28 August 2015

สวัสดีค่ะ แฟนคลับคุณหมอวีซ่าทุกท่าน สองสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ คุณหมอวีซ่ามีข่าวดีอยากจะมาบอกกล่าวเล่าสู่กันฟังอยู่เยอะแยะหลายเรื่อง แต่ขอแชร์สักสองเรื่องที่สร้างความตื่นเต้นและดีใจให้กับทีมงานของคุณหมอวีซ่าเป็นอย่างยิ่ง และทั้งสองกรณีก็เป็นกรณีที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการ

ได้รับคำแนะนำที่ดีๆทางวิชาชีพที่ถูกต้อง ทำให้ถึงกับเปลี่ยนอนาคต เปลี่ยนแนวทาง และวิถีชีวิตของคนหลายๆคน หรือทั้งครอบครัวได้อย่างไม่น่าเชื่อ แถมประหยัดทั้งเวลาและเงินทอง ไม่ต้องยื่นวีซ่าผิดแล้วผิดเล่า บ้างที่แย่กว่านั้นก็คือ โดนปฏิเสธวีซ่ามาซ้ำซ้อน กว่าจะมาถึงมือคุณหมอวีซ่า บางครั้งก็สายเกินแก้แล้วก็หลายเคสอยู่ค่ะ จริงๆแล้ว ตามกฎหมายของออสเตรเลีย การยื่นฟอร์มวีซ่าต่างๆไม่ต้องอาศัยตัวแทน ก็สามารถยื่นฟอร์มเองได้ แต่จุดที่สำคัญก็คือ ผู้ยื่นหลายท่านไม่มีความเข้าใจในกฎหมาย คุณสมบัติ หรือ eligibility ของตนเองว่ามีสิทธิ์ที่จะได้รับอนุมัติวีซ่าตัวที่ตนอยากได้ไหม หรือการจัดเอกสารต้องจัดอย่างไรให้ตรงตามที่เจ้าหน้าที่ต้องการให้ครบถ้วน หากไม่มีโอกาสได้วีซ่านั้นๆ หรือไม่ตรงตามนโยบายของรัฐบาล ก็อาจต้องเปลี่ยนยื่นเป็นวีซ่าตัวอื่นที่ตนเองมีโอกาสเข้าข่ายและผ่านวีซ่าได้ หรือต้องมีการเตรียมตัวอย่างไรให้เข้าข่ายได้ในอนาคต เป็นต้น การตอบคำถามก็มีความสำคัญ หากเราตอบไม่ตรง แทนที่จะเป็นผลดี ก็อาจส่งผลลบเด้งกลับมาให้ได้ สำหรับเจ้าหน้าที่อิมมิเกรชั่น แน่นอนที่สุด ก็ย่อมชอบให้เรายื่นเอกสารให้ครบถ้วน ตอบคำถามตรงและครบถ้วนอยู่แล้ว หากเราปฏิบัติทุกอย่างให้ถูกต้อง ตรงตามนโยบายและกฎหมาย ไม่ติดเรื่องสุขภาพหรือสันติบาล คุณหมอวีซ่าว่าโอกาสที่จะได้วีซ่าก็สูงแน่นอนค่ะ

เยี่ยงอย่างเคสของลูกค้าที่แสนดีของคุณหมอวีซ่า 2 รายที่เพิ่งจะผ่านวีซ่าตัวใหญ่ๆไป 2 ตัวสดๆร้อนๆกันทั้งครอบครัว ที่กว่าจะถึงขั้นยื่นวีซ่า ก็ได้ผ่านการปรึกษาแล้วปรึกษาอีก สิ่งใดที่คุณหมอวีซ่าไม่สามารถให้คำตอบได้ทันที ก็จะไปค้นคว้าหาคำตอบที่ถูกต้องมาให้ แต่พอหลังยื่น วีซ่าก็ผ่านเร็วมากจากการตามงานติดๆของทีมงานคุณหมอวีซ่า และความร่วมมือเป็นอย่างดีจากลูกค้าในการจัดหาเอกสารตามที่ขอมาให้:

เริ่มต้นจากกรณีของคุณติ๊กกับลูกๆที่ได้ผ่านวีซ่าคู่ครองหรือ Partner Visa (sc 820) โดยพ่วงลูก 2 คนเป็นผู้ติดตามจนประสบผลสำเร็จ

ความจริงโดยทั่วไปแล้ว การยื่นวีซ่าคู่ครองของคุณพ่อหรือคุณแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่ายโดยพ่วงลูกเป็นผู้ติดตาม ไม่ใช่เป็นเรื่องแปลกและมีการทำมานานแล้ว แต่สำหรับกรณีของคุณติ๊กที่คุณหมอวีซ่าอยากนำมายกเป็นตัวอย่างในวันนี้ (โดยได้รับอนุมัติจากคุณติ๊กมาเรียบร้อยแล้ว) ก็คือ เป็นกรณีที่พิสูจน์ให้เห็นว่า

การได้รับคำแนะนำที่ดีๆและถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพนั้น มีความสำคัญมากเพียงใดต่อการวางแผนชีวิตของตัวเรากับคนที่เรารักโดยเฉพาะลูกๆ ถึงขั้นที่เรียกว่ามีการเปลี่ยนแปลงอนาคตและวิถีทางดำเนินชีวิตไปโดยสิ้นเชิงเลย

เรื่องของคุณติ๊กก็คือ จู่ๆวันนึง คุณติ๊กก็ตัดสินใจขับรถทางไกลตรงมาขอพบ

และปรึกษากับคุณหมอวีซ่าเกี่ยวกับวีซ่าของตนเองที่ยื่นไปตั้งนมนานแล้ว แต่ไม่เห็นเจ้าหน้าที่ผ่านหรือติดต่อมาสักที ก็เลยเริ่มกังวลใจ ในวันที่พบกันนั้น คุณติ๊กขอให้คุณหมอวีซ่าช่วยตามเคสให้หน่อย เพราะไม่ทราบติดขัดสิ่งใด ทำไมถึงไม่ผ่านสักที

พอดีในวันที่คุณติ๊กมาพบคุณหมอวีซ่านั้น มีลูกสาววัย 23 (อายุเกิน 18 ปีแล้ว) มาเป็นเพื่อนด้วย คุณหมอวีซ่าก็เลยถามเล่นๆว่าน้องถือวีซ่าอะไรอยู่ในออสเตรเลีย ปรากฏว่าเป็นวีซ่านักเรียน ซึ่งโดยทั่วไปคุณพ่อคุณแม่หลายๆท่าน

มักจะไม่มีความรู้ตรงนี้ว่าลูกที่อายุเกิน 18 ปีแล้วก็ยังสามารถพ่วงกับพ่อแม่เป็น ผู้ติดตามได้ โดยต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายเรียกร้อง พอได้ PR มา ลูกก็จะไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียนในอัตราของนักเรียนนานาชาติอีกต่อไป กลับได้สิทธิ์เหมือนผู้ถือวีซ่าถาวรในออสเตรเลียเหมือนคุณพ่อคุณแม่ คุณหมอวีซ่าจึงได้ถามประวัติของลูกสาว แล้วก็ไปทราบว่าคุณติ๊กเองก็มีลูกชาย

อีกคนหนึ่งอายุต่ำกว่า 18 ปีอยู่ในประเทศไทย โดยลูกชายนั้น ก็สามารถทำพ่วงวีซ่าคู่ครองของคุณติ๊กได้อีกเช่นกัน เพียงแต่น้องคนเล็กนี้ตัวยังอยู่เมืองไทย ณ เวลานั้น และคุณแม่กับพี่สาวอยู่ออสเตรเลีย ก็จะต้องมีขั้นตอนที่ซับซ้อนเพิ่มขึ้นอยู่บ้าง

หลังจากได้สอบถามประวัติของคุณแม่และลูก 2 คนโดยละเอียดแล้ว คุณหมอวีซ่าก็ มาพบว่าลูก 2 คนมีสิทธิ์ที่จะพ่วงคุณแม่ได้ในเวลาเดียวกันทั้งๆที่ลูกคนหนึ่งอยู่ออสฯ อีกคนอยู่ไทย จึงไม่ล่าช้า และได้ทำการติดต่อเจ้าหน้าที่อิมมิเกรชั่นไปทันที โดยที่ทุกอย่างได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษร หลังจากได้รับการยืนยันจากเจ้าหน้าที่ว่าทำได้ (บังเอิญได้เจ้าหน้าที่ใจดี) และหลังพูดคุยต่อรองผ่านทางโทรศัพท์ เจ้าหน้าที่ก็ยินดีที่จะชะลอเรื่องของคุณติ๊กออกไป เพื่อเปิดโอกาสให้ทีมงานของคุณหมอวิซ่าจัดการเรื่องการพ่วงและเพิ่มลูก 2 คน เสียบเข้าไประหว่างการเดินเรื่องคุณติ๊กได้ แค่นี้พวกเราก็ดีใจมากแล้ว ที่เจ้าหน้าที่ยอมเปิดโอกาสครั้งนี้ให้ จึงเริ่มดำเนินการโดยไม่ล่าช้า

ในการดำเนินการครั้งนี้คุณหมอวีซ่าก็มาพบว่าเอกสารที่คุณติ๊กเคยยื่นเข้าไปก็ไม่ครบถ้วนที่จะให้เจ้าหน้าที่ผ่านอนุมัติวีซ่าคู่ครองให้ได้ ก็เลยต้องจัดการตรงนี้ให้เรียบร้อยก่อน แล้วก็ได้มีการจัดเตรียมให้น้องคนเล็กทำวีซ่าเดินทางเข้ามาในออสเตรเลีย เพื่อมา join พี่สาวกับคุณแม่ที่นี่ จากนั้นก็มีการจัดเอกสารประกอบและฟอร์มที่เกี่ยวข้องจนครบกวน ซึ่งในกระบวนการตรงนี้ทั้งคุณติ๊กและทีมงานของคุณหมอวีซ่าได้ร่วมมือกันทำงานเป็น

อย่างดี เหน็ดเหนื่อยไม่เบา แต่ก็คุ้มค่ะ เพราะเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาก็ปรากฏว่า

อิมฯได้ผ่านอนุมัติวีซ่ามาให้ทั้งคุณแม่ ลูกสาว และลูกชาย ทำให้ครอบครัวได้อยู่ร่วมกันในออสเตรเลียได้อย่างมีความสุข คุณหมอวีซ่าก็ขอแสดงความยินดีกับคุณติ๊กและครอบครัวด้วยอีกครั้งนะคะ

ที่นำเรื่องของคุณติ๊กมาเขียนในวันนี้ จุดสำคัญไม่ได้อยู่ที่การยื่นวีซ่าคู่ครอง แต่เป็นตัวอย่างที่ดีที่ให้ท่านผู้อ่านทั้งหลายตระหนักถึงความสำคัญของการที่ได้ผู้เชี่ยวชาญเสนอกลยุทธ์และวิธีในการทำวีซ่าที่ถูกต้องโดยอาศัยความรู้และประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญในการช่วยวางแผนที่ดีและถูกต้องตามกฎหมายและนโยบายของรัฐบาล ในกรณีเช่นนี้คุณหมอวีซ่าได้ช่วยให้ลูกสาวของคุณติ๊กไม่ต้องถือวีซ่านักเรียนอีกต่อไป หากแต่ได้วีซ่าที่ดีกว่าก็คือเป็นผู้ติดตามของคุณแม่ในวีซ่า 820 ช่วยให้น้องมีสิทธิ์เรียนฟรีใน TAFE หรือมหาวิทยาลัยต่างๆได้ แถมสามารถทำงานได้เต็มเวลา และสามารถเรียน part time ได้ โดยไม่ต้องอยู่ภายใต้กฏเกณฑ์อันเข้มงวดของวีซ่านักเรียนอีกต่อไป แถมยังมีสิทธิ์ที่จะได้ Medicare หาหมอรักษาโรค เข้าโรงพยาบาลฟรี ได้อีก ส่วนน้องคนเล็กก็สามารถที่จะเข้าเรียนในโรงเรียน high school ของออสเตรเลียได้โดยไม่ต้องชำระค่าเล่าเรียนใดๆ ตลอดจนจบมหาวิทยาลัย นอกจากจะเรียนฟรีแล้วยังมีสิทธิ์ใช้รถโดยสารมีฟรีในการเดินทางไปโรงเรียนทุกวัน ทั้งยังมีสิทธิ์ได้ Medicare card เหมือนกับพี่สาว ฟรี อีกเช่นกัน น้องอยากทำงานขึ้นมาก็มีสิทธิ์ที่จะทำงานได้เกิน 40 ชั่วโมงต่อ 2 สัปดาห์ ไม่ต้องตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขของวีซ่านักเรียนอีกต่อไป

คุณหมอวีซ่ายังจำได้ว่า หลังจากจัดเตรียมเอกสารเพิ่มเติมให้คุณติ๊กเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่ที่ทำเคสของคุณติ๊ก ก็อยากจะให้ปิดเคสของคุณติ๊กอย่างไวไว โดยอยากให้เราหันไปทำเรื่องของลูกพ่วงตามมาทีหลัง แต่เพื่อผลประโยชน์ของคุณติ๊กกับครอบครัว คุณหมอวีซ่าก็ยืนยันว่าให้เขารอนิดหนึ่งในระหว่างที่เราเตรียมเอกสารของลูกๆให้ครบ และในที่สุดความพยายามของเราก็ประสบความสำเร็จเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาคุณติ๊กกับลูกที่น่ารักทั้ง 2 คน ก็ได้รับวีซ่าที่ออกมาพร้อมๆกันทั้ง 3 คน เป็น sc820 ซึ่งเป็นขั้นแรกของวีซ่า 801 ที่เป็น PR แต่ก็ได้สิทธิเหมือน PR ทุกประการ นำความปลื้มปิติยินดีให้กับครอบครัวของคุณติ๊กและทีมงานของคุณหมอวีซ่าเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสช่วยเหลือครอบครัวของคุณติ๊กให้ได้อยู่ร่วมกัน และข้ามฝั่งไปสู่เส้นทางอนาคตที่ดีกว่าในครั้งนี้ คุณหมอวีซ่าเองเองก็ขอแสดงความยินดีกับคุณติ๊กกับครอบครัวอีกครั้งนะคะ

กรณีที่ 2 ที่คุณหมอวีซ่าอยากจะแสดงความยินดี ก็คือเป็นกรณีของ…

การผ่านวีซ่านักลงทุน Significant Investors Visa (SIV sc188-888) ของลูกค้า VIP ของคุณหมอวีซ่าอีกรายหนึ่ง ซึ่งวีซ่าตัวนี้มีคนไทยทำกันน้อยมาก เนื่องจากจะต้องใช้เงินลงทุนสูงถึง 5 ล้านเหรียญออสเตรเลีย เพื่อแลกกับหนทางสู่วีซ่าถาวร (PR) กล่าวคือ พอวีซ่าผ่าน ผู้ยื่นก็จะได้วีซ่าชั่วคราวที่เรียกว่า subclass 188 ถือไปเป็นเวลา 4 ปีก่อน และต้องรักษา portfolio การลงทุนไว้ในออสเตรเลียตลอดทั้ง 4 ปี โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นรายปี หรือรายกี่เดือนก็ตามแต่ที่ตกลงกับบริษัทเงินทุนที่ดูแลหลักทรัพย์ของเรา หลังพ้น 4 ปี ผู้ยื่นก็มีสิทธิ์ที่จะข้ามฝั่งไปถือวีซ่าถาวร subclass 888 ซึ่งเป็น PR ได้ และจากนั้น ก็มีสิทธิ์ถอนเงินคืนได้ แต่จากสถิติแล้ว ปกตินักลงทุนจากประเทศจีน ฮ่องกง มาเลย์เซีย เวียดนามก็มักจะเอาเงินมาลงเพิ่มมากกว่า เพราะได้ผลตอบแทนดีกว่าที่บ้านเขาเยอะ จากตารางที่คุณหมอวีซ่านำมาลงไว้ให้ดูนี้:

The table below shows the distribution of primary visa applications and visa grants for the top five source countries for the SIV.

Applicants for top
five source countries
Percentage of total
visa applications
Grants for top
five source countries
Percentage of total
visas granted
China90.2China88.7
Hong Kong3.0Hong Kong3.3
Malaysia1.2Malaysia1.5
South Africa0.8South Africa1.1
Vietnam0.5Japan0.7

(Source: https://www.border.gov.au/about/reports-publications/research-statistics/statistics/work-in-australia/significant-investor-visa-statistics)

จะเห็นว่า ณ เดือนมีนาคม 2015 ที่ผ่านมา ยังไม่มีสถิตินักลงทุนจากประเทศไทยขึ้นให้เห็นเลย แต่เคสคุณหมอวีซ่าผ่านฉลุยไปแล้ว เมื่อ August 2015 ที่ผ่านมา โดยใช้เวลาพิจารณาเพียง 2.5 เดือน ทั้งๆที่โดยปกติตาม standard processing time เป็น 9 เดือน โดยได้วีซ่าครบกันทั้งครอบครัว ทั้งนี้ อาจจะด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ การเมือง หรือเหตุผลอื่นๆก็เป็นไปได้ ที่จะเห็นได้ว่ามีนักลงทุนจากประเทศไทยเริ่มหันมาให้ความสนใจ

วีซ่าตัวนี้กันมากขึ้น ซึ่งในความเห็นของคุณหมอวีซ่า เรียกว่าเป็นวีซ่าที่ดีมากสำหรับนักลงทุนที่พร้อมที่จะ invest ให้กับครอบครัว ให้กับคนที่เขารักและห่วงใยที่สุดในชีวิต อีกทั้งเงินที่ลงทุนใน Complying Investment ก็ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของรัฐบาลออสเตรเลีย จึงมีความเสี่ยงน้อยลง แถมได้ผลตอบแทนดีกว่าเอาไปลงทุนในประเทศอื่นๆ โดยผลตอบแทนอยู่ที่อัตราระหว่าง 5 ถึง 15% ขณะที่ในประเทศไทยเท่าที่คุณหมอวีซ่าไปสอบถามจากธนาคาร

ที่เมืองไทยแห่งหนึ่งมาเมื่อเร็วๆนี้ ปัจจุบันผลตอบแทนอยู่ที่เพียง 0.5 – 2% ยิ่งช่วงนี้ หลังมีเหตุระเบิดที่ราชประสงค์ หุ้นในเมืองไทยก็ตกอย่างแรง นักลงทุนในเมืองไทยก็หัวปั่นกันเป็นแถวๆเช่น

หรือวีซ่าทักษะตามโครงการของ SkillSelect ของออสเตรเลีย (ที่ปัจจุบันผ่านกันยากผ่านกันเย็นนัก) แต่มีเงิน ก็สามารถเก็บวีซ่าตัวนี้ไว้พิจารณาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกได้เช่นกัน ยกตัวอย่างลูกหลานชาวจีนที่พ่อแม่มีเงินมีทอง สามารถให้ลูกเป็นเงินลงทุนถึงจำนวน 5 ล้านเหรียญ ฝากไว้ 4 ปี ก็ข้ามฝั่งไปเป็น PR ได้ หรือยิ่งกว่านั้นในปัจจุบันมีวีซ่าตัวใหม่ที่เรียกว่า Premium Investors Visa หรือ PIV ที่สามารถใช้เงินลงทุนถึง 15 ล้านเหรียญ ลงทุนไว้เป็นเวลา 1 ปี หลังจากนั้นก็สามารถที่จะข้ามฝั่งไปถือวีซ่าถาวร หรือ PR ได้เลยเช่นกันค่ะ

ทั้งวีซ่า SIV กับ PIV สองตัวนี้ ปัจจุบันเป็นที่สนใจของนักลงทุนหรือนักธุรกิจที่ยินดีช่วยให้ลูกๆหรือครอบครัวที่เขารักได้พำนักอาศัยอยู่ในประเทศออสเตรเลียอย่างถาวรได้ จนในที่สุด สามารถข้ามฝั่งไปถือสัญชาติออสซี่ได้ในที่สุด ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับคนมีเงิน หากมีท่านใดสนใจวีซ่า SIV หรือ PIV ก็สามารถติดต่อคุณหมอวีซ่า โดยตรงที่ pip@cpinternational.com ได้เลยนะคะ ยินดีดูเคสให้ค่ะกัน แต่ก็ต้องชี้แจงว่ารัฐบาลออสเตรเลีย ไม่ได้รับรองผลตอบแทนจากการลงทุนตรงนี้ให้นะคะ ก็ต้องเป็นไปตาม trend ของตลาดและความสามารถของบริษัทการเงิที่ดูแลเงินของเราด้วยค่ะ ดังนั้นสำหรับลูกค้าที่มีสมรรถนะทางการเงินสูง แต่ไม่มีคุณสมบัติอย่างอื่นเพียงพอ อย่างเช่นไม่ได้มีการจบเรียนสาขาวิชามาจากออสเตรเลีย หรือมีทักษะตามที่ประเทศออสเตรเลียต้องการ หรือไม่มีเวลาไปทำธุรกิจ หรือ สอบภาษาอังกฤษให้ผ่าน ตามเกณฑ์การนับคะแนนในสาขาวีซ่าธุรกิจ

ก่อนจะจบบทความในวันนี้คุณหมอวีซ่าใคร่ขอประชาสัมพันธ์งานที่มีประโยชน์และกำลังจะจัดที่ CP Bangkok ในวันที่ 12 September 2015 นี้ ตั้งแต่เวลา 13.00-15.00 น. ที่สำนักงานของ CP International สาขากรุงเทพฯ นะคะ ดูรายละเอียดจากข้างล่างนี้ได้เลยค่ะ หากท่านผู้อ่านมีลูกหลาน ทั้งของตนเองและญาติมิตรเพื่อนฝูงที่เรารักและห่วงใย ก็สามารถช่วยประชาสัมพันธ์ให้มาร่วมงานที่ CP Bangkok เพื่อวางแผนอนาคตที่ดี ถูกต้องและตรงเป้าหมายให้เขาเสียแต่แรกตั้งแต่ high school เลยนะคะ
สำหรับวันนี้ สวัสดีและขอให้ทุกท่านมีความสุขมากๆนะคะ



คุณหมอวีซ่านำทีม CP Bangkok ไหว้วันสาร์ทจีนที่เมืองไทย

มีคำถามเกี่ยวกับการสมัครหรือสถานะวีซ่าออสเตรเลียของคุณ? ต้องการสมัครเพื่อศึกษาต่อ ทำงาน หรืออาศัยอยู่ในออสเตรเลีย? สามารถขอคำแนะนำจากทีมคุณหมอวีซ่าได้ที่: