนวยให้บัณฑิตเหล่านี้สามารถที่จะทำงานหลังจากเรียนจบได้อย่างต่ำ 2 ปี หรือจบ 4 ปีถ้าหากเรียนจบในระดับปริญญาเอก หรือถ้าหากมาก่อนวันที่ 5 พฤศจิกายน 2011 ก็ยังสามารถสมัครได้ แต่ต้องสมัครภายใต้รูปแบบ graduate work stream โดยจะต้องยื่นอาชีพที่อยู่ในลิสต์พีอาร์ ซึ่งสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.immi.gov.au/students/knight/_pdf/temp-graduate-485-visa.pdf

เมื่ออิมมิเกรชั่นประกาศกฎออกมาเช่นนี้ ก็คงทำให้น้องๆส่วนใหญ่พากันอกหักเป็นแถวๆ พีอาร์ก็ได้ยากแสนยาก บางคนก็เลยตัดสินใจเดินทางกลับไทย บางคนก็สมัครเรียนไปเรื่อยๆ หรือบางคนก็หนีวีซ่าอยู่เป็นผีแทน คุณหมอวีซ่าอยากจะกล่าวไว้ตรงนี้ว่า สำหรับท่านผู้อ่านที่ไม่มีคุณสมบัติตามที่กล่าวมาข้างต้น ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีหนทางอยู่ในออสเตรเลียนะคะ ยังมีอีกหลากวีซ่าหลายตัวให้เลือกสมัคร เช่นวีซ่าแต่งงาน วีซ่าธุรกิจ แต่สำหรับผู้อ่านท่านไหนที่หาคู่รักสปอนเซอร์ไม่ได้ หรือไม่มีเงินทุนตามที่รัฐบาลร้องขอ มีแต่นายจ้างอยากสปอนเซอร์ ก็ลองมองหาวีซ่าตัวนี้กันค่ะ Temporary Work (Skilled) visa (Subclass 457) วีซ่านายจ้างสปอนเซอร์ หรือ working visa ไม่ว่าจะเรียกวีซ่าประเภทนี้ว่าอะไร ก็คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าวีซ่าตัวนี้เป็นวีซ่าทองแห่งยุคจริงๆค่ะ ใครที่พลาดหวังในการสมัครพีอาร์ ก็หันเหมาสมัครวีซ่านายจ้างสปอนเซอร์แทน และถ้าหากเป็นที่พอใจของนายจ้าง นายจ้างเองก็สามารถสปอนเซอร์ให้เราได้พีอาร์ในท้ายที่สุด ด้วยสาเหตุนี้ทำให้น้องๆคนไทยที่มีฝีไม้ลายมือต่างเข้ามาปรึกษาทีมงานของคุณหมอวีซ่ากันยกใหญ่ถึงการทำวีซ่านายจ้างสปอนเซอร์ จริงๆ คุณหมอวีซ่าเคยเขียนถึงวีซ่าตัวนี้ไปแล้ว แต่ช่วงนี้น้องๆทีมงาน ไม่ว่าจะเป็นที่ซิดนีย์ หรือเมลเบิร์น ต่างก็ได้รับสายกริ๊งกร๊าง โทรมาสอบถามเรื่องการทำวีซ่าทำงาน ไม่ว่าจะเป็นอาชีพ cook, restaurant manager, café manager, florist, massage therapist, marketing specialist, electrician และอื่นๆ แต่อาชีพที่เป็นที่ยอดนิยมจริงๆก็คืออาชีพในสาขาบริการดั่ง Restaurant Manager ผ่านกันฉลุยมาหลายต่อหลายคนแล้วค่ะ หากใครคิดว่าเข้าข่าย ก็ให้โทรมานัดพี่โจคนเก่ง ทนายมือหนึ่งจบนิติฯเกียรตินิยมมาจากจุฬาฯและ Master degree in Internatioanl Laws + Master of Taxation Laws มาจาก ม. Sydney University ที่ดูแลวีซ่าตัวนี้ที่ CP Sydney ได้เลยนะคะ ลองมาให้พี่โจประเมินว่ามีโอกาสทำได้ไหมนะคะ

วีซ่านายจ้างสปอนเซอร์ – Temporary Work (Skilled) visa (Subclass 457) เป็นวีซ่าชั่วคราวที่เอื้อประโยชน์ให้กับนายจ้างในการว่าจ้างลูกจ้างต่างชาติเข้ามาทำงาน เพราะเนื่องจากไม่สามารถหาลูกจ้างที่เป็นคนท้องถิ่นมาทำงานได้ sc457 สามารถแบ่งการสปอนเซอร์ได้เป็น 2 ประเภทคือ

  1. ภายใต้ Standard Business Sponsorship (SBS) และ
  2. Labour Agreement ภายใต้วีซ่า sc457 นี้ นายจ้างสามารถว่าจ้างลูกจ้างให้ทำงานกับตนได้ถึง 4 ปี และนับจากทำงานไป 2 ปีกับนายจ้างคนเดิมแล้ว นายจ้างสามารถที่จะสปอนเซอร์ให้เป็นพีอาร์ได้ต่อไป แต่ในวันนี้เราจะมาพูดคุยถึงเฉพาะในส่วนของ Standard Business Sponsorship กันค่ะ เพราะเป็นการพูดถึงการสปอนเซอร์ลูกจ้างในส่วนทั่วๆไป

วีซ่า sc457 แบ่งเป็น 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ

1. Sponsorship —-> 2. Nomination ——> 3. Application

Sponsorship เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการที่ทางนายจ้างจะต้องได้รับการอนุมัติว่าสามารถเป็นสปอนเซอร์ให้ได้ และเมื่อได้รับการอนุมัติแล้ว ตัวนายจ้างก็ต้องยื่น Nomination เพื่อขอสปอนเซอร์ลูกจ้างในตำแหน่งที่ต้องการจะว่าจ้าง และเมื่อ nomination ได้รับการอนุมัติแล้ว ลูกจ้างถึงจะสามารถสมัครวีซ่าเข้าไปได้ จะว่าไปแล้วส่วนสำคัญของการทำวีซ่าตัวนี้จะเน้นหนักไปที่สปอนเซอร์หรือตัวนายจ้าง ถ้าหากสปอนเซอร์ไม่ผ่านการอนุมัติ ต่อให้เค้าอยากสปอนเซอร์เราอย่างไรก็ตาม ก็ไม่สามารถยื่นวีซ่า sc457 ได้ค่ะ

วีซ่านายจ้างสปอนเซอร์ sc457 นี้ งาน 70% ถือเป็นส่วนของนายจ้าง และอีก 30% ถือเป็นของลูกจ้าง

อย่างที่คุณหมอวีซ่ากล่าวไว้แล้วว่า วีซ่าตัวนี้ส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ที่นายจ้าง นายจ้างนั้นจะต้องมีธุรกิจที่ประกอบการในออสเตรเลียอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และอาชีพที่ต้องการจะสปอนเซอร์นั้น (nominated occupation) จะต้องมีอยู่ใน CSOL List (Consolidated Sponsored Occupation List) – https://www.immi.gov.au/skilled/_pdf/sol-schedule1-2.pdf และจะต้องจ่ายเงินเดือนตามอัตราตลาดแรงงานทั่วไป นั่นหมายความว่าจะต้องจ่ายเงินเดือนให้เท่ากับเรทอัตราคนท้องถิ่น และนอกจากนี้เงินเดือนนั้นจะต้องมากกว่าที่ TSMIT (The Temporary Skilled Migration Income Threshold) กำหนด ซึ่งปัจจุบันนี้อัตราเงินเดือนขั้นต่ำอยู่ที่ $51,400 และยังต้องมีการฝึกอบรมให้กับพนักงานอีกด้วย ถ้าหากนายจ้างมีคุณสมบัติตรงที่กำหนดข้างต้น และผ่านทั้งขั้นตอน sponsorship และ nomination ก็สามารถที่จะสปอนเซอร์ลูกจ้างในตำแหน่งงานนั้นๆได้เลยค่ะ

คุณสมบัติทั่วไปของลูกจ้างนั้นโดยทั่วไปจะต้องมีคุณวุฒิ และหรือประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องในตำแหน่งงานที่จะสมัคร และจะต้องสอบ IELTS ให้ได้ขั้นต่ำ 5 ทุกแบนด์ (ในบางอาชีพ) และในบางอาชีพอาจจะต้องมีการทำประเมินคุณสมบัติของผู้สมัคร (skill assessment) ด้วย อันนี้เป็นเพียงคุณสมบัติคร่าวๆเท่านั้นนะคะ ในแต่ละอาชีพก็มีคุณสมบัติขั้นต่ำต่างกันไป เนื่องจากเนื้อที่คอลัมน์มีจำกัด คุณหมอวีซ่าจึงขอยกมาเฉพาะ 3 อาชีพที่เป็นที่นิยมของเด็กไทยกันค่ะ

  1. Restaurant Manager (ANZSCO Code 141111) – น้องๆทั้งหลายที่ส่วนใหญ่เมื่อเดินทางมาถึงออสเตรเลียแล้ว ส่วนใหญ่ก็เลือกทำงานในร้านอาหาร หรือในคาเฟ่ที่เปิดโอกาสให้น้องๆทั้งหลายได้เรียนและทำงานไปในเวลาเดียวกัน ถ้าหากน้องๆทำงานดี ทางร้านก็ยินดีที่จะสปอนเซอร์ลูกจ้างอย่างเราให้ทำงานกับทางร้านต่อไป สำหรับในอาชีพนี้ต้องจบขั้นต่ำดิโพลม่าในสาขาที่เกี่ยวข้องกับอาชีพที่สมัคร และไม่จำเป็นต้องมีผลสอบ IELTS แต่จะต้องได้รับเงินเดือนขั้นต่ำตามที่ TSMIT กำหนด
  2. Marketing Specialist (ANZSCO Code 225113) – ตำแหน่งการตลาดเป็นตำแหน่งที่สำคัญในบริษัท การจะพัฒนาแนวทางการตลาดของแต่ละบริษัทให้เจริญรุดหน้าอย่างไรก็ต้องพึ่งการทำงานของมาร์เก็ตติ้งเหล่านี้ เช่นเดียวกับ Restaurant Manager คุณสมบัติส่วนใหญ่ของ Marketing Specialist นั้นจะต้องจบขั้นต่ำปริญญาตรีในสาขาที่เกี่ยวข้อง และไม่จำเป็นต้องมีผล IELTS ค่ะ
  3. Cook (ANZSCO Code 351411) – อาชีพนี้เป็นอาชีพยอดนิยมจริงๆของเด็กไทย เพราะในปัจจุบันมีร้านอาหารไทยที่เปิดเป็นจำนวนมากมายในออสเตรเลีย และในช่วงนี้ร้านส่วนใหญ่ก็ขาดพ่อครัว แม่ครัวฝีมือดีในการปรุงอาหาร ทำให้ร้านส่วนใหญ่ยินดีที่จะสปอนเซอร์ภายใต้วีซ่า sc457 ให้ทำงานกับทางร้านอาหาร สำหรับทั้ง Cook นั้นจะต้องเรียนจบขั้นต่ำ Certificate III (ในกรณีมีประสบการณ์การทำงาน) หรือ Certificate IV ในสาขา cookery นอกจากนี้จะต้องสอบ IELTS ขั้นต่ำให้ได้ 5 ทุกแบนด์ และจะต้องผ่านการประเมินคุณวุฒิกับทาง Trades Recognition Australia ก่อนค่ะ

ข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงข้อมูลคร่าวๆของวีซ่า sc457 ในรายละเอียดของวีซ่านั้นยังมีอีกอยู่มาก สำหรับผู้อ่านท่านไหนที่ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.immi.gov.au/skills/skillselect/index/visas/subclass-457/

งาน Partner เพิ่งจะผ่านพ้นไปหยกๆ แต่ช่วงนี้มีหลายๆท่านสอบถามเรื่องทางซีพี ซิดนีย์ ก็ขอเชิญชวนพี่ๆน้องๆ ผู้อ่านทั้งหลายมาร่วมงาน Working Visa Seminar – อยากทำวีซ่าทำงาน ทำอย่างไร ในวันพุธที่ 13 และวันเสาร์ที่ 16 มีนาคม ในเวลา 14.00 – 16.00 ที่ออฟฟิศซีพี ซิดนีย์ – Suite 1, Level 6, 377-383 Sussex Street, Sydney ร่วมตอบปัญหาทุกเรื่องราวที่เกี่ยวกับวีซ่าทำงาน อยากได้รับการสปอนเซอร์ทำอย่างไร มีอาชีพอะไรที่สปอนเซอร์ได้บ้าง สปอนเซอร์แล้วได้พีอาร์เลยมั้ย สปอนเซอร์ตัวเองได้มั้ย เรียน cookery มาแล้วทางร้านอยากสปอนเซอร์ มาร่วมฟังคำตอบทุกคำถามเกี่ยวกับวีซ่าทำงานได้ที่งานนี้เลยค่ะ สำรองที่นั่งได้ที่ 02-9267-8522 อีเมล migration@cpinternational.com หรือ www.facebook.com/cpsyd

มีคำถามเกี่ยวกับการสมัครหรือสถานะวีซ่าออสเตรเลียของคุณ? ต้องการสมัครเพื่อศึกษาต่อ ทำงาน หรืออาศัยอยู่ในออสเตรเลีย? สามารถขอคำแนะนำจากทีมคุณหมอวีซ่าได้ที่: