18 September 2012

สวัสดีค่ะท่านผู้อ่านทุกท่านของคุณหมอวีซ่า  ขอต้อนรับเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิของออสเตรเลียอย่างเป็นทางการแล้วนะคะ  ปีนี้อากาศทั่วโลกผันแปร แต่ได้ข่าวมาว่าตอนนี้อากาศที่ซิดนีย์กำลังดีไม่หนาวไม่ร้อน ใครที่หลบอยู่กับบ้านมานาน ก็เริ่มออกไปเที่ยวชมดอกไม้ที่กำลังจะบานเปล่งและสูดอากาศบริสุทธิ์กันบ้างได้แล้วนะคะ  สำหรับใครที่ไม่รู้จะทำอะไรดี ก็อย่าลืมมาร่วมงานกับซีพีในวันเสาร์ 22 กันยายนที่จะถึงนี้นะคะ

และแล้วเมื่อวันที่ 27 สิงหาคมที่ผ่านมา ทางอิมมิเกรชั่นได้ออกรายงาน SkillSelect Invitations to apply to migrate August 2012 Results หรือก็คือจดหมายเชิญที่ทางอิมมิเกรชั่นส่งให้กับผู ที่ยื่น EOI (Expression of Interest) เข้าไปในระบบ SkillSelect   โดยมีผู้ยื่น EOI เข้าไปในระบบทั้งหมด 8261 คน โดยสามชาติแรกที่ยื่น EOI เข้ามาในระบบมากที่สุดคืออินเดีย จีน และอังกฤษ  และสามอาชีพที่ยื่นเข้าไปมากที่สุดคือ Computer Programmers, Accountants และ Engineers ซึ่งในรอบแรกของ SkillSelect นั้นทางอิมมิเกรชั่นออกจดหมายเชิญมาแค่ 100 คน โดย 90 คนนั้ เป็นผู้ที่ยื่นไปใน Skilled-Independent Visa (sc189) และ Skilled – Regional (Provisional) Family Sponsored (sc489) อีก 10 คน โดยจำนวนที่ได้รับจดหมายเชิญนั้นยังไม่รวมผู้ที่ได้รับการ ปอนเซอร์จากทางรัฐค่ะ  คะแนนสูงสุดของผู้ที่ได้รับจดหมายเชิญคือ 85 คะแนน และคะแนนต่ำสุดคือ 75 คะแนน ตารางข้างล่างนี้เป็นผลของจำนวนผู้ยื่นสมัคร EOI ที่ได้รับจดหมายเชิญจากทางอิมมิเกรชั่น และจำนวนผู้ที่ได้รับจดหมายเชิญในแต่ละช่วงคะแนนตามข้างล่างนี้เลยค่ะ

1 August results
The number of invitations to apply to migrate issued under the August 2012 round was 100 places. This is a significantly lower number than the numbers that will be invited for future rounds. The table below shows the allocation of places by the subclass of visa:

Visa subclassInvitations for 1 August
Skilled – Independent (Subclass 189)
(Permanent)
90
Skilled – Regional (Subclass 489)
(Provisional) – Family Sponsored
10
Total100

The following table
shows points claimed by the clients who were successfully invited to apply in
this round.

Visa subclassPoints ScoreInvitations
Skilled – Independent (Subclass 189)
(Permanent)
855
Skilled – Independent (Subclass 189)
(Permanent)
8032
1Skilled – Independent (Subclass 189)
(Permanent)
7553
Skilled – Regional (Subclass 489)
(Provisional) – Family Sponsored
803
Skilled – Regional (Subclass 489)
(Provisional) – Family Sponsored
757

(Taken from:  http://www.immi.gov.au/skills/skillselect/index/report-2012-08/)

ผู้อ่านทั้งหลายอย่าเพิ่งตกใจไปนะคะว่าทำไมมีจำนวนผู้สมัครเพียงแค่ 100 คนเท่านั้นที่ได้รับจดหมายเชิญ ทั้งนี้เป็นเพราะนี่เป็นเพียงรอบแรกของการเริ่มใช้ SkillSelect ดังนั้นจำนวนผู้ที่ได้รับจดหมายเชิญจึงน้อยกว่าความเป็นจริงมากนัก และในรอบต่อๆไป ทางอิมมิเกรชั่นก็จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นค่ะ โดยสามอาชีพยอดฮิตก็คงหนีไม่พ้นไอที บัญชี และวิศวะ  ถ้าคิดในแง่ดี นั่นก็หมายความว่ สามอาชีพนี้ยังมีโอกาสในการยื่นพีอาร์อยู่  ซึ่งในฉบับที่แล้ว คุณหมอวีซ่าได้เขียนไปในเรื่องของ qualification assessment  (QA) หรือการประเมินคุณวุฒิไปสายอาชีพบัญชี และสายไอทีไป และใ ฉบับนี้คุณหมอวีซ่าจะขอมาเขียนต่อในสายอาชีพสำหรับวิศวะ และสถาปัตย์กันค่ะ คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า 2 สายอาชีพนี้เป็นอาชีพฮอตฮิตของเด็กไทย ก็เพราะว่าเป็นสายอาชีพที่ทำเงินได้มากและมีงา รองรับอย่างมากมาย  เช่นเดียวกับออสเตรเลียที่ทั้งสองสายอาชีพนั้นเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานเช่นเดียวกันโดยเฉพาะวิศวะ ซึ่งน้องๆทั้งหลายสามารถเห็นได้ตามหน้าข่าวหนังสือพิมพ์ว่าตอนนี ตลาด mining เป็นที่บูมมาก ทำให้วิศวกรเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานออสเตรเลีย  มีน้องๆหลายคนที่เรียนจบมาทางด้านวิศวะจากประเทศไทย และต้องการจะมาเรียนต่อปริญญาโททางด้านวิศว ที่นี่ หรือน้องๆบางคนที่ไม่มีพื้นฐานทางด้านวิศวะมาก่อน แต่ต้องการจะมาเรียนต่อปริญญาโททางด้านวิศวะที่ออสเตรเลีย  ในวันนี้เราจะมาทราบคำตอบกันค่ะว่าทำอย่างไรถึงจะผ่านการประเมิน

หน่วยงานที่ทำหน้าที่ประเมินคุณวุฒิของสายวิศวะก็คือ Engineers Australia (EA)  และอาชีพที่อยู่ใน SOL List Schedule 1 – หรือลิสต์อาชีพในการยื่นพีอาร์ได้แก่

  • Engineering Manager
  • Chemical Engineer
  • Materials Engineer
  • Civil Engineer
  • Geotechnical Engineer
  • Structural Engineer
  • Transport Engineer
  • Electrical Engineer
  • Electronics Engineer
  • Industrial Engineer
  • Mechanical Engineer
  • Production or Plant Engineer
  • Mining Engineer (Excluding Petroleum)
  • Petroleum Engineer
  • Aeronautical Engineer
  • Agricultural Engineer
  • Biomedical Engineer
  • Engineering Technologist
  • Environmental Engineer
  • Naval Architect
  • Telecommunications Engineer
  • Telecommunications Network Engineer
  • Civil Engineering Draftsperson
  • Electrical Engineering Draftsperson
  • Telecommunications Field Engineer
  • Telecommunications Network Planner
  • Telecommunications Technical Officer or Technologist

ผู้อ่านทั้งหลายจะเห็นว่ามีจำนวนอาชีพมากมายที่ทาง EA เป็นผู้ประเมินและอยู่ใน SOL Lists นี่แสดงให้เห็นว่าอาชีพวิศวกรนั้นเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานออสเตรเลียอย่างแท้จริง  โดยเฉพา น้องๆที่จบในด้านนี้มาจากเมืองไทยแล้วต้องการหาลู่ทางในการสมัครพีอาร์ต่อไป  ในการยื่นประเมินคุณวุฒิของ EA นั้นมีทั้งหมด 2 แบบด้วยกันก็คือ 1. แบบ Recognised Qualifications และ 2. แบบ Non- Recognised Qualifications ซึ่งเราจะมากล่าวถึงแบบแรกกันก่อนค่ะ โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ต้องการจะมาเริ่มเรียนในระดับปริญญาตรีที่ออสเตรเลีย

ในแบบ Recognised Qualifications – หรือแบบที่หลักสูตรวิศวะเป็นที่รับรอง  ทาง EA รับรองผู้ที่จบมาจากหลักสูตรที่มีอยู่ในข้อสัญญา Washington Accord และ Sydney Accord หรือผู้ที่เริ่ เรียนในระดับปริญญาตรีที่ออสเตรเลีย แต่การเลือกคอร์สเรียนนั้นก็ต้องเลือกคอร์สเรียน รวมทั้งมหาวิทยาลัยที่เป็นทีรับรองของ EA เท่านั้นนะคะ ถึงจะมีสิทธิผ่านการประเมิน ซึ่งจะว่าไปแล้วผู้ที่เริ่มเรียนนับแต่ปริญญาตรีใหม่ที่นี่ โอกาสที่จะผ่านการประเมินนั้นนับว่าง่ายมากกว่าผู้ที่เรียนจบในระดับปริญญาตรีมาจากต่างประเทศ เช่นนักเรียนไทยนั่นเองค่ะ สำหรับนักเรียนไทยที่เรียนจบวิศวะมาจากประเทศไทยและต้องการจะมาเรียนต่อที่นี่ในระดับปริญญาโท ก็ยังต้องผ่านการประเมินจาก EA เช่นเดียวกัน  ซึ่งนักเรียนไทยจะต้องยื่นประเมินคุณวุฒิในแบบ Non-Recognised Qualifications ซึ่งข้อแตกต่างระหว่างผู้ที่เรียนปริญญาตรีที่นี่ และผู้ที่จบปริญญาตรีจากต่างประเทศเช่นประเทศไทยก็คือ  ผู้ที่เรียนจบปริญญาตรีมาจากต่างประเทศจะต้องยื่นใบสมัครไปพร้อมกับ Competency Demonstration Report (CDR) ซึ่งเป็นเหมือน essay หรือเรียงความขนาดย่อมๆ อธิบายถึงโปรเจ็กต์ต่างๆที่ได้ทำมาตอนเรียนในระดับปริญญาตรี หรือตอนทำงานเป็นจำนวน 3 ชิ้นด้วยกัน โดยที่งานทุกชิ้นจะต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษ  และนอกจากนี้ผู้สมัครทุกคนจะต้องสอบ IELTS ให้ได้ 6 ทุกแบนด์ และจะต้องส่งผลสอบโดยตรงไปที่ EA ค่ะ

ในขณะเดียวกันผู้ที่กำลังหาลู่ทางในการสมัครพีอาร์ โดยต้องการเปลี่ยนมาเรียนสายวิศวะ มีน้องๆหลายคนเข้ามาปรึกษากับทีมงานคุณหมอวีซ่าว่าต้องการจะลงเรียนปริญญาโทวิศวะเพื่อสมัครพีอาร์ คุณหมอวีซ่าขอบอกตรงนี้เลยว่าประเมินผลได้แต่ผ่านยากหน่อยค่ะ เนื่องจากต้องเป็นผู้จบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยที่รับรองในกลุ่ม Washington Accord เท่านั้นถึงเป็นที่รับรองโดยตรงได้  เสียดายที่ประเทศไทยเราไม่ได้อยู่ใน list เพราะฉะนั้นผู้ที่ต้องการจะสมัครอาชีพในสายวิศวะจึงมีทางเลือกในการทำ CDR report หรือไม่ก็ต้องไปเรียนซ้ำวุฒิตรีในกลุ่มสถาบันที่เป็นที่รับรองของ Washington Accord  โดย หากให้ทาง CP Inter ลงเรียนให้ เราก็จะพยายามช่วยน้องๆต่อรองขอ unit credits ให้จากทางมหาวิทยาลัยดีๆที่ CP เป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการ เช่น University of Sydney, UTS, Macquarie University  ซึ่งล้วนเป็นมหาวิทยาลัยในระดับแนวหน้าทั้งสิ้น  รายละเอียดของการยื่นประเมินอาชีพวิศวะนั้นมีรายละเอียดค่อนข้างมาก นี่เป็นเพียงข้อมูลส่วนหนึ่งส่วนที คุณหมอวีซ่าเอามาฝากผู้อ่านทุกท่าน   สำหรับน้องๆผู้อ่านท่านไหนที่อยากทราบว่าสถาบันไหน หลักสูตรไหนได้รับการรับรอง โทรมาเข้าสอบถามที่ซีพี อินเตอร์ได้เลยค่ะ      หรืออ่านข้อมูลเพิ่มเติมของ EA ได้ที่ http://www.engineersaustralia.org.au/about-us/migration-skills-assessment

อีกอาชีพหนึ่งที่ขอนำมากล่าวถึงกันก็คือสถาปนิกนั่นเองค่ะ สถาปนิกนั้นก็ถือเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีน้องๆสนใจต้องการจะมาเรียนที่นี่  อาชีพ Architect
เป็นอาชีพเดียวที่ต้องประเมินผ่านหน่วยงาน  AACA (Architects Accreditation Council of Australia) ซึ่งเป็นหน่วยงานโดยตรงที่รับหน้าที่ประเมินอาชีพสถาปนิก AACA มีหน้าที่ประเมินเฉพาะผู้ที่เรียนมาทางด้าน course work เท่านั้น โดยมีการประเมิน 2 แบบด้วยกันได้แก่ 1. Australian Accredited Academic Qualifications in Architecture 2. Overseas Academic Qualifications in Architecture

คอร์สเรียนที่เป็นที่รองรับของ AACA หรือ   Australian Accredited Courses นั้นจะต้องเรียนด้วยกันทั้งหมด 5 ปี – ปริญญาตรี 3 ปี และปริญญาโท 2 ปี โดยมีวิชาบังคับคือ  Design, Technology, Professional Studies, History และ Communications  ผู้ที่ศึกษาในสาขาวิชาสถาปัตย์จะต้องลงเรียนในสาขาและมหาวิทยาลัยที่ AACA รองรับ และจะต้องพิสูจน์ได้ว่าคุณวุฒิของเรานั้นตรงกับวิช ที่ทาง AACA กำหนด เพราะไม่ใช่ว่าคอร์สเรียนทุกคอร์สเป็นที่รองรับนะคะ เพราะถ้าหากเราเลือกเรียนคอร์สที่ไม่เป็นที่รองรับ เท่ากับว่าเราเสียเวลาเรียนไปทั้งหมด 5 ปีด้วยกัน เช่นเดียวกับผู้ที่เรียนจ ทางด้านสถาปัตย์มาจากต่างประเทศ เช่นประเทศไทย ก็ต้องผ่านการประเมินจากทาง AACA เช่นเดียวกันภายใต้ Assessment of Overseas Qualifications in Architecture for Migration Purposes (Skills Assessment)  โดยมีหลักการประเมินเช่นเดียวกับผู้ที่ศึกษาในออสเตรเลีย   ทาง AACA จะเป็นผู้ประเมินว่าเรามีคุณสมบัติเฉกเช่นเดียวกับผู้ที่เรียนจบทางด้านสถาปัตย์จากออสเตรเลียหรือไม่  ซึ่งทาง AACA จะเป็นผู้นำมาเปรียบเทียบซึ่งกันและกัน ข้อดีของการยื่นประเมินกับ AACA ก็คือไม่จำเป็นต้องใช้ผลสอบภาษาอังกฤษ แต่จำเป็นต้องมี full official transcripts ใ การยื่นประกอบเพื่อดูว่าคุณวุฒิผ่านหรือไม่  เพราะแต่ละเคสก็แตกต่างกันไป ซึ่งทาง AACA จะประเมินเป็นรายบุคคลไปค่ะ สำหรับผู้ที่ต้องการจะเรียนต่อในระดับปริญญาโท แต่ไม่แน่ใจว่ารายวิชาที เรียนมานั้นจะตรงตามที่ AACA กำหนดหรือไม่ สามารถส่ง transcript ให้ AACA ประเมินได้ก่อนค่ะ ซึ่งนับว่าเป็นข้อดีมากๆสำหรับผู้ที่ต้องการจะยื่นพีอาร์ในสายอาชีพสถาปนิกต่อไป สำหรับใครที่อยากทราบว่ามหาวิทยาใดได้รับการรองรับจาก AACA สามารถโทรเข้ามาสอบถามที่ซีพีได้เลยค่ะ น้องๆคนไหนต้องการอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถอ่านได้ที่ http://www.aaca.org.au/migration-skills-assessment/

ข้อมูลที่คุณหมอวีซ่านำมาเขียนในวันนี้เป็นข้อมูลคร่าวๆเท่านั้น แต่ก็น่าจะเพียงพอสำหรับน้องๆที่ต้องการจะลงเรียนต่อไม่ว่าจะเป็นในระดับปริญญาตรี หรือในระดับปริญญาโทก็ตาม การที่เรารู้ถึงกฎเกณฑ์ เงื่อนไขตามที่แต่ละหน่วยงานกำหนด ก็เท่ากับว่าเรามีชัยไปมากกว่าครึ่งแล้วค่ะ สำหรับใครที่อยากเรียนวิศวะ แต่ไม่มีพื้นฐานมาก่อน ก็ต้องมาดูแล้วว่าควรจะเปลี่ยนไปเรียนในระดับปริญญาตรี หรือว่าจะเบนเข็มไปเรียนในสาขาอื่น เช่นเดียวกับผู้ที่ต้องการจะเรียนต่อทางด้านสถาปัตย์ ก็ต้องเตรียมให้พร้อมแต่เนิ่นๆ เลือกเรียนในหลักสูตรที่เป็นที่รองรับเป็นต้นค่ะ

สำหรับน้องๆคนไหนที่อยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นการสมัคร QA  การยื่น EOI หรือการเลือกคอร์สเรียนให้ตรงกับที่ทางหน่วยงานประเมินต้องการ จะต้องไม่พลาดมาร่วมงาน CP Sydney Spring Education Expo ในวันเสาร์ที่ 22 กันยายนนี้ ที่โรงแรม Radisson, 72 Liverpool Street, Sydney เวลา 11 – 16 นาฬิกา    นอกจากจะได้พบปะกับสถาบันการศึกษาดัง มากมาย ไม่ว่าจะเป็น the University of Sydney, Macquarie University, University of Technology Sydney, the University of New South Wales Global, University of Newcastle, Australian Catholic University, CQUniversity Sydney ที่เปิดโอกาสให้น้องๆสมัครเรียนโดยตรงกับทางสถาบันในวันนั้นและอื่นๆอีกมากมาย แล้ว ยังสามารถมาร่วมฟังสัมมนาถึงวีซ่าประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวีซ่านักเรียน วีซ่า skilled วีซ่านายจ้างสปอนเซอร์ (employer sponsored) ตลอดจนวีซ่าประเภทอื่นๆในการอยู่ต่อออสเตรเลียจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านวีซ่า และรับปรึกษาทุกปัญหาเรื่องวีซ่า ฟรี!   นอกจากจะได้รับความรู้แล้วยังได้รับของติดไม้ติดมือกลับบ้านอีกด้วย  และร่วมชิงรางวัล Gift card และรางวัลอื่นๆอีกมากมาย รวมมูลค่า education@cpinternational.com หรือโทร 02-9267-8522  งานนี้เป็นครั้งสุดท้ายของปี 2012 จึงอย่าพลาดนะคะ อาจเป็นการเปลี่ยนเข็มในชีวิตของคุณก็ได้ค่ะ…

มีคำถามเกี่ยวกับการสมัครหรือสถานะวีซ่าออสเตรเลียของคุณ? ต้องการสมัครเพื่อศึกษาต่อ ทำงาน หรืออาศัยอยู่ในออสเตรเลีย? สามารถขอคำแนะนำจากทีมคุณหมอวีซ่าได้ที่: