4 September 2017

สวัสดีค่ะ แฟนคลับของคุณหมอวีซ่าทุกท่าน ก่อนอื่น คุณหมอวีซ่า และทีมงาน ใคร่ขอแสดงความยินดีกับน้อง Big Siwa ที่เพิ่งได้วีซ่านักเรียน กลับไปเรียนต่อมหาวิทยาลัยที่ Perth เก็บวิชาที่เหลืออีกเพียงไม่กี่ตัวก็จะจบปริญญาตรีอยู่แล้ว ทั้งๆ ที่น้องโดน ban ห้ามกลับเข้าประเทศออสเตรเลียด้วยวีซ่าชั่วคราวใดๆ เป็นเวลาถึง 3 ปี ทั้งๆที่ไม่ใช่ความผิดของน้องแท้ๆ ก่อนบินกลับเมืองไทย ต.ม.ที่ออสเตรเลียได้แจ้งน้องว่าให้กลับเมืองไทยไปทำวีซ่านักเรียนกลับมาใหม่ไม่น่าจะมีปัญหาใดๆ เพราะน้องไม่ได้ทำผิดอะไร เพียงแต่เอเย่นที่จ้างให้ต่อวีซ่านักเรียนให้ที่เพิร์ธ ยื่นวีซ่าน้องสาย หลังวีซ่าน้องได้ขาดไปแล้ว แต่ปรากฏว่าน้องมาจ้างเอเย่นที่ไทยยื่นวีซ่าไปสองครั้งก็ถูกปฏิเสธอีกทั้งสองครั้ง จนได้มาพบกับทีมงานคุณหมอวีซ่า พวกเราก็ช่วยกันลุยอย่างเต็มที่ จนได้ช่วยให้น้องได้วีซ่ากลับไปเก็บตกวิชาที่เหลือเพื่อให้เรียนจบปริญญาตรีในเร็ววัน ทีมงานดีใจมากที่มีโอกาสช่วยน้องบิ๊กในครั้งนี้ หากน้องไม่ได้วีซ่ากลับไปครั้งนี้ ก็จะเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากคุณพ่อคุณแม่ได้ส่งเสียน้องให้ไปเรียนที่ออสเตรเลียมานาน ลงทุนลงแรงไปเกือบเจ็ดปี และน้องก็เหลืออีกเพียงไม่กี่วิชาก็จะจบปริญญาตรีอยู่แล้ว หากโดนห้ามกลับเข้าไปสามปี ก็เท่ากับตัดอนาคตน้องไปโดยสิ้นเชิง จะเป็นที่เสียดายเป็นอย่างยิ่งค่ะ ทีมงานคุณหมอวีซ่าขอขอบคุณน้องบิ๊กที่ได้ทำจดหมายมาแสดงความขอบคุณถึงทีมงานของเรา เห็นเพียงแค่นี้ พวกเราก็ชื่นใจ มีกำลังใจช่วยน้องๆ รุ่นต่อไปแล้วค่ะ

จดหมายจากน้องบิ๊ก:

“เนื่องจากผมมีปัญหากับเรื่องวีซ่า วีซ่าโดนปฏิเสธ ตอนนั้นเป็นทุกข์มากเนื่องจากไม่มีทางออกหรือทางแก้ไข สอบถามคนรอบตัวและเพื่อนก็ไม่มีหนทางแก้ไข ผมจึงได้ค้นหาคนที่รับทำวีซ่าทางอินเทอร์เนทและได้ติดต่อ เอเจ้นท์ต่างๆ มากมาย แต่สุดท้ายก็ไม่ได้หนทางที่แก้ไขได้จริง เพราะส่วนใหญ่จะให้ยื่นวีซ่าเข้าไปใหม่ซ้ำเดิม ซึ่งปัญหาก็ไม่น่าจะแก้ไขได้ถูกทาง พอดีวันนั้นผมได้นั่งปรึกษากับแฟนอยู่ ค่อยๆหา เอเจ้นท์หรือใครที่สามารถแก้ไขเรื่องนี้ได้ พอดีได้ไปเห็นบทความ บทความนึงจากคุณหมอวีซ่า ได้เล่าเรื่องหรือเคสที่ทางคุณหมอวีซ่าได้แก้ไขสำเร็จ ซึ่งตรงกับที่ผมประสบอยู่ ผมจึงได้ติดต่อทาง คุณหมอวีซ่า (CP International)

ผมได้รับการติดต่อสอบถามความเป็นมาว่าโดนปฏิเสธยังไง ทั้งนี้ทาง CP inter ได้ นัดหมายให้คุยกับทาง พี่ปิ๊ปหรือคุณหมอวีซ่า อีกทีนึงเพื่อจะได้ปรึกษาหาทางแก้ไข มาถึงวันที่ได้คุยกับ พี่ปิ๊ป ผมได้เล่าเรื่องที่เป็นมา ทางคุณปิ๊ปก็ได้แนะนำว่าทาง CP Inter จะมีวิธีการดำเนินการแบบไหน การทำงานเป็นขั้นตอนต่างๆทำให้ผมอุ่นใจและรู้สึกกับความเป็นมืออาชีพ ของทาง CP Inter อย่างมาก ผมจึงได้ตัดสินใจเซ็นท์สัญญาทำวีซ่ากับ CP Inter หลังจากวันนั้น ทาง CP Inter ได้ติดต่อกลับมา โดยคุณเมย์ ผู้ช่วยพี่ปิ๊บ เป็นผู้ดำเนินการ รวบรวมหลักฐานต่างๆ รายงานผลการดำเนินงาน ว่าตอนนี้ ทำไปถึงขั้นไหนแล้ว ผมรู้สึกไม่โดนทอดทิ้งแบบที่ผมเคยประสบมาจากเอเจ้นท์ที่ผ่านมา ทาง CP Inter ได้ดำเนินการทุกอย่าง เช่น การขอเอกสารจากทางมหาวิทยาลัย การเขียนเรื่องเอกสารต่างๆ สุดท้ายก็ได้ยื่นวีซ่าเข้าไปอีกครั้งนึง แม้ผมจะมีความกังวลกับเรื่องนี้มาก แต่ทาง CP Inter ก็ทำหน้าที่ต่างๆ อย่างสุดความสามารถ แล้วผมก็ได้วีซ่ากลับคืนมาในที่สุด จากการทำงานต่างๆ ความเป็นมืออาชีพ หลักการทำงาน และ ผลลัพธ์ที่ได้มา ทำให้ผมมั่นใจได้ว่าผมเลือกไม่ผิดจริงๆ ครับ ถ้ามีคนจะมาสอบถามเรื่องว่าทำวีซ่าที่ไหนหรือไปไหน ผมแนะนำ CP Inter แน่นอนครับ”

สำหรับฉบับเดือนกันยายนนี้ คุณหมอวีซ่ามีเรื่องดีๆ มาแชร์เช่นเคย และมีเว๊ปลิ๊งค์ถึงข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับทางเลือกของวีซ่าในสกุลวีซ่านักลงทุน (Investor Visa) วีซ่านักธุรกิจ (Business Visa) กับวีซ่าทักษะ (Skilled Visa) ซึ่งอาจจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับบางท่านที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตรงตามเงื่อนไขของกฎหมายที่จะได้วีซ่าประเภทนั้นๆ ก็อยากจะแก้ความเข้าใจผิดของหลายๆท่านที่เข้าใจผิดมาโดยตลอดว่า การเข้าประเทศออสเตรเลียนั้นจะต้องเริ่มต้นจากการขอวีซ่านักเรียนแต่เพียงหนทางเดียวเท่านั้น ซึ่งเป็นการเข้าใจผิดโดยสิ้นเชิง เนื่องจากวีซ่าเข้าประเทศออสเตรเลียนั้นมีเป็นร้อยๆ ตัวมากมาย และหลายๆท่านก็มีสิทธิ์ที่จะได้วีซ่าตัวอื่นไปอาศัยอยู่ ไปทำงาน ไปเรียนได้ โดยไม่จำเป็นจะต้องตั้งต้นจากวีซ่านักเรียนทุกครั้งเสมอไป อย่างเช่นในกรณีของลูกๆ ที่มีอายุเกิน 18 ปีของคุณแม่หลายท่านที่ถือวีซ่าถาวร (Permanent Resident หรือ PR) อยู่ในออสเตรเลียที่คุณหมอวีชาได้ช่วยให้ได้วีซ่าบุตรติดตามไปอยู่กับคุณแม่อย่างถาวรที่ประเทศออสเตรเลีย และได้เรียนหนังสือ โดยได้สิทธิ์ภายใต้โครงการเกื้อหนุนค่าเล่าเรียนของรัฐบาลออสเตรเลียเหมือนราษฎรที่โน่นจนเรียนจบมหาวิทยาลัย โดยคุณแม่ไม่ต้องมานั่งเสียเงินส่งค่าเล่าเรียนอย่างนักเรียนนานาชาติ หรือ international students ที่ถือวีซ่านักเรียนทั่วไป เป็นต้น ทุกวันนี้ คุณแม่หลายๆ ท่านซาบซึ้งและดีใจมากที่ได้ลูกๆไปอยู่ร่วมด้วยในลักษณะแบบนี้ คุณหมอวีซ่าก็ดีใจนะคะ ที่มีโอกาส “สานฝัน ปันรัก” ให้กับเด็กๆ ที่มีอนาคตไกลและได้ไปอยู่ร่วมกับคุณแม่ที่รักเขาและเขารักอย่างสุดหัวใจด้วยกันที่ออสเตรเลียอย่างนี้ ….

ที่ยกตัวอย่างมานั้น เป็นการเดินสายวีซ่าครอบครัว โดยยังรวมไปถึง วีซ่าคู่ครอง หรือวีซ่าคู่รัก คู่หมั้น วีซ่าพ่อแม่ วีซ่าลูก วีซ่าผู้ติดตาม เป็นต้น แต่คุณหมอวีซ่าขอเน้นอีกครั้งว่า สำหรับอีกหลายท่านที่อาจจะมีโอกาสทำวีซ่าในสายอื่นๆ เช่น วีซ่านักลงทุน วีซ่านักธุรกิจ หรือวีซ่าทักษะ เพื่อเข้าไปอาศัยอยู่ในออสเตรเลียโดยผ่านช่องทางของการลงทุน ของการทำธุรกิจ หรืออาศัยความสามารถ วุฒิ และประสบการณ์การทำงานในสายวิชาชีพต่างๆ ที่เป็นที่ต้องการของประเทศออสเตรเลียโดยตรง และมีคุณสมบัติครบถ้วน ก็สามารถเดินตามสายที่ตรงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ ไม่ใช่ไปด้วยวีซ่านักเรียน แล้วต้องไปดิ้นรนกับการทำธุรกิจ หรือทำงานจนไม่มีเวลาไปเรียน ทำให้เสียประวัติการเรียนและเป็นเหตุให้วีซ่านักเรียนถูกยกเลิก เสียประวัติวีซ่าอีกจนทุกข์ตามมาภายหลัง

ลูกค้าท่านใดที่เคยนัดเข้ามาคุยกับคุณหมอวีซ่า ไม่ว่าจะคุยแบบ face to face หรือผ่าน online จะเป็นผ่านทาง LINE, Skype, Facetime หรืออื่นๆ ก็ตาม จะสามารถเป็นพยานได้เลยว่า คุณหมอวีซ่ามักจะซักประวัติลูกค้าและประเมินคุณสมบัติของแต่ละท่านอย่างละเอียดมากๆ เพื่อให้ทราบอย่างแน่ชัดว่า วีซ่าตัวใดที่เหมาะกับแต่ละท่านนั้นๆ มากที่สุด ไม่จำเป็นว่าทุกคนจะต้องไปแบบวีซ่านักเรียนเท่านั้น หลักก็คือ การขอวีซ่าแต่ละตัวนั้นต้องให้ตรงตามวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายอย่างแท้จริงของผู้ที่จะขอเข้าประเทศ ดังเช่น ถ้าจะเข้าไปท่องเที่ยวเยี่ยมญาติ ก็ให้ขอวีซ่าท่องเที่ยว Visitor Visa ถ้าจะไปลงทุน ก็ต้องขอวีซ่านักลงทุน หรือ Investor Visa หากจะไปทำธุรกิจ ก็ต้องขอวีซ่านักธุรกิจ หรือ Business Visa และถ้ามีคุณสมบัติ วุฒิและประสบการณ์เพียงพอที่จะขอวีซ่าทักษะ หรือ Skilled Visa ได้ ก็เดินสายนั้นไปเลย เป็นต้น ให้ตรงตามเป้าหมาย เนื่องจากได้ยินมามากต่อมากจากลูกค้าที่เล่าให้ฟังว่า ไปเอเย่นไหนมามากมาย ก็บอกแต่ให้ทำวีซ่านักเรียนแต่เพียงสายเดียวเลย เสียค่าเล่าเรียนไปมากมาย แต่ไม่ตรงเป้าหมายของตนเลย อย่างนี้ก็ถือว่าเป็นคำแนะนำที่ผิดนะคะ เพราะวีซ่านักเรียนก็มีไว้สำหรับคนที่มีเจตนาจะเข้าไปเรียนอย่างแท้จริง ไม่ใช่อาศัยช่องทางของวีซ่านักเรียนเพื่อไปทำงาน หรือทำธุรกิจ เป็นต้น

สำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะไปลงทุน ทำธุรกิจ ที่ประเทศออสเตรเลีย ก็ควรจะเล็งไปที่ Business Innovation and Investment visa ในสกุล subclass 188 ซึ่งท่านสามารถหาอ่านทำความเข้าใจในขั้นแรกได้จากเว๊ปไซท์ของอิมมิเกรชั่นที่ https://www.border.gov.au/Trav/Visa-1/188- และสำหรับท่านที่สนใจในวีซ่าทักษะก็ลองเข้าไปอ่านทำความเข้าใจในขั้นแรกได้ที่ https://www.border.gov.au/Trav/Visa-1/189-

ข้อเท็จจริงก็คือ สำหรับท่านที่พอมีเงินลงทุน หรือหนุ่มๆ สาวๆ รุ่นใหม่ที่คุณพ่อคุณแม่พอมีเงินทุนให้ และสนับสนุนให้เดินสายทำธุรกิจ หรือลงทุนต่างประเทศ วีซ่าในสาย Business Innovation and Investment visa ในสกุล subclass 188 นี้ เป็นที่ดึงดูดของทั้งกลุ่มนักลงทุน นักธุรกิจ หรือกลุ่มชาวเล่นหุ้นที่มีทุนระดับตั้งแต่หลักกว่าสิบล้านบาทจนถึงเกินร้อยล้านบาทขึ้นไป โดยเฉพาะในหมู่กลุ่ม ชาวจีน เวียดนาม สิงคโปร์ ไต้หวัน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ที่ได้เลือกเดินสายนี้กันมานานปีแล้ว โดยเลือกลงทุนที่ประเทศที่ปลอดภัยอย่างเช่นที่ออสเตรเลีย เป็นต้น และสนใจจะถือสองสัญชาติเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของลูกๆหลานๆ จึงมักจะเล็งไปถึงวีซ่าประเภทนี้กันโดยตรงเลย

สาเหตุหนึ่ง ก็คงที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่าพาสปอร์ตออสเตรเลียนั้น เป็นพาสปอร์ตที่ติด Top 10 ที่มีอิทธิพลและเอื้อประโยชน์มากที่สุดประเทศหนึ่งในโลกซึ่งสามารถใช้เดินทางเข้าประเทศต่างๆ ได้มากเกิน 150 ประเทศทั่วโลก เมื่อเทียบกับพาสปอร์ตไทยที่สามารถเข้าไปเยือนประเทศต่างๆ โดยไม่ต้องขอวีซ่าได้เพียง 71 ประเทศเท่านั้น ดังนั้น การขอสัญชาติออสเตรเลียจึงดึงดูดผู้ที่สนใจจะถือถิ่นฐานสองประเทศหลายท่านที่สนใจไปประกอบธุรกิจบ้าง ไปทำงาน ไปเรียน หรือกระทั่งไปอยู่ในเมืองจิงโจ้แห่งนี้กันมาก

ในกลุ่มนักลงทุนหลายๆ ท่านที่วางแผนการกระจายความเสี่ยงทางการลงทุนตามหลักเบื้องต้นที่พูดกันจนคุ้นหูว่าที่เรียกว่า “อย่าใส่ไข่ทุกฟองไว้ในตะกร้าใบเดียวกัน – Don’t put all your eggs in one basket” เพื่อให้การลงทุนนั้นกระจายไปในหลายรูปแบบและหลายแหล่ง ไม่ว่าในประเทศหรือต่างประเทศ เมื่อใดก็ตามที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น อย่างน้อย ก็ยังมีไข่ในตระกร้าใบอื่นๆ หลงเหลือสำรองไว้รองรับเราอยู่

โอกาสนำเงินไปลงทุนในประเทศออสเตรเลีย เพื่อขอวีซ่าถาวร (Permanent Resident) ที่เป็นก้าวแรกของการนำสู่ Australian citizen จึงเป็นที่จับตามองโดยกลุ่มนักลงทุนมืออาชีพจนถึงมือสมัครเล่นที่มีความมั่งคั่งทางการเงินเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากคนกลุ่มนี้จะได้ผลกำไรในรูปแบบเงินปันผลและดอกเบี้ยจากการลงทุนแล้ว รัฐบาลออสเตรเลียยังได้อนุญาตให้คนกลุ่มนี้ไปทำงาน ลงทุน และตั้งหลักแหล่งที่ประเทศออสเตรเลียอีกได้ด้วย ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อได้วีซ่าถาวรแล้ว ครอบครัวและบุตรอันเป็นที่รักของท่านๆ ยังมีสิทธิได้รับสวัสดิการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางการศึกษา การบริการทางด้านสาธารณสุข และ สวัสดิการทางสังคมอื่นๆ ตลอดจนโอกาสขอสัญชาติและพาสปอร์ตออสเตรเลียมาครอบครองอีกด้วย คุณหมอวีซ่ามองว่า การที่เราได้พาครอบครัวไปอยู่ที่สิ่งแวดล้อมและสังคมที่ดีและปลอดภัย มีคุณภาพชีวิตที่ดีนั้น มีค่าเกินกว่าเงินจะซื้อได้ โดยเฉพาะ มีเมืองถึง 3 เมือง จากประเทศออสเตรเลีย คือ Melbourne, Adelaide กับ Perth ที่ถูกโหวตให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลก ผ่านการจัดอันดับโดย The Economist ซึ่งวัดมาจาก ความปลอดภัย การบริการสาธารณสุข สิ่งแวดล้อม และสิ่งก่อสร้างอำนวยสะดวกต่างๆ สรุปแล้ว ได้ทั้งผลตอบแทนทางการเงินที่สูงกว่า ได้ทั้งสัญชาติ ได้ทั้งคุณภาพชีวิต คุ้มเสียยิ่งกว่าคุ้มค่ะ

คราวนี้คำถามก็คือ แล้วต้องทำอย่างไรบ้างล่ะ? การลงทุนในประเทศออสเตรเลียเพื่อขอวีซ่าถาวรจะทำภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการหลักทรัพย์และการลงทุนแห่งประเทศออสเตรเลีย (Australian Securities and Investment Commission – ASIC) ให้ตรงกับกฎเกณฑ์การขอวีซ่า ซึ่งวันนี้คุณหมอวีซ่ามีสัมมนาดีๆ มาแนะนำโดย บริษัท CP International Education and Migration Centre งานนี้เข้าร่วมฟรี!!! แต่มีที่นั่งจำกัดมากๆ โดยจะเชิญเฉพาะกลุ่มที่ต้องการลงทุนในประเทศออสเตรเลีย กับกลุ่มผู้ที่สนใจยื่นวีซ่าทักษะ เพราะในสัมมนาจะมีผู้เชี่ยวชาญมาเป็นวิทยากรรับเชิญ ดังต่อไปนี้

  1. ผู้เชี่ยวชาญการลงทุนสำหรับวีซ่านักลงทุนชั้นสูง Private Wealth Manager บริษัท Ord Minnett ที่บินตรงมาจากประเทศออสเตรเลีย
  2. วิทยากร ฝ่ายบริการแลกเปลี่ยนและโอนเงินระหว่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพฯ
  3. คุณพรทิพย์ พนัสบดี (คุณหมอวีซ่าเอง) ที่ปรึกษากฎหมายตรวจคนเข้าเมืองประเทศออสเตรเลีย (Registered Migration Agent, MARN: 9896337)

นอกเหนือจากนี้ หากทางแฟนๆ ของคุณหมอวีซ่าเป็นผู้มีความสามารถและประกอบอาชีพตรงตามที่รัฐบาลออสเตรเลียต้องการ เช่น นักบัญชี วิศวกร IT แพทย์ พยาบาล และ ครู รวมถึงสายอาชีพเฉพาะอื่นๆ อีกมากมายก็อาจมีสิทธิ์ยื่นขอวีซ่าทักษะ ไปถือถิ่นฐานถาวรทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศออสเตรเลียได้เช่นกันหากมีคุณสมบัติครบถ้วนนะคะ

สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานสัมมนาในหัวข้อ “วีซ่าลงทุนและวีซ่าทักษะออสเตรเลีย โอกาสการเป็นพลเมืองออสเตรเลีย” ใน วันเสาร์ที่ 9 กันยายน 2560 เวลา 13:00 – 17:00 น. ที่ห้องบอลรูม 2 โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท (Sheraton Grande Sukhumvit) (BTS อโศก) สามารถลงทะเบียนสำรองที่นั่งได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยการคลิกรูปด้านล่างได้เลยค่ะ ย้ำนะคะว่า ที่นั่งสัมมนามีจำนวนจำกัดค่ะ! สำหรับท่านผู้อ่านที่อยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย ก็รีบแจ้งข่าวดีนี้ให้ญาติๆ เพื่อนฝูงพี่น้องทางเมืองไทย ทราบโดยด่วนนะคะ ตอนนี้ที่นั่งน่าจะใกล้เต็มแล้ว เพราะทางโรงแรมจัดที่นั่งกับ coffee break ไว้ให้ตรงตามจำนวนผู้ฟังที่กำหนดเป๊ะๆ ค่ะ แล้วไว้พบกันในวันงานที่ 9/9/2017 นี้ที่ Sheraton Grande Sukhumvit นะคะ

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

migration@cpinternational.com +66 8 1359 6190

มีคำถามเกี่ยวกับการสมัครหรือสถานะวีซ่าออสเตรเลียของคุณ? ต้องการสมัครเพื่อศึกษาต่อ ทำงาน หรืออาศัยอยู่ในออสเตรเลีย? สามารถขอคำแนะนำจากทีมคุณหมอวีซ่าได้ที่: