16 October 2013

สวัสดีค่ะ กลับมาพบกันกับคุณหมอวีซ่าอีกครั้ง    คุณหมอวีซ่าเองก็เขียนเล่าเรื่องวีซ่ามาหลากหลายประเภท ทั้งวีซ่านักเรียนทุกประเภท วีซ่าทำงานประเภทต่างๆ วีซ่าทักษะ วีซ่าธุรกิจ ท่องเที่ยว คู่ครอง พ่อแม่ ลูก กระทั่งวิธีช่วยแก้ปัญหาหาทางออกให้กับผู้ที่วีซ่าโดนปฏิเสธหรือถูกยกเลิกมา รวมทั้งที่โดนลงทัณฑ์สั่งห้ามเข้าออสเตรเลียภายในสามปี เป็นต้น สารพัดรูปแบบและเรื่องราวของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกันอย่างที่ฝรั่งพูดว่า “different walks of life” แต่คิดว่าน่าจะก็ไม่ค่อยได้เขียนถึงการได้พีอาร์ที่สืบเนื่องมาจาก “Family Violence”  หรือถ้าเป็นภาษาไทย ก็จะเรียกว่า การได้พีอาร์ที่มาจากความรุนแรงในครอบครัวซะที    จริงๆเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนนะคะ โดยเฉพาะกับหญิงไทย ไม่ว่าจะเป็นหญิงแท้หรือสาวประเภทสอง หรือชายไทยที่วาดภาพการพบรักในต่างแดนไว้อย่างสวยงามอย่างในนวนิยาย แต่พอมาเจอสภาพจริงเข้า มิได้เป็นอย่งภาพในความฝันที่วาดไว้เลย คุณหมอวีซ่าเองก็ได้เจอลูกค้าจำนวนมากมายที่ได้เจอแฟนแล้วก็ตัดสินใจแต่งงาน หรือกินอยู่ร่วมกัน ใหม่ๆก็อาจจะหวานชื่นดั่งดื่มน้ำผึ้ง  แต่ผลสุดท้ายพออยู่ๆกันไปสักพัก สภาวะในครอบครัวกลับเปลี่ยนไป ฝ่ายสปอนเซอร์ที่จะเป็นชายหรือฝ่ายหญิงก็ตามกลับมากระทำชำเราไม่ว่าจะเป็นการทำร้ายทางร่างกายโดยตบตีเราบ้าง หรือทางจิตใจโดยทำทุกข์ทรมาณจิตใจเราบ้าง โดยที่ตัวเราเองก็ตกเป็นผู้รับเคราะห์โดยไม่รู้สาเหตุ อะไรทำให้คนเราเปลี่ยนไปได้ขนาดนี้ ไม่มีคำอธิบาย……

มีหลายๆสาเหตุที่ทาง Immigration ถือเป็นสาเหตุของ Family Violence ค่ะ

วันนี้คุณหมอวีซ่าจึงขอยกเรื่องนี้มาบอกกล่าวท่านผู้อ่านกัน

น้องๆ ที่เข้ามาขอคำปรึกษากับทางซีพีฯในเรื่องของ domestic violence นั้น โดยส่วนใหญ่ ไม่คิดว่าตัวเองจะขอพีอาร์ได้ เพราะคนโดยส่วนใหญ่ได้รับคำบอกกล่าวและเชื่อว่า เมื่อวีซ่าคู่ครองในขั้นแรก [Partner Visa (Temporary)]  ผ่านแล้ว จะต้องถือวีซ่าคู่ครองชั่วคราวตัวนี้ไปครบ 2 ปี และแฟนก็ยังต้องยินดีเซ็นใบสปอนเซอร์อย่างต่อเนื่องให้ ถึงจะมีสิทธิ์ได้วีซ่าในขั้นที่สองที่เป็นวีซ่าถาวร (PR or Permanent Resident) ต่อไป แต่ว่าถ้าหากความสัมพันธ์สิ้นสุดลงก่อน หรือฝ่ายสปอนเซอร์ตัดสินใจส่งจดหมายไปแจ้งอิมฯขอยกเลิกการสปอนเซอร์ ก็จะทำให้ตัวเองหมดโอกาสในการอยู่ต่อในออสเตรเลีย   ตอนพอแต่งงานน้ำต้มผักก็ยังว่าหวาน  โลกเป็นสีชมพู  แต่พออยู่ไปเรื่อย ๆ ทำไมโลกสีหม่นๆ น้ำต้มผักชักรสชาติไม่อร่อย บางวันกินข้าวคลุกเลือด  นอนซดน้ำข้าวต้มอยู่กะบ้าน  แต่ก็ต้องทนต่อไปเพื่อคำว่า “พีอาร์” คำเดียว จำเป็นไหมที่น้องๆที่รับทุกข์เหล่านี้จะต้องกลืนความขมเพื่อความอยูรอดของตน และหลายราย ก็ “เพื่ออนาคตของลูก” ความเสียสละของคนที่เป็นพ่อหรือแม่ เหล่านั้น คุณหมอวีซ่าคุยด้วยและพบมามากต่อมากแล้ว บางกรณีก็อดไม่ได้ที่จะหลั่งน้ำตาให้กับเรื่องราวที่เล่ามาอย่างน่าสงสาร  ดังนั้น คุณหมอวีซ่าจึงอยากเรียบเรียงเขียนเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับการได้วีซ่า PR ที่เกิดจากความรุนแรงในครอบครัว หรือ Family Violence Provisions  เพื่อให้ความหวัง และส่องแสงสว่างให้กับผู้รับเคราะห์ที่ไม่ว่าจะเป็นภรรยา สามี หรือคู่รักเพศเดียวกันก็ตามว่าเราไม่จำเป็นต้องทนอยู่ให้เขาทรมาณร่างกายและย่ำยี่จิตใจเราจนพังทลายเช่นนั้น กฎหมายออสเตรเลียให้ความคุ้มครองและมีทางออกให้เสมอค่ะ อย่าเพิ่งสิ้นหวังกันนะคะ…

Family Violence Provisions (บทบัญญัติว่าด้วยความรุนแรงในครอบครัว)

ตั้งขึ้นมาเพื่ออนุญาตให้ผู้สมัครที่ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัว สามารถสมัครขอพีอารได้ ถึงแม้ว่าจะโดนถอนสปอนเซอร์หรือความสัมพันธ์กับ Australian PR/citizen ที่เป็นสปอนเซอร์ให้ได้จบลงไปแล้วก็ตาม   ผู้ที่สามารถสมัครพีอาร์ภายใต้กฎข้อนี้ได้ จะต้องเป็นผู้ที่สมัครที่ได้วีซ่าชั่วคราวมาและกำลังรอสองปีที่จะข้ามฝั่งไปวีซ่าประเภทต่อไปนี้ค่ะ

ประเภทครอบครัว

  • Partner (permanent) (subclass 100) visa
  • Spouse (permanent) (subclass 100) visa*
  • Interdependency (permanent) (subclass 110)*
  • Partner (temporary and permanent) (subclasses 820/801) visas
  • Spouse (temporary and permanent) (subclasses 820/801) visas*
  • Interdependency (temporary and permanent) (subclasses 826/814)*.

ปะเภทวีซ่าทำงาน หรือธุรกิจ โดยผู้สมัครนั้นจะต้องเป็นคู่ครองของผู้ที่ถือวีซ่าต่อไปนี้

  • Established Business in Australia (subclass 845)*
  • State/Territory Sponsored Regional Established Business in Australia (subclass 846)*
  • Labour Agreement (subclass 855)*
  • Employer Nomination Scheme (subclass 856)*
  • Regional Sponsored Migration Scheme (subclass 857)*
  • Distinguished Talent (subclass 858).

วีซ่าที่มี * ต่อข้างท้าย ถือเป็นวีซ่าที่ไม่เปิดรับสมัครแล้วนะคะ

น้องๆส่วนใหญ่ที่เข้ามาปรึกษามักจะเป็นผู้ที่ถือวีซ่าคู่ครองซะมากกว่า หลักฐานชิ้นหลักที่ทางอิมมิเกรชั่นต้องการในการยื่นขอพีอาร์จาก Family Violence ก็คือ Apprehended Violence Order (AVO) และหรือคำสั่งศาล เอกสารชิ้นนี้จะคล้ายๆว่า ผู้กระทำหรือสปอนเซอร์นั้นได้กระทำความรุนแรงกับเรา ทางศาลจะเป็นผู้ออกโดยทางตำรวจจะต้องเป็นฝ่ายดำเนินการแจ้งเรื่องไปก่อน  เอกสารทั้งสองฉบับนี้ทางอิมมิเกรชั่นเรียกว่า judicial Evidence  หรือเป็นหลักฐานตามกฎหมาย  แต่ถ้าไม่สามารถหาหลักฐานตามข้างบนได้ ก็ต้องมีหลักฐานประเภท non-judicial evidence หรือหลักฐานที่ไม่ได้มาจากศาลสั่ง/ หรือผ่านการพิจารณาคดี ก็ต้องมีรายงานอย่างน้อย 2 ฉบับจาก competent person (หรือบุคคลที่มีสิทธิประเมินตามที่กฎหมายกำหนด) ไม่ว่าจะเป็นนักสังคมสงเคราะห์ จิตแพทย์ ตำรวจ แพทย์ และอื่นๆ ก็ตามตาม list อาชีพที่อิมฯกำหนดมาให้

หลายๆคนไม่กล้าที่จะยื่นขอวีซ่าตัวนี้  เพราะว่าบางทีก็อาย บ้างก็กลัวไม่รู้ว่าฝ่ายชายหรือหญิงจะมาดักทำร้ายเรา หรือมากลั่นแกล้งเราต่อไปหรือเปล่า  คุณหมอวีซ่าขอบอกตรงนี้เลยว่า อย่าไปกลัวค่ะ  ไม่มีทางที่ใครจะมาทำร้ายเราได้  บางคนขู่ถึงเรื่องจะยกเลิกวีซ่า แล้วบอกว่าจะส่งกลับบ้าน หรือไม่ก็จะปล่อยให้อยู่เป็นผีอย่างไม่มีชีวิตที่ดีที่ประเทศนี้ได้เลย อะไรทำนองนั้น  แต่คุณหมอวีซ่าบอกว่า ไม่ต้องกลัวนะคะ กฎหมายที่นี่คุ้มครองเราพอสมควรเลยค่ะ ตราบใดก็ตามที่เรายังไม่ได้รับจดหมายจากอิมมิเกรชั่นอย่างเป็นทางการ ใครก็ไม่สามารถไล่เรากลับได้ค่ะ  เรายังมีโอกาสในการทำงาน และอยู่ที่นี่ต่อได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายค่ะ

ตัวอย่างเคสของน้องชมพู่ (นามสมมุติ) ที่เกิดขึ้นจริงเมื่อเกือบสองปีมาแล้ว มาปรึกษากับคุณหมอวีซ่าเรื่องโดนแฟนทำร้ายร่างกาย  นอกจากนี้ยังโดนทำร้ายจิตใจ  น้องชมพู่นอกจากจะโดนให้ออกไปทำงานหนักหาเงินเพื่อส่งเสียสปอนเซอร์ อันนี้เพื่อความรัก น้องชมพู่ก็ยอมลำบาก ไม่ว่ากัน ทำงานก็ทำงานทั้งงานนอกงานในจนเหนื่อยสุดๆ ผอมกะจ่อยร่อยเหลือตัวนิดเดียว แต่ที่แสบคือแทนที่เขาจะซึ่งใจกับความรักความอุทิศตนของน้องชมพู่ เขากลับแอบไปนอนกับผู้หญิงคนอื่น แล้วไล่น้องชมพู่ไปนอนนอกบ้าน สร้างความเจ็บช้ำน้ำใจให้กับน้องชมพู่เป็นอย่างมาก   วันหนึ่งน้องชมพู่กับแฟนบินกลับไทยไป Holiday เพื่อสมานความสัมพันธ์  แต่ขากลับแฟนฝรั่งนี่ดันหนีกลับออสเตรเลียมาซะก่อน ขนข้าวของย้ายออกจากบ้านโดยไม่บอกกล่าวกันเลย หายหัวไปไหนก็ไม่ทราบ สงสารน้องชมพู่ก็ร้องหายตามหาแฟนไปทุกที่ แล้วก็ไม่สามารถตามหาแฟนเจอ  ติดต่อไม่ได้เลย โดกเศร้าเสียใจมาก
และแล้วอยู่มาวันหนึ่ง น้องชมพู่ก็ได้รับจดหมายจากทางอิมมิเกรชั่นว่าสปอนเซอร์ขอยกเลิกสปอนเซอร์ ให้อธิบายความว่าอะไรเกิดขึ้นก่อนที่อิมฯจะถอนวีซ่า น้องชมพู่เลยมาปรึกษากับคุณหมอวีซ่าที่ CP Sydney ว่ามีทางไหนที่จะช่วยให้อยู่ต่อได้ เพราะยังมีพันธะติดอยู่อีกมากทั้งงานทั้งลูกที่บ้านที่ต้องเลี้ยงดู ทั้งพ่อแม่ที่ตนรับผิดชอบอยู่ทางเหนือโน่น พอคุยไปคุยมาถึงรู้ว่าชีวิตของน้องชมพู่นั้นน่าสงสารนัก ทั้งโดนทำร้าย ข่มขู่ และด่าทอ  ซึ่งเคสของน้องชมพู่นั้นเข้าข่าย domestic violence คุณหมอวีซ่าเลยยื่นพีอาร์ให้ภายใต้ domestic violence provisions และปัจจุบันนี้น้องชมพู่ก็ได้พีอาร์แล้วเรียบร้อย  แถมคุณหมอวีซ่ายังแนะนำให้น้องชมพู่สมัครพีอาร์ให้ลูกน้อยอีก 2 คนที่ไทยให้มาอยู่ออสเตรเลียด้วยกัน  – Happy ending ค่ะ…
ทุกครั้งที่ได้ทำ domestic violence และช่วยลูกค้าได้สำเร็จ เปลี่ยนชีวิตของคนๆหนึ่งให้ดีขึ้นได้ ดั่งเปลี่ยนหินให้เป็นเพชร ดึงเขาจากแดนทุกข์ให้ข้ามฝั่งไปอยู่แดนสุขได้  คุณหมอวีซ่าจะปลื้มใจจนบอกไม่ถูก ที่เราได้ใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่สั่งสมมานานปี ในการช่วยให้บุคคลเหล่านั้นได้วีซ่าและมีชีวิตที่ดีขึ้น หมดทุกข์ หมดโศก หมดเวรหมดกรรมกับคนที่ทำเขาซักที เหมือนถ้าสามารถช่วยฉุดให้ขึ้นสวรรค์ได้ก็จะช่วยอะค่ะ

สำหรับน้องๆคนไหนที่กำลังประสบปัญหาเช่นน้องชมพู่ โดยความรุนแรงในครอบครัวนั้น ก็มาได้หลายรูปแบบ อย่างเช่น ผัวขี้เมามาตบมาตี ด่าเราหยาบๆคายๆด้วยวาจา ติดการพนัน ติดหญิงหรือชายใหม่ ขโมยเงินเราไปหมด จับเราขังในห้องในบ้าน จำกัดอิสรภาพของเรา ไล่เราออกจากบ้าน สารพัดรูปแบบของการทรมาณ ก็อาจขอความคุ้มครองไปที่สถานทีตำรวจ หรือ Victim Services ของในแต่ละรัฐก็ได้ค่ะ  แต่ถ้าประสบปัญหาในเรื่องภาษา ก็สามารถติดต่อมายังซีพีฯก็ได้ค่ะ คุณหมอวีซ่าและทีมงานยินดีช่วยเหลือเสมอค่ะ  จริงอยู่ว่าเรื่องความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องละเอียดอ่อน  แต่บางครั้งการที่เราต้องทนให้เค้าทำร้ายไปตลอด มันก็อาจจะไม่คุ้มกันนะคะ
ก่อนจะจากกันไป คุณหมอวีซ่าขอยกข้อความที่คุณมะเหมี่ยว (นามสมมุติ) ได้เขียนจดหมายมาขอบคุณที่ทีมงานซีพีฯได้ช่วยให้เขาได้พีอาร์จากกรณี Domestic Violence   ค่ะ

My Future My CP

ความรักนั้นเป็นสิ่งที่สวยงาม แต่บางครั้งนั้นก็ทำให้เราเจ็บปวดอย่างที่สุด ประสบการณ์นั้นเกิดขั้นกับตัวเองเมื่อได้เจอกับแฟนหนุ่มชาวออสซี่ และได้คบหาดูใจกันเป็นระยะเวลาเกือบปี จนเราทั้งสองตัดสินใจที่จะทำวีซ่า De – facto เพื่อที่เราจะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันที่ซิดนีย์ หลังจากที่เราใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน หลังจากได้ Temporary Resident ประมาณ 1 ปี เค้าก็ใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป ไม่มีความรับผิดชอบ ขึ้โมโห หงุดหงิด และมีเรื่องเกี่ยวกับคนที่สามเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ และทุกครั้งที่มีปัญหากัน เค้าก็จะขู่ว่าจะเลิก และยกเลิกวีซ่าที่ทำไว้ด้วยกัน แต่ตัวเราเองนั้นยังรักเค้า และพยายามที่จะประคับประคองความรักให้ได้นานที่สุด แต่เหตุการณ์ก็แย่ลง และถึงจุดแตกหักเมื่อเราได้รับรู้ว่าเค้าพามือที่สามมาทำสิ่งที่ไม่ดีในบ้านของเรา และมีปากเสียงกันอย่างรุนแรง จากนั้นสิ่งที่ไม่เคยคาดคิดว่าจะเกิดขึ้นกับตนเองก็เกิดขึ้น เมื่อเค้าได้ทำร้ายร่างกาย และข่มเหงจิตใจเป็นที่สุด ตอนนั้นได้ปรึกษากับเพื่อนๆที่ทำงาน ซึ่งก็ได้รับคำแนะนำว่าไปแจ้งตำรวจ แต่หลังจากที่ได้แจ้งความและปรึกษากับตำรวจแล้วน้ัน กระบวนการก็คือทางตำรวจจะต้องส่งเรื่องไปยังศาล และตัวเราเองและเค้าต้องไปรับฟังคำสั่งของศาลด้วย เพราะเหตุการณ์นี้ค่อนข้างรุนแรง และเกี่ยวข้องกับเรื่องของ Domestic Violence ซึ่งหลังจากที่เค้ารู้แล้ว เค้าก็โกรธมากและได้ตกลงใจที่จะเลิกกับเรา  แล้ววีซ่าของเราล่ะ อนาคตการงานของเราที่นี่ สังคมของเราที่นี่ เราจะต้องกลับเมืองไทยใช่มั้ย”  ตอนนั้นมันมืดแปดด้าน คิดอะไรไม่ออกเลย

จนได้รู้จักเพื่อนคนหนึ่งซึ่งได้แนะนำว่าลองมาปรึกษาที่ CP ดู เพราะว่าที่นี่เค้าเก่งและให้คำปรึกษาที่ตรงไปตรงมา ตัวเราเองก็ไม่รีรอ รีบเข้ามาปรึกษาทันที ก็ได้มาเจอกับน้องต๊อบ และคุณหมอวีซ่า ทั้งสองคนมีอัธยาศัยดีมาก และให้คำปรึกษาที่ทำให้ตัวเองเห็นทางสว่างอีกครั้ง  เมื่อ CP บอกว่าเราสามารถยื่นขอ Permanent Residence ภายใต้เงื่อนไขของ Domestic Violence ได้ หลังจากนั้นก็ได้ตกลงที่จะให้ CP เป็นผู้ดำเนินการในเรื่องเอกสารทั้งหมด เพราะว่าตัวเราเองนั้นค่อนข้างยุ่งและไม่มีความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนและเอกสารใดๆเลย  CP ใช้เวลาในการดำเนินการอย่างรวดเร็ว และมืออาชีพมากๆ ตัวเองนั้นได้แต่นำเอกสารต่างๆมาให้เท่านั้นเอง และหลังจากนั้นไม่ถึงหนึ่งเดือนหลังยื่นเอกสารไปยัง Immigration ตัวเองก็ได้รับข่าวดีที่สุดอีกครั้งหนึ่งในชีวิต หลังจากที่ต้องอยู่ในความมืดมนกับความรักที่ไม่สมหวัง และทำร้ายจิตใจของเรามาเป็นระยะเวลานาน   ต้องขอบคุณที่ CP ช่วยให้ได้พีอาร์ค่ะ!

มีคำถามเกี่ยวกับการสมัครหรือสถานะวีซ่าออสเตรเลียของคุณ? ต้องการสมัครเพื่อศึกษาต่อ ทำงาน หรืออาศัยอยู่ในออสเตรเลีย? สามารถขอคำแนะนำจากทีมคุณหมอวีซ่าได้ที่: