11 May 2015

สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่านทุกท่าน กลับมาพบกับคุณหมอวีซ่าอีกครั้งประจำฉบับกลางเดือนพฤษภาคมนี้ ตอนนี้อากาศที่ซิดนีย์ก็หนาวขึ้นเรื่อยๆนะคะ เมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมา Sydney ก็โดนพายุลูกเห็บกระหน่ำ จนหลายเขตขาวเหมือนหิมะตก เด็กๆออกมาเล่นปั้นก้อนลูกเห็บกันซะสนุกสนานไปเลย จะเรียกว่า “Winter is here” ก็ได้นะคะ ช่วงนี้มีแต่คนไม่สบาย ยังไงก็ระวังรักษาสุขภาพบ้างนะคะ คุณหมอวีซ่าเป็นห่วงทุกคนค่ะ

เมื่อวานนี้คุณหมอวีซ่าได้มีโอกาสไปร่วมพิธีเปิดตัว Macquarie Univeristy International College (MUIC) ภายในบริเวณวิทยาเขตอันร่มรื่นสวยงามของมหาวิทยาลัย Macquarie University ใน Sydney มา ซึ่งสมัยก่อนมีชื่อเรียกว่า Sydney Institute of Business and Technology (SIBT) และดำเนินการโดย NAVITAS มาก่อน ตั้งแต่ปี คศ 2016 เป็นต้นไป ทางมหาวิทยาลัย Macquarie ได้เปลี่ยนการบริหารของทางวิทยาลัย SIBT โดยรับกลับมาดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยเองและตั้งชื่อใหม่เป็น MUIC ซึ่งเปิดสอนหลักสูตรเตรียมอุดมศึกษา หรือที่เรียกว่า Foundation Studies สำหรับนักเรียนที่จบระดับมัธยมปลายจากทั่วโลก รวมที่จบ ม.6 จากไทย เพื่อมาเรียนภาษา + Foundation 1 ปีก่อนเข้าเรียนในหลักสูตรปริญญาตรีปี 1 ใน Macquarie University นอกจากนี้ที่ MUIC ยังเปิดสอนหลักสูตร Diploma ที่เมื่อเรียนจบแล้ว นักเรียนสามารถเข้าเรียนต่อปี 2 ของระดับปริญญาตรีใน Macquarie University ได้โดยตรงเลย คุณหมอวีซ่าเห็นว่าเป็นช่องทางช่วยเด็กไทยให้มีโอกาสฝึกทักษะทางภาษา อีกอย่าง นักเรียนที่จบ ม.6 มาจากไทยทั่วไปจะไม่สามารถเข้าปี 1 ในมหาวิทยาลัยของออสเตรเลียโดยตรงเลยได้ การเรียนหลักสูตรเตรียมอุดมฯตรงนี้จึงเป็นสะพานเชื่อมให้นักเรียนสามารถเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยชื่อดังที่มีคุณภาพการศึกษาเป็นเยี่ยมได้ จึงอยากนำข่าวดีตรงนี้มาบอกเล่าให้ฟังกันนะคะ

ช่วงนี้สถาบันการศึกษาในออสเตรเลียแข่งกันเน้นเรื่องคุณภาพการศึกษามาเป็นหลัก หากท่านผู้อ่านท่านใดมีโอกาสดูรายกายสารคดี Four Corner ในช่อง ABC ของรัฐฯ เมื่อสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ ก็จะเข้าใจว่าทำไมรัฐบาลออสเตรเลียถึงมีนโยบายให้สถาบันการศึกษาเน้นคุณภาพทางการศึกษา และ ไม่ให้ไปเน้นเรื่องราคากับการจ่ายคอมมิชชั่นสูงๆให้กับเอเย่นการศึกษาจนกลายเป็นธุรกิจอย่างโจ่งแจ้งจนเปิดช่องทางให้เกิดการคอรัปชั่นขึ้นระหว่างเจ้าหน้าที่สถาบันกับเอเย่นในประเทศต่างๆ ขึ้นมากมาย โดยเฉพาะเอเย่นในประเทศจีนที่ถูกเอ่ยนามหลายเจ้าที่รายการ Four Corner ไปแอบเป็นนักสืบมา เมื่อเกิดเรื่องแบบนี้เข้า ตอนนี้ทางสถาบันและมหาวิทยาลัยทุกแห่งก็ต้องเริ่มตื่นตัว ควบคุมเอเย่นที่ตนแต่งตั้งไปให้ทำงานอย่างซื่อตรง และทำเพื่อผลประโยชน์ของนักเรียน ไม่ใช่เพื่อกระเป๋าตัวเองมาเป็นหลัก ทั้งนี้และทั้งนั้น ที่น่าเป็นห่วง ก็คือในเมื่อเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้น ก็ไม่ทราบว่าจะมีการเปลี่ยนกฎเกณฑ์วีซ่านักเรียนกันให้ยากขึ้นอีกไหม อันนี้ก็ต้องรอดูกันต่อไปนะคะ

เนื่องจากวีซ่านักเรียนต่อกันยากขึ้น ช่วงนี้วีซ่าทำงานที่เรียกว่า sc457 จึงเป็นที่ฮอตฮิต นับตั้งแต่อิมมิเกรชั่นประกาศลดระดับผล IELTS วีซ่าทำงานทำยากและซับซ้อนกว่าวีซ่านักเรียนเยอะ ดังนั้น ใครที่อยากสอบถามเรื่องวีซ่าทำงานหรือนายจ้างสปอนเซอร์ก็เป็นโอกาสแล้ว สามารถโทรมาสอบถามที่ซีพี อินเตอร์ฯ ได้ทุกสาขาเลยนะคะ

นอกจากวีซ่าทำงานแล้ว อีกหนึ่งวีซ่าที่มีคนสอบถามผ่านทีมงานคุณหมอวีซ่ามาบ่อยมากในช่วงนี้ก็คือ วีซ่าคู่ครอง หลายๆคนมักจะขอวีซ่ามาเป็นคู่ ซึ่งบ้างก็รวมครอบครัวลูกๆ สำหรับคู่สามี-ภรรยาก็ง่ายหน่อยในการขอเอกสาร เพราะอย่างน้อยก็มีทะเบียนสมรสในการประกอบยื่นวีซ่า แต่สำหรับคู่ de-facto นั้นหลายคนยังงงอยู่เพราะต้องใช้หลักฐานหลายอย่างในการประกอบการยื่นวีซ่า ซึ่งๆหลายคู่คิดว่าแค่รูปถ่ายอย่างเดียวก็เพียงพอแล้ว หรือบางคนแค่คิดว่าจดทะเบียนความสัมพันธ์บวกเก็บเอกสารอีก 2 เดือนก็ยื่นวีซ่าได้แล้ว คุณหมอวีซ่าขอบอกว่านี่เป็นความเชื่อที่ผิดและทำให้ application ของผู้ยื่นมีความเสี่ยงสูงต่อการโดนปฏิเสธ ในวันนี้คุณหมอวีซ่าจึงอยากขออธิบายถึงความสัมพันธ์ de-facto และวิธีการเก็บเอกสารสำหรับยื่นวีซ่าให้เข้าใจกันค่ะ

De-facto relationship คืออะไร

พูดง่ายๆ ก็คือความสัมพันธ์ฉันท์สามาภรรยาของคู่รักทั้งหลาย ทั้งคู่ต่างเพศและคู่เพศเดียวกันที่อยู่ด้วยกันในบ้านหลังเดียวกัน ใช้เงินร่วมกัน ใช้ชีวิตร่วมกันฉันท์สามี-ภรรยา โดยไม่ได้มีทะเบียนสมรสมาเป็นตัวบอกสถานะความสัมพันธ์เหมือนคู่สามีภรรยา เช่นคู่แฟนทั้งหลายที่อยากลองใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันก่อนจะแต่งงาน หรือในบางคู่ที่ยังไม่พร้อมจะแต่งก็อยู่ด้วยกันก่อน หรือในคู่เพศเดียวกันที่ยังไม่มีกฎหมายมารองรับก็ต้องถือเป็นความสัมพันธ์ฉันท์สามีภรรยา หรือที่ภาษาฝรั่งเรียกว่า “de-facto” นั่นเอง

ท่านผู้อ่านทั้งหลายจะเห็นว่ากฎหมายออสเตรเลียอนุญาตให้ผู้ที่มีความสัมพันธ์ฉันท์สามี-ภรรยาสามารถยื่นวีซ่าติดตามกันได้ ไม่ว่าจะเป็นวีซ่านักเรียน วีซ่าทำงาน วีซ่าพีอาร์ทั้งหลาย รวมทั้งวีซ่าคู่รัก หรืออีกนัยหนึ่ง คือ คนที่มีความสัมพันธ์แบบ de-facto นี้ สามารถยื่นติดตามผู้ถือวีซ่าหลักได้ทุกประเภท ทั้งวีซ่านักเรียน วีซ่าทำงาน หรือ ยื่นเป็น Partner Visa ที่มี PR หรือ Australian Citizen สปอนเซอร์ก็ได้

การเก็บหลักฐานความสัมพันธ์

เนื่องจากความสัมพันธ์แบบ de-facto ไม่ได้มีทะเบียนสมรสมาเป็นหลักฐานสำคัญในการประกอบยื่นวีซ่า เพราะฉะนั้นการจะพิสูจน์ความสัมพันธ์จึงจำเป็นจะต้องใช้เอกสารต่างๆ ประกอบ ซึ่งหลักๆ จะเป็นเอกสารที่แสดงถึงความสัมพันธ์ทางด้านการเงิน (financial aspect) สังคม (social aspect) สภาพทางบ้าน (nature of household) และพันธะระหว่างกัน (commitment) ไม่ว่าจะเป็นการเปิดบัญชีร่วมกัน เช่าบ้านด้วยกัน มีสัญญาเงินกู้ ทำบัตรประกันสุขภาพ หรือประกันชีวิตเป็นชื่อคู่ มีเอกสารส่งมาที่อยู่เดียวกัน มีการแจ้งกรมภาษีว่าคนนี้เป็นคู่รักเรา มีการทำกิจกรรมร่วมกันทั้งกับครอบครัวและเพื่อนๆ มีบินไปประเทศหรือเมืองต่างๆ และอื่นๆ มีแผนในอนาคตร่วมกัน และที่สำคัญความสัมพันธ์เป็นที่ยอมรับจากคนภายนอก

มีเอกสารมากมายที่สามารถใช้ประกอบความสัมพันธ์ de-facto นะคะ แต่หลายคนคิดแค่ว่ามีรูปถ่ายประกอบก็เพียงพอแล้ว ซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่นะคะ หากมีเพียงแค่รูปถ่ายหรือจดหมายส่งไปบ้านเดียวกันฉบับเดียว อย่างนี้หลักฐานอ่อนมาก อาจไม่สามารถพิสูจน์ความสัมพันธ์แบบ de-facto ได้ผ่านการพิจารณาของเจ้าหน้าที่อิมมิเกรชั่นได้นะคะ อย่างนี้ถือเป็นความสัมพันธ์แบบคู่รักซะมากกว่า ทำนองเดียวกับเวลาเราไม่สบาย เราก็ไปให้หมอผู้เชี่ยวชาญตรวจรักษาให้ถูกวิธี จะได้ไม่เกิดโรคซับซ้อนตามมาภายหลัง การทำวีซ่าก็เหมือนกัน หากไม่รู้กฎจริงจัดเอกสารผิดๆถูกๆโดนปฏิเสธมาครั้งหนึ่ง เป็นสิ่งที่แก้กันลำบากในอนาคต เพื่อความชัวร์ สามารถเข้ามาปรึกษา ทีมงานซีพีฯเพื่อข้อมูลที่ถูกต้องจะดีกว่านะคะ

บ่อยครั้งทีมงานคุณหมอวีซ่าจะได้รับสายโทรศัพท์ โทรมาสอบถามการยื่นวีซ่าโดยใช้ความสัมพันธ์ de-facto บางคนบอกมีเอกสารร่วมกัน 1-2 เดือนยื่นได้มั้ยคะ บางคนโทรมาถามว่าแฟนอยู่เพิร์ธ แต่ตัวเองอยู่ซิดนีย์ยื่นได้มั้ยคะ หลายๆคนสงสัยตรงนี้มาก ซึ่งคุณหมอวีซ่าขอตอบตรงนี้เลยว่า ความสัมพันธ์ de-facto หมายถึงคน 2 คนอยู่ด้วยกันฉันท์สามี-ภรรยาแทบจะตลอด 24/7 หรือถ้าห่างกันก็เป็นเพียงแค่ชั่วคราว เช่นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปเที่ยวเมืองไทย 2 อาทิตย์แล้วบินกลับมา แต่ในกรณีของน้องคนนี้ที่อยู่ห่างกันแทบจะตลอดเวลา อย่างนี้ไม่ถือเป็นความสัมพันธ์ de-facto อย่างนี้เรียกว่าความสัมพันธ์แบบคู่รักค่ะ และการเก็บเอกสารเพียงแค่ 2 เดือน ถือว่าไม่เพียงพอเช่นเดียวกันค่ะ

หลายๆคนสงสัยในเรื่องของหลักฐานการกินอยู่ว่าจะต้องเก็บเป็นเวลานานเท่าไรถึงจะยื่นเรื่องได้ แล้วเราต้องใช้เอกสารอะไรเวลายื่น

ขอชี้แจงว่าสำหรับคู่ De-facto นั้นจะต้องมีหลักฐานการกินอยู่ร่วมกัน 12 เดือนขึ้นไปถึงจะสามารถยื่นได้ หากความสัมพันธ์ไม่ถึง 12 เดือนก็สามารถที่จะไปจดรับรองความสัมพันธ์ยังสำนักทะเบียนในรัฐนั้นๆเพื่อประกอบการยื่นแบบความสัมพันธ์ de-facto นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีนะคะที่อิมมิเกรชั่นอนุญาตให้ผู้ที่มีทะเบียนความสัมพันธ์ยื่นขอ waive ความสัมพันธ์ 12 เดือน ตามกฎหมายที่ระบุใน Registered Relationships Regulations 2008 หรือระเบียบเรื่องการจดทะเบียนความสัมพันธ์ ค.ศ. 2008

ถ้าหากท่านผู้อ่านที่อาศัยอยู่ในซิดนีย์อยากจะจดรับรองความสัมพันธ์ ก็ต้องไปจดที่ Registry of Births, Deaths and Marriages ยกเว้นแต่ผู้ที่อาศัยอยู่ใน Western Australia และ Northern Territory ที่ยังไม่มีกฎหมายนี้ค่ะ แต่อย่างไรก็ตามไม่ใช่ว่ามีทะเบียนความสัมพันธ์แล้วจะยื่นได้เลยนะคะ ทะเบียนความสัมพันธ์มีไว้ช่วยในกรณีผู้ที่เก็บเอกสารไม่ถึง 12 เดือน แต่อย่างไรก็ยังต้องมีการเก็บเอกสารความสัมพันธ์ประกอบด้วยอีกอย่างน้อย 6 – 9 เดือนค่ะ

เพราะฉะนั้นเมื่อท่านผู้อ่านทราบอย่างนี้แล้ว ก็คงพอจะทราบวิธีในการเก็บเอกสารความสัมพันธ์นะคะ ท่านผู้สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.immi.gov.au/media/fact-sheets/35relationship.htm#c การเก็บเอกสารความสัมพันธ์ควรจะเริ่มเก็บแต่เนิ่นๆ ไม่ใช่ว่าวีซ่ากำลังจะหมดอีก 3 เดือน หรือ 2 อาทิตย์แล้วเพิ่งจะมาหา ต่อให้เป็นคุณหมอวีซ่าก็อาจจะช่วยไม่ไหวนะคะ หากสงสัยถึงวีธีการเก็บเอกสาร สามารถโทรมาที่ 02-9267 8522 ได้เลยค่ะ ทีมงานซีพี อินเตอร์ฯ ยินดีช่วยเหลือทุกท่านค่ะ

สำหรับวันนี้คุณหมอวีซ่ามีเวลาแบ่งปันความรู้และประสบการณ์เพียงแค่นี้ก่อนนะคะ เพราะถามกันเข้ามามากเหลือเกิน (สงสัยคนสมัยนี้เขาจะไม่ชอบจดทะเบียนสมรสกันแล้วหรือไงก็ไม่ทราบนะคะ หรือว่าเป็น trend?) เลยชี้แจงผ่านสื่อให้เลยทีเดียว จะได้เข้าใจให้ถูกต้องกันและไม่ยื่นเอกสารเข้าไปกันผิดๆเป็นอันตรายกับ application ของตนเองเปล่าๆ สวัสดีค่ะ




คุณหมอวีซ่าไปให้สัมมนาที่ CP Melbourne มาเมื่อเร็วๆนี้ หลงใหลในความสวยงามของเมืองนี้มาก เก็บภาพมาฝาก

มีคำถามเกี่ยวกับการสมัครหรือสถานะวีซ่าออสเตรเลียของคุณ? ต้องการสมัครเพื่อศึกษาต่อ ทำงาน หรืออาศัยอยู่ในออสเตรเลีย? สามารถขอคำแนะนำจากทีมคุณหมอวีซ่าได้ที่: