15 August 2015

สวัสดีค่ะ!! แฟนคลับคุณหมอวีซ่าที่น่ารักทุกท่าน ฉบับที่ผ่านมา คอลัมน์ “My Future My CP” ได้มีการกล่าวถึงสถาบันการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของผลสำรวจรายได้ของผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆในออสเตรเลีย และการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกประจำปี 2015  นับเป็นบทความที่มีประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านมากเลยทีเดียว การเรียนต่อต่างประเทศไม่ใช่เรื่องเล็ก แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวโยงกับอนาคตของเราโดยตรง เพราะค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงประกอบกับเวลาที่เรียนก็หลายปีอยู่ฉะนั้นจึงควรวางแผนให้ดีๆและตรงตามเป้าหมาย การลงเรียนในสถาบันดีๆ ก็ถือเป็นการลงทุนเพื่ออนาคตที่ดีที่สดใสของตนเองนะคะ ดังนั้นจึงไม่ควรตัดสินใจด้วยปัจจัยในเรื่องของราคาแต่เพียงอย่างเดียวค่ะ คำแนะนำที่ดีๆมีความสำคัญต่ออนาคตของคนๆหนึ่งทั้งชีวิตเลยก็ว่าได้ จึงควรเลือกเรียนในสถาบันที่ดีและตรงกับเป้าหมายชีวิตที่ตั้งไว้ หากท่านผู้อ่านท่านไหนสนใจอยากเรียนต่อ หรือมีพี่น้องลูกหลานที่สนใจอยากศึกษาต่อในต่างประเทศ ในสถาบันดีๆที่มีคุณภาพก็สามารถติดต่อสอบถามกับเจ้าหน้าที่ของ CP International ได้ทุกสาขาเลยนะคะ ไม่ว่าจะเป็นที่กรุงเทพฯ เชียงใหม่ เมลเบิร์น หรือซิดนีย์ ทางเจ้าหน้าที่ของเราที่มีประสบการณ์แนะแนวมาอย่างยาวนานทุกคนยินดีให้ความช่วยเหลือค่ะ เราพร้อมที่จะให้คำแนะนำดีๆและอำนวยความสะดวกให้กับท่านผู้อ่านที่น่ารักของคุณหมอวีซ่าทุกท่านค่ะ

ถึงแม้ตอนนึ้คุณหมอวีซ่าจะหนีหนาวจากออสเตรเลียมาพำนักพักพิงอยู่ที่ประเทศไทยชั่วคราว แต่ก็ยังคอยอัพเดทสถานการณ์กับน้องๆสาขาอื่นๆตลอดนะคะ อย่างอาทิตย์ก่อนนี่ก็เพิ่ง Skype คุยกับลูกค้าที่ซิดนีย์ เมลเบิร์น กับที่เพิร์ธ ที่ต้องการขอคำปรึกษาจากคุณหมอวีซ่าไปสดๆร้อนๆ สมัยนี้เทคโนโลยีทันสมัยมาก อยู่ไกลแค่ไหนก็เหมือนใกล้ สามารถเห็นหน้ากัน คุยกันได้ชัดแจ๋วแหวว  ช่วงนี้คุณหมอวีซ่าได้คุยกับคนในวงการวีซ่ามาถี่ๆ พอจะตั้งข้อสันนิษฐานได้พอสังเขปว่า “เดี๋ยวนี้ทางเจ้าหน้าที่อิมมิเกรชั่นเริ่มจะมีความเข้มงวดกวดขันในการอนุมัติวีซ่าประเภทนักเรียน (โดยเฉพาะระดับดิพโพลม่า) และคู่ครอง (Partner visas) มากขึ้นแล้วนะคะ ไม่ว่าจะเป็นการต่อวีซ่านักเรียนของนักเรียนที่มีความประสงค์จะสมัครวีซ่าตัวถัดไปหรือการสุ่มตรวจคุณภาพของโรงเรียนที่รวมไปถึงการขอดูรายงานผลการเรียนและเวลาการเข้าเรียนของนักเรียนในสถาบันนั้นๆ” บางคนเคราะห์ร้ายเจอเจ้าหน้าที่สุ่มตรวจเข้าไปก็ บิงโกค่ะ โดนยกเลิกวีซ่าไปเลยทันทีก็มี บางคนก็เข้ามาขอคำปรึกษาจากทางเราว่ายื่นวีซ่าไปกับเอเจนท์อื่นแล้วโดนให้ตอบคำถามมากมายจนถอดใจไม่ต่อวีซ่าก็มีอยู่มากโขเหมือนกันค่ะ นอกจากนี้วงข่าวยังมากระซิบบอกคุณหมอวีซ่าอีกว่า ตอนนี้ทางเจ้าหน้าที่อิมมิเกรชั่นได้ทำการรื้อเคสวีซ่าคู่ครองเก่าๆที่เคยอนุมัติผ่านวีซ่าไปจนผู้ยื่นได้พีอาร์อยู่ออสเตรเลียไปเรียบร้อยแล้วด้วยเทคนิคและอุปกรณ์ใหม่ที่ทางอิมฯใช้วิธี data matching ประกอบกับความร่วมมือกับหน่วยราชการอื่นๆ จนเจอว่าทำเรื่องปลอมไปหลอกอิมฯ เช่น มีการจ้างแต่ง เป็นต้น อิมฯก็จะใช้อำนาจเพิกถอน  PR ที่เคยออกไปแล้วคืนมาได้ตามกฎหมาย http://www.smh.com.au/national/cash-for-visas-international-colleges-fake-qualifications-in-migration-rackets-20150805-gis11z.html) น่ากลัวนะคะ ประเทศออสเตรเลีย กฎหมายเข้มงวด ทำไปก็โดนติดคุก ไม่คุ้มกันเลยค่ะ

ดังนั้น การสมัครลงเรียนในโรงเรียนถูกๆระดับล่างที่ทำอะไรแปลกๆ คุณหมอวีซ่าขอเตือนว่าให้ระวังนะคะ อย่าไปเชื่อทุกอย่างที่เอเจนท์นายหน้าขายคอร์สทั้งหลายแนะนำผิดๆถูกๆ ที่ชอบจับเด็กย้ายโรงเรียนตลอดเพื่อผลประโยชน์ทางการเงินของตนเอง เพื่อกินค่าคอมมิชชั่นจากเด็กตลอด โดยไม่สนใจว่าอนาคตเด็กจะเป็นอย่างไร ไม่ควรนะคะ คุณหมอวีซ่าเข้าใจอยู่ว่าทำค้าขายต้องทำกำไรถึงจะอยู่รอดได้ แต่อย่าไปหลอกเขา ไม่ดีค่ะ คุณหมอวีซ่าเชื่อเสมอว่าคนทำงานทางด้านที่เกี่ยวกับการศึกษาของเด็กๆต้องมีจรรยาบรรณในวิชาชีพค่ะ

ส่วนผู้ที่ถือวีซ่านักเรียนทั้งปวง เงื่อนไขสำคัญข้อหนึ่งก็คือต้องไปเรียนค่ะ อย่ามัวแต่ทำงานเพลินจนส่งผลเสียต่อวีซ่านักเรียนของตน ก็ไม่ดีเช่นกันนะคะ สถาบันการศึกษาในระดับ college ที่พอได้มาตรฐานหลายแห่ง  ก็มักจะมีตารางเรียนที่ค่อนข้างยืดหยุ่นให้อยู่แล้ว นักเรียนสามารถเลือกเรียนให้ตรงตามตารางเวลาที่ต้องการได้  แต่ถ้าเจอโรงเรียนที่บอกเด็กว่าไปเรียนเดือนละหนก็พอ  หรือบอกว่าจะมีคนเช็คชื่อให้ ขอเพียงแค่จ่ายค่าเทอม ทางที่ดีก็อย่าไปยุ่งกับเขาเลยคะ  ถ้าเจ้าหน้าที่อิมมิเกรชั่นตรวจเจอ ตามมาด้วยการเพิกถอนวีซ่า ก็จะไม่คุ้มกันจริงๆนะคะ อนาคตจบกัน ประวัติก็เสียติดตัวไปด้วยตลอด ช่วงนี้ที่อยู่เมืองไทยก็มีลูกค้าที่ถูกปฏิเสธวีซ่านักเรียน 3-4 ครั้งซ้ำซ้อนมาปรึกษาค่อนข้างมาก สัปดาห์ที่ผ่านมาก็ สามราย บางรายก็จัดเอกสารเข้าไปไม่ถูก บ้างก็ไม่เข้าใจกฎเกณฑ์ของการได้วีซ่านักเรียน ส่วนใหญ่จะตกสัมภาษณ์ ซึ่งโดยทั่วไปคำถามต่างๆนานาที่ถูกถามกัน ก็จะอยู่ภายใต้หัวข้อที่ท่านผู้อ่านหลายๆท่านอาจจะคุ้นหูกันดี…ที่เรียกว่า  Genuine Temporary Entrant หรือที่เรียกสั้นๆว่า GTE นั่นเองค่ะ  เพราะฉะนั้นวันนี้คุณหมอวีซ่าจะมาเขียนชี้แจงแถลงไขให้ท่านผู้อ่านทุกท่านได้ทราบโดยทั่วกันว่า แท้จริงแล้ว GTE คืออะไร ทำไมมันถึงเป็นหัวข้อที่ทางเจ้าหน้าที่อิมมิเกรชั่นมักนำมาใช้เป็นเหตุผลในการปฏิเสธ หรือยกเลิกวีซ่าของเรา

GTE หรือ Genuine Temporary Entrant ถ้าจะแปลเป็นไทยก็จะได้ความทำนองที่ว่า “ผู้ที่ขอวีซ่าชั่วคราวเข้าประเทศออสเตรเลียโดยมีเจตนารมณ์อันแท้จริงตรงตามเป้าหมายของวีซ่าที่ขอ”  ในแง่ของวีซ่านักเรียน ก็คือสำหรับผู้ที่มีจุดประสงค์ที่จะเข้าไปเรียนหนังสือจริงๆ ซึ่งจริงๆแล้ว GTE ไม่ใช่เป็นสิ่งใหม่ของวงการวีซ่าแม้แต่อย่างใดเลยนะคะ เพราะ GTE ถูกนำมาใช้ตั้งแต่ปี 2011 ภายใต้ Ministerial Direction No. 53 – Assessing the Genuine Temporary Entrant Criterion for Student Visa Applications โดยการนำเสนอของพณฯ Chris BOWEN ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการตรวจคนเข้าเมืองและพลเรือนในสมัยนั้น โดย GTE จะถูกนำมาใช้ในการพิจารณาขอและต่อวีซ่านักเรียนของทุกๆท่านไม่ว่าจะเป็นนักเรียนหน้าใหม่หรือเก่า และถูกนำมาใช้เป็นเหตุผลในการยกเลิกวีซ่านักเรียนสำหรับผู้ที่ไม่สามารถปฏิบัติตนให้อยู่ในกฎเกณฑ์ของ GTE ดังนั้นหากเจ้าหน้าที่มีความสงสัยว่าผู้สมัครวีซ่านักเรียนคนนั้นๆมีจุดประสงค์ที่จะใช้วีซ่านักเรียนในการอาศัยอยู่ในประเทศออสเตรเลียเพื่อจุดประสงค์แฝงอื่นๆ ทางเจ้าหน้าที่ก็สามารถตั้งคำถามต่างๆภายใต้หัวข้อของ GTE เพื่อให้เราตอบและนำไปใช้พิจารณาในการอนุมัติหรือไม่อนุมัติวีซ่านักเรียนของท่านค่ะ

อย่างไรก็ดี GTE ถูกนิยามให้มีความหมายตาม Ministerial Direction No. 53 ว่า คนที่ถือวีซ่านักเรียนและสามารถปฏิบัติตนให้อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของ Genuine Temporary Entrant และเงื่อนไขของวีซ่านักเรียน Genuine temporary entrant means a person who satisfies the genuine temporary entrant criterion for Student visa applications. และคำอธิบายความของ GTE สามารถตีความตามแหล่งอ้างอิงจากเวบไซต์อิมมิเกรชั่นได้ดังนี้ค่ะ GTE เป็นตัวชี้วัดว่านักเรียนต่างชาติจะได้รับวีซ่านักเรียนเข้าประเทศออสเตรเลียหรือไม่ ซึ่งนักเรียนมักจะต้องตอบให้ตรงจุดประสงค์ ว่าเข้าออสเตรเลียเพื่อการเรียนเพียงอย่างเดียวและตั้งใจที่จะมาเรียนเท่านั้น และไม่ได้มีเจตนาแอบแฝงในการขอพำนักอาศัยอยู่ในประเทศออสเตรเลียอย่างถาวรหลังเรียนจบ  โดยการที่จะได้รับวีซ่านักเรียนนั้นผู้สมัครก็จะต้องพิสูจน์ให้ทางเจ้าหน้าที่เห็นว่าผู้สมัครมีความตั้งใจที่จะอาศัยอยู่ในประเทศออสเตรเลียแบบชั่วคราวเท่านั้น ถึงแม้ว่าหลังจากเรียนจบผู้สมัครมีแผนที่จะอาศัยอยู่ต่อเนื่องจากการขาดแคลนบุคลากรในออสเตรเลียจากสาขาการศึกษาที่จบมาจะสามารถขอสัญชาติออสเตรเลียได้ ก็ไม่สามารถที่จะได้รับการยกเว้นจากกฏเกณฑ์ของ GTE ได้ค่ะ ซึ่งเกณฑ์การพิจารณาความเป็น GTE ของผู้สมัครวีซ่านักเรียนต่างๆจะถูกเขียนไว้ภายใต้ Ministerial Direction No. 53 โดยที่เกณฑ์การพิจารณาต่างๆก็จะมีตามหัวข้อดังต่อไปนี้ค่ะ

  • สภาวะ หรือสถานการณ์ของผู้สมัคร ซึ่งสามารถครอบคลุมได้ตั้งแต่ในเรื่องของสถานะภาพของผู้สมัครในประเทศบ้านเกิด ในประเทศออสเตรเลีย และคอร์สที่สมัครเรียนที่มีผลต่ออนาคตของผู้สมัคร
  • ประวัติการท่องเที่ยวและวีซ่าที่ถือทั้งในประเทศออสเตรเลียและประเทศอื่นๆ
  • กรณีที่ผู้สมัครเป็นเด็ก – ก็จะพิจารณาถึงจุดประสงค์ของพ่อแม่ ผู้ปกครองตามกฎหมายหรือคู่สมรส ของผู้สมัคร
  • เรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

Genuine temporary entrant

The genuine temporary entrant requirement (GTE) is an integrity measure to ensure that the Student visa Programme is used as intended and not used by international students as a way of maintaining de facto permanent residency in Australia.

The GTE requirement has improved integrity in the student visa program and ensures that only genuine applicants are granted a student visa. To be granted any student visa, applicants must satisfy us that they have a genuine intention to stay in Australia temporarily. When assessing the GTE requirement, we will consider the requirements set out in Ministerial Direction 53. This requires us to be satisfied that the student visa applicant genuinely intends to stay in Australia temporarily having regard to:

  • the applicant’s circumstances
  • the applicant’s immigration history
  • if the applicant is a minor – the intention of a parent, legal guardian or spouse of the applicant
  • any other relevant matter.

The GTE requirement provides a useful way to help identify those applicants who are using the student visa programme for motives other than gaining a quality education. The GTE requirement is not designed to exclude those students who, after studying in Australia, go on to develop the skills required by the Australian labour market and apply to obtain permanent residency.” https://www.border.gov.au/Trav/Stud/More/Genuine-Temporary-Entrant

แต่เมื่อไม่นานมานี้ มีนักเรียนที่โดนปฏิเสธวีซ่านักเรียน เนื่องจากไปชี้แจงเจตนารมณ์ว่าหลังเรียนจบ หากมีโอกาสอยู่ออสเตรเลียต่อ ก็อยากจะทำ ดั่งในเคสของ Khanna & Ors v Minister for Immigration & Anor [2015] FCCA 1971 (20 July 2015) ซึ่งศาลได้ตัดสินให้เขาชนะกรณี เนื่องจากศาลบอกว่าผู้ยื่นสามารถถือว่าเป็นผู้ยื่นที่เข้าข่าย GTE ได้ในเวลาเดียวกันกับแสดงเจตนาการขอวีซ่าอยู่ต่อด้วยวีซ่าที่ถูกต้องหากมีโอกาส ไม่ได้ผิดกฎหมายแต่อย่างใด เคสนี้ก็เลยถือว่าเป็นเคสพลิกคว่ำโฉมหน้าของการตีความกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ GTE ก็ว่าได้เลยค่ะ

อ่านกันพอหอมปากหอมคอสำหรับเรื่องราวของ GTE ก่อนนะคะ  ในฉบับหน้าคุณหมอวีซ่าจะให้รายละเอียดเรื่องราวของนักเรียนคนนี้ที่ได้รับการปฏิเสธวีซ่านักเรียนภายใต้กฎ GTE ทั้งจากทางอิมมิเกรชั่นและจาก MRT แต่สุดท้ายก็ได้วีซ่านักเรียนกลับคืนมาจากทางศาลสหพันธ์ เรื่องนี้มีประโยชน์มากๆค่ะ เพราะอาจจะส่งผลต่อแนวทางการพิจารณาวีซ่าตามเงื่อนไขของ GTE guidelines ของอิมมิเกรชั่นในอนาคต ซึ่งน่าจะถือเป็นข่าวดีสำหรับนักเรียนต่างชาติก็ว่าได้ Contact Us ได้เลยค่ะ

สำหรับวันนี้คุณหมอวีซ่าขอลาไปก่อนนะคะ สวัสดีค่ะ

ด้วยความปราถนาดี…จากคุณหมอวีซ่า

น้องๆฝึกงานที่ CP Bangkok จบอีกหนึ่งรุ่น 2015 ค่ะ


CP Staff Development Day ที่ชะอำ

งาน CP Australia Education Fair ที่ ปทุมวันปรินเซส 4 July 2015 ที่ผ่านมา

มีคำถามเกี่ยวกับการสมัครหรือสถานะวีซ่าออสเตรเลียของคุณ? ต้องการสมัครเพื่อศึกษาต่อ ทำงาน หรืออาศัยอยู่ในออสเตรเลีย? สามารถขอคำแนะนำจากทีมคุณหมอวีซ่าได้ที่: